วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,610

[16.5024434, 99.447102, วัดเจดีย์กลม]

            บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลกในเขตอรัญญิกที่มีวัดขนาดน้อยใหญ่เรียงรายติดต่อกันราว40วัดแต่ละวัดล้วนก่อสร้างด้วยศิลาแลงที่เป็นภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชรและผู้คนที่มาเที่ยวชมพากันมหัศจรรย์ใจว่าสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่หลากหลายล้วนมีความเป็นกำแพงเพชร คือเอกลักษณ์ที่เด่นเฉพาะตัวสมเป็นเมืองมรดกโลก
            วัดเจดีย์กลม เป็นที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกันทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลมอาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใดวันนี้ไปสำรวจอย่างใกล้ชิดและละเอียด พบว่าวัดเจดีย์กลมมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากทุกวัด เท่าที่เคยสำรวจมาแล้ว ทั้งนครชุม นครไตรตรึงษ์และกำแพงเพชรเกือบร้อยวัดยังไม่พบสถาปัตยกรรมใดเหมือนวัดเจดีย์กลม ด้านหน้าของวัดหันไปทางทิศตะวันออกตามแบบฉบับทั่วไปของวัดทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ฐานวิหารมีการก่อสร้างสองชั้น ชั้นแรกสูงประมาณเกือบสองเมตรยังมองเห็นแนวก่อสร้างอย่างชัดเจนและลงตัวทั้งสองด้านของพระวิหารมีบันไดขึ้นทั้งสองด้าน ร่องรอยเป็นบันไดที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเปรียบกับขนาดวิหาร ด้านหน้ามีลานกว้าง ราว100 ตารางเมตร ถัดขึ้นไป มีการก่อสร้างวิหารอีกชั้นหนึ่งสูงราว 1 เมตร มีระเบียงและหลังคาด้านหน้าหลังบนพระมหาวิหารหน้าองค์พระประธาน มีร่องรอยการขุดพระ ที่ลึกกว่าสามเมตร กว้างกว่า หกเมตร นับว่าเป็นหลุมใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ บริเวณฐานพระประธาน เจาะลึกลงไปกว่าสองเมตร พบเพียงแนวของฐานพระเท่านั้น พบหลักฐานใดๆเลยสิ่งที่นับว่าไม่เหมือนวัดใดเลยคือเจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับวิหารเท่าที่พบเราพบอยู่วัดเดียวคือวัดอาวาสน้อยที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกัน ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นของของวัดเจดีย์กลม คือฐานเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานวิหารนั้น เป็นลักษณะกลมงดงามมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำศิลาแลงขนาดใหญ่มาก่อให้กลมกลึงนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ถัดจากฐานเจดีย์กลมขึ้นมา กลับไม่มีองค์เจดีย์ แต่เป็นลักษณะเหมือนการก่อห้องสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่บนเจดีย์ ยังมีหลักฐานที่เห็นได้ชัดนับว่าเป็นโบราณสถานที่ไม่เหมือนที่แห่งใดอาจสันนิษฐานได้หลายแนวทางควรที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีจะได้สืบค้นและหาความจริงกันต่อไปว่าทำไมเจดีย์ประธานวัดเจดีย์กลม จึงมีสัณฐานและสถาปัตยกรรมที่ ไม่เหมือนที่แห่งใดเลย ถัดไปจากเจดีย์กลม มีซุ้มพระขนาดเล็กอาจเป็นสิ่งก่อสร้างภายหลัง ถูกขุดทำลายไปเช่นกัน หลังซุ้มพระเป็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลา ขนาดปานกลาง แต่เสาศิลาแลงเป็นการตัดศิลาแลงมาทั้งต้น มีทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และถูกขุดค้นทำลาย แทบไม่น่าเชื่อว่า เสาศิลาแลงขนาดใหญ่จะหักเป็นท่อนๆไปได้ทั้งๆที่น่าจะทำลายได้ยากยิ่งในบริเวณเขตสังฆาวาสพบบ่อน้ำขนาดกลางอยู่หนึ่งบ่อนอกนั้นเป็นป่าทึบไม่พบสิ่งก่อสร้างใดๆเลยวัดเจดีย์กลมมีอะไรหลายอย่างที่เราควรจะได้ศึกษาเปรียบเทียบภูมิปัญญากับสถาปัตยกรรมแล้วเราจะพบคำตอบที่น่าหลงใหลว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแล้วจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ จนได้รับยกย่องเป็นเมืองมรดกโลก

             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
            รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                        
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
            
อัตราค่ายานพาหนะ
                        
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
                        รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0011&code_type=

คำสำคัญ : วัดเจดีย์กลม

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเจดีย์กลม. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,305

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,060

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,309

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,706

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,481

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,610

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,740

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,875

วัดเขาลูกรัง

วัดเขาลูกรัง

ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,403

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,088