วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้ชม 1,210

[16.4569421, 99.3907181, วัดท่าหมัน]

ชื่อวัด : 
   
    วัดท่าหมัน

สถานที่ตั้ง :
     
  บ้านปากคลอง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
         
        วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิด มาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็ เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี
        วัดท่าหมัน ไม่มีโบสถ์ มีแต่ศาลาขนาดใหญ่ หลังจากวัดท่าหมันร้าง ปัจจุบันรื้อไปไว้ที่วัดสว่างอารมณ์ ดัดแปลงแก้ไขให้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างศาลาอเนกประสงค์ วัดท่าหมันเคยมีโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านประจำตำบลปากคลองเรียกกันว่า โรงเรียนวัดท่าหมันเมื่อวัดร้างจึงย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านนครชุมในปัจจุบัน วัดท่าหมันมีเจ้าอาวาสหลายรูป ที่รู้จักกันดีคือพระอาจารย์เณร (บุญมี ยศปัญญา) พระอาจารย์ปลั่ง วังลึก พระอาจารย์สวย อินจันทร์ พระอาจารย์ช่วย พระอาจารย์เขียนพระอาจารย์แก้ว ต่อมาวัดกลายเป็นวัดร้าง ด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาวัดท่าหมันได้ให้เช่าที่ดินสร้างเป็นอาคาร ร้านค้า บ้านเรือน ตลาดนครชุมบางส่วน ในขณะนี้ 
        ร่องรอยของวัดท่าหมัน เคยมีภาพถ่ายในอดีตซึ่งผู้เขียนเคยเห็นจากหีบโบราณของอาจารย์สนิม บุญหนัก ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยภาพแรกเป็นศาลาท่าน้ำของวัดท่าหมัน มีเด็กนักเรียนหญิง 8 คน อยู่ที่ท่าน้ำ เป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนประชาบาลวัดท่าหมัน สภาพของศาลาคงทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นงานศพของนายส่างหม่อง ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาทำกิจการค้าไม้ที่คลองสวนหมาก เมื่อเสียชีวิตประมาณ ปี พ.ศ. 2473 ทางญาติได้ตั้งบำเพ็ญการกุศลไว้ที่ศาลาวัดท่าหมัน ดูจากภาพถ่ายแล้วต้องเป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของชุมชนคลองสวนหมาก
        ประวัติของวัดท่าหมันเท่าที่พอสืบค้นได้ เกิดจากชาวคลองสวนหมากที่ผ่านการต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาตินานาประการ เมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้กลับเข้ามาสู้ชีวิตด้วยความเสียสละและความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อท้องถิ่นจนสามารถสร้างบ้านเมืองสืบทอดต่อมา เมื่อชุมชนเจริญขึ้น และเห็นว่าวัดพระบรมธาตุอยู่ไกลไม่สะดวกในการไปทำบุญ จึงได้มีการรวบรวมทุนทรัพย์แล้วจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นบริเวณกลางหมู่บ้าน ใช้เนื้อที่ประมาณ 4-5 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างวัด
        บริเวณของวัดมีท่าน้ำ เป็นทางขึ้นลงของล้อเกวียนและอยู่ใกล้กับต้นหมันใหญ่ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าหมัน” โดยมีพระอาจารย์ช่วยได้ดูแลวัดจนมรณภาพ ด้วยคุณงามความดีของพระอาจารย์ช่วย ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของท่านเอาไว้เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี บริเวณที่เป็นสถูปอยู่แถวกลางตลาดนครชุมซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ช่วย ได้มีพระอาจารย์แก้ว เข้ามาดำเนินการต่อโดยพัฒนาและขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านเลยเรียกว่าวัดเป็น “วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” และมีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นหลังแรกของตำบลคลองสวนหมาก โดยใช้ศาลาของวัดเป็นอาคารเรียน
        พระเครื่องที่ได้จากกรุวัดท่าหมันนั้น มีจำนวนไม่มากนักจากที่พบเห็นจึงเป็นที่หวงแหนสำหรับผู้ที่ครอบครองเป็นอย่างยิ่งส่วนมากจะอยู่กับผู้มีฐานะที่ดี และเท่าที่รู้บางองค์บางพิมพ์โด่งดังแต่ลงเป็นกรุอื่นที่ดังและเป็นที่รู้จัก ไม่ได้ลงว่ากรุท่าหมัน ในเมื่อพระองค์นั้นๆ ขึ้นมาจากเจดีย์เก่าที่อยู่ที่บริเวณวัด ซึ่งพระที่ลงกรุนั้นจะมีผสมทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคแรกๆืเป็นต้นมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีพระเครื่องของเมืองนี้ ที่อยู่กรุเดียวกัน อาจเป็นเพราะว่าเมื่อสร้างเจดีย์ที่วัดท่าหมันผู้คนได้นำพระกรุนานาชนิดมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์วัดท่าหมัน จึงทำให้กรุวัดท่าหมันจึงมีพระที่หลากหลายมาก กรุแตกคนรุ่นนั้นเรียกว่ากรุวัดท่าหมัน คนรุ่นหลังไม่ทราบ จึงสันนิษฐานตามพระพุทธลักษณะเป็นกรุอื่นๆ ไป จะมีทั้งถึงยุคและไม่ถึงยุค 
        มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ามาสัมภาษณ์ผู้เขียนบ่อยๆว่า วัดท่าหมันอยู่ตรงไหน หาไม่พบ วันนี้จึงถือโอกาสเล่าสู่กันฟัง ว่าวัดท่าหมันมีอยู่จริง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว แม้แต่ต้นหมันที่ท่าน้ำ ก็อาจน้ำกัดเซาะโค่นไปแล้วเช่นกัน จึงเหลือเพียงตำนานวัดท่าหมันมาจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : วัดท่าหมัน

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดท่าหมัน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=1427

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1427&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,314

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,401

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,866

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,021

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,448

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,815

วัดคูยาง

วัดคูยาง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,305

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,679

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,412

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,006