ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 1,547

[16.3349545, 99.3442154, ห่อหมกหัวปลี]

ห่อหมกหัวปลี

ส่วนผสม ประกอบด้วย
        1. แป้งข้าวเจ้า
        2. หัวกะทิ
        3. น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส
        4. พริกแกงเผ็ด
        5. ไข่ไก่
        6. เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ
        7. ใบมะกรูดซอยฝอย
        8. ใบยอ และหัวปลี

        โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 
น้ำ เพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจากการคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที

ภาพโดย : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen

คำสำคัญ : ห่อหมกหัวปลี

ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ห่อหมกหัวปลี. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=639

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=639&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 895

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,036

ผลไม้เชื่่อม

ผลไม้เชื่่อม

เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 9,510

แกงพันงู

แกงพันงู

กำแพงเพชรมีอาหารอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวกำแพงเพชรในอดีต คือแกงพันงู พันงูเป็นชื่อพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสถานที่หัวไร่ปลายนา ตามเชิงเขาและป่าโปร่ง จะขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเดี่ยว เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างคล้ายงู ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พันงู จะขึ้นเฉพาะในฤดูร้อน ต่อฤดูฝน ใต้ดินจะมีหัวขนาดใหญ่ ในปีหนึ่งจะขึ้นเพียงครั้งเดียว ชาวบ้านจะนิยมนำพันงูมาทำอาหาร ประเภทผักจิ้ม แกงส้มใส่ชะอม ชาวกำแพงเพชร เอาพันงูมา ลอก เปลือกออกหั่น ยาวประมาณ 2นิ้ว เอาไว้แกงส้ม พันงู เป็นอาหารยอดนิยมที่คนกำแพงเพชรนิยมรับประทานกัน เกือบทุกครัวเรือน อาจกลายเป็นอาหารจานเด็ด ของคนกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,089

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด เป็นขนมไทยพื้นบ้าน นิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุ ในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันในหมู่ญาติมิตรในเทศกาลออกพรรษาเช่นเดียวกัน และยังเป็นขนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการรับประทานก่อนถึงเวลาอาหารมื้อเย็น หรือใช้เป็นเสบียงสำรอง เพื่อรับประทานระหว่างการเดินทางข้ามวันข้ามคืนยข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,683

น้ำพริกขี้กา

น้ำพริกขี้กา

เมื่อครั้งยังเป็นเด็กอายุเจ็ดแปดขวบ จำได้ว่าอาหารการกินในครัว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในตู้กับข้าวเป็นน้ำพริกชนิดหนึ่ง ตอนนั้นยังไม่รู้ประสา จึงไม่รู้ว่าน้ำพริกชนิดนั้นเรียกว่าอะไร ได้ยินแต่ผู้ใหญ่เขาเรียกกันว่า “น้ำพริกขี้กา” ยังสงสัยว่ามีขี้อีกาจริงๆ หรือครั้นพอโตขึ้นมาหน่อยความสงสัยจะสืบสาวราวเรื่องดูเลือนๆ ไปบ้าง เพราะมีสิ่งอื่นให้สนใจมากกว่า กระทั่งมาถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ ได้ยินหลายคนพูดถึง “น้ำพริกขี้กา” ขึ้นมาอีก ทำให้ต้องหันกลับมาดูว่าน้ำพริกอีกาคืออะไร จากที่สังเกตเห็นได้ว่าน้ำพริกขี้กาของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกันเลยจริงๆ น้ำพริกขี้กาสูตรในครัวเรือนที่บ้านกินกันมาตั้งแต่เด็ก เป็นรสมือแม่ เห็นจะไม่มีเครื่องปรุงแต่งอะไรมาก เป็นเพียงการนำพริกขี้หนู หอมแดง และกระเทียม ไปเผาไฟให้สุกๆ ไหม้ๆ จากนั้นนำมาปอกและลอกส่วนที่ไหม้ออก 

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 7,568

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,547

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,416

ขนมไข่

ขนมไข่

ขนมไข่ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมรับประทานกันมายาวนานแต่เดี่ยวนี้หาร้านอร่อยๆ หาทานอยากและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีส่วนผสมของแป้งไข่และน้ำตาลเป็นหลักขนมไข่เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้จักและเห็นคุณค่าของขนมโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,017

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,072