กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้ชม 4,854

[16.4756284, 99.5247578, กรุวัดคูยาง]

       เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

ประวัติการสร้าง
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้นในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วย   และบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบางๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่ จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน

เกียรติคุณของผู้สร้าง              
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตร ทรงวิทยาคุณและอภินิหาร เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างสนิทใจของสงฆ์และคฤหัสถ์ มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้านสมณศักดิ์ก็เป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองนี้ ด้านการปกครองสงฆ์ก็เป็นเจ้าคณะเมืองหรือเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการศึกษาก็นับเป็นหนึ่งมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีภายในวัดจนมีผู้สอบมหาเปรียญได้แล้วท่านก็ส่งไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ด้านสาธารณูปการคือการบูรณะปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะภายในวัดปรากฏชัดเจนดังหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตากของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ. 2456 ตอนหนึ่งว่า  ".....วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะเมืองรูปก่อนคือพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน......

การเปิดกรุ
       นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ. 2513 มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด  และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการ โดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ (ช่วง) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เจ้าอาวาสวัดคูยาง และนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุ ปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ 3.000 องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน

เนื้อ แบบพิมพ์และพระพุทธคุณ
       พระกรุวัดคูยางส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มหนักแน่นมีราดำปรากฏทั่วไป ส่วนมากเป็นสีแดงคล้ำ บางองค์จะมีไขจับ และบางส่วนไม่มีราว่านหรือมีแต่เพียงบางๆ มีไขจางๆ บางองค์ที่มีคราบราหนาๆ ก็จะเทียบกับพระกรุเก่าได้เลย มีความแห้งและเก่า แม้จะดูสดกว่าพระกรุเก่าก็ตามที พร้อมทั้งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบพิมพ์พระกรุวัดคูยางที่สร้างโดย พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) นั้นมีทั้งพิมพ์ที่ทำขึ้นเองและถอดพิมพ์มาจากพระอื่นๆ ส่วนใหญ่จะตื้นไม่ลึกและไม่คมชัดเท่าที่ควร ถึงกระนั้นก็มีหลายพิมพ์ที่ยังคงความงามอยู่ไม่น้อยสำหรับพระที่สร้างพิมพ์ขึ้นเองก็มีพระปิดตาสี่ทิศ ด้านหน้าจะมียันต์ 5 ตัว คือ ตรงกลาง 1 ตัว ช่องว่างระหว่างองค์พระทั้ง 4 ทิศอีก 4 ตัว ซึ่งยันต์ทั้ง 5 ตัวนี้ เป็นยันต์เดียวกันกับพระของพระพุทธบาทปิลันธน์ เช่น พิมพ์ซุ้มประตู เป็นต้น ด้านหลังตรงกลางทำเป็นรูกลมลึกเข้าไปในเนื้อและก้นรูมียันต์ 1 ตัว แต่ก็พบพระปิดตาสี่ทิศบางองค์ไม่มียันต์ด้านหลัง อาจจะหลงลืมในการกดพิมพ์ หรือพระบางเกินไปกดพิมพ์ให้ลึกเป็นรูไม่ได้ หรือจะคิดว่าเป็นพระคะแนนก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) เป็นต้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ทำขึ้นเองเช่นกัน มียันต์ที่ก้นรูด้านหลัง เช่นเดียวกับพระปิดตาสี่ทิศอยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากมาก พระที่ถอดจากพระพิมพ์เก่านั้น 
      ส่วนใหญ่จะเป็นพระของกำแพงเพชร แต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของพระจังหวัดอื่นๆ เช่น พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน และพระพลายเดี่ยว เป็นต้น ส่วนพระคงกับพระรอดนั้น ไม่ได้ถอดพิมพ์มาแต่ล้อรูปแบบเดิมได้ใกล้เคียงจึงอนุโลมไว้ในกลุ่มนี้ สรุปพระกรุวัดคูยางนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีมากกว่า 40 พิมพ์ แต่เท่าที่มีผู้พบเห็นก็คือพระปิดตาสี่ทิศขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พระซุ้มกอขนมเบี๊ยะ พระซุ้มยอ พระขุนไกร พระคง พระร่วงนั่งฐานสำเภา พระนางกำแพงมีซุ้ม พระนางกำแพงหัวเรือเมล์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระอู่ทอง  พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระซุ้มยอไม่ตัดปีก (ฝากกรุ) พระลีลาเม็ดขนุนขนาดเล็ก และใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์พระสมเด็จฐาน 3 ชั้น  พระซุ้มระฆัง พระพลายเดี่ยว พระอู่ทองซุ้มเรือนแก้ว พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) พระสุพรรณหลังผาน (หลังเรียบ) พระรอด พระนาคปรก (3-4 พิมพ์) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระลีลาใหญ่ (3-4 พิมพ์) พระเชตุพน พระซุ้มกอเล็ก และพระซุ้มกอใหญ่ (ขนาดพิมพ์กลางของเดิม) และพิมพ์อื่นๆ
       กรุพระวัดคูยาง อยู่ตำบลในเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดถนนวิจิตร ทิศใต้ติดถนนซอย 3 ราชดำเนิน ประเภทพระที่พบ ได้แก่
           1. พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์เล็ก เนื้อดิน
           2. พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-เล็ก เนื้อดิน
           3. พระซุ้มยอ เนื้อดิน
           4. พระนารายณ์สีกร เนื้อดิน
           5. พระร่วงนั่งฐานสำเภา เนื้อดิน
           6. พระขุนไกร เนื้อดิน
           7. พระปิดตา เนื้อดิน
           8. พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ เนื้อดิน
           9. พระลีลาตักแตน เนื้อดิน
           10. พระสี่ทิศ เนื้อดิน
           11. พระนางพญากำแพง เนื้อดิน
           12. พระขุนแผน เนื้อดิน
           13. พระคง เนื้อดิน
       และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ วัดคูยาง

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์. (https://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=2645)

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุวัดคูยาง. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1212

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1212&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,089

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ  ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 10,532

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระโลหะ เรียกว่า พระเนื้อชิน คำว่า พระเครื่อง คือเรียก พระชนิดที่สร้างโดยไม่มีแท่นฐานพระหรือขาตั้งพระทั่วๆ ไป จึงขอเขียนบรรยายพอสังเขปไว้ดังนี้ พระเครื่องรูปพิมพ์พุทธรูปลักษณะและเนื้อจะเป็นหัวใจในการศึกษาของ คำว่า พระเครื่อง พระพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ละกรุพระจะแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องจดจำพุทธลักษณะพิมพ์พระต่างๆ ของแต่ละกรุพระให้มาก พระเครื่องเนื้อชินใน 100 ส่วน เราได้ทราบมาแล้วว่าสร้างด้วยเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วแล้วเป็นผิวปรอทเสีย 99 ส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 11,965

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

หลวงพ่อโพธิ์วัดท่าไม้แดง กำแพงเพชร รุ่นแรก อัลปากาชุบนิคเกิล แชมป์งานกองบิน 46 พิษณุโลก ปี 52

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 5,955

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,495

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,847

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,130

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 153,675

กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,328

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 14,182