ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 6,483

[16.4821705, 99.5081905, ประวัติและตำนานการเปิดกรุ]

        พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า
        เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับ พ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่าง ๆ จำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้ พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงินหน้าทอง พระเม็ดน้อยหน่า พระนางกำแพง ฯลฯ
        ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิม ดังนี้ ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร  เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ามีฤาษี 11 ตน ฤาษีเป็นใหญ่ 3 ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง 3 จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤาษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง 3 ตนนั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด

จดหมายเหตุ
        ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จพระพาสเมืองกำแพงเพชรของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ในปี 2449 ได้คัดมา โดยย่อว่านายชิดมหาดเล็กวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาไทย ลาป่วยได้ขึ้นมารักษาตัวที่บ้านภรรยาเมืองกำแพงเพชรในปีนั้น ได้ทูลเกล้าถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐีเป็นจารึกบนแผ่นลานทองแต่รัชกาลที่ 5 นายชิดกล่าวว่าแผ่นลานทองไม่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ขุดได้เฉพาะในบริเวณทุ่งเศรษฐีเท่านั้นการพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุนครชุมในปี พ.ศ. 2392 แล้ว พระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวกัน โดยชาวพม่าชื่อ พญาตะก่า แต่ไม่แล้วเสร็จเศรษฐีป่าไม้ชาวพม่าชื่อ พะโป๊ะ ได้บูรณะต่อมาจนเสร็จบริบูรณ์ แล้วสั่งยอดฉัตรจากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ในปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบศิลปะพม่า นายชิดมหาดเล็กได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์ครั้งแรกที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุแล้ว ต่อมาชาวบ้านได้ทำการขุดค้นเจดีย์น้อยใหญ่ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีได้พระพิมพ์แบบต่างๆ จำนวนมาก พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ก่อนชาวบ้านนิยมนับถือกันมาช้านานแล้วว่ามีอานุภาพมากผู้ใดมีไว้จะทำการสิ่งใดก็มีความสำเร็จผลตามความปรารถนาทุกประการ รูปแบบพระพิมพ์เหล่านี้มีผู้ได้พบแล้วมีอยู่ 3 แบบคือ พระยืนอย่าง 1 พระลีลาอย่าง 1 พระนั่งอย่าง 1 พระเกสรว่าน อย่าง 1 พระพิมพ์เหล่านี้เหมือนกับที่ชาวบ้านได้พบครั้งแรกในเจดีย์พระบรมธาตุทุกอย่างนายชิดได้ทูลเกล้าถวายพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีหลายแบบพร้อมด้วยแม่พิมพ์พระและสำเนาตำนานจารึกแผ่นลานเงินของพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย(พระพิมพ์กรุนี้รัชกาลที่ 5 ได้นำออกแจกจ่ายแก่พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ข้าราชการมหาดเล็กที่ติดตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วกัน) พระเครื่องหรือพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐี มีศิลปะสมัยสุโขทัยที่งดงามมากอาณาจักรสุโขทัยรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์พระพุทธรูปและพระพิมพ์ได้รับแบบจากศิลปะลังกาด้วย โดยเฉพาะพระซุ้มกอถอดแบบจากพระพุทธรูปศิลปะลังกาในสมัยอนุราชปุระความสำคัญของพระเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครชุมนี้ เป็นพระสถูปเจดีย์สำคัญและเป็นประธานของกลุ่มพระเจดีย์ในเมืองนครชุมรวมถึงในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีด้วย เพราะได้บอกเรื่องราวของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 ของกรุงสุโขทัย ทรงสถาปนาพระสถูปนี้และการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ พระบรมธาตุ ต้นศรีมหาโพธิ์เข้ามาประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชรพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีนี้สร้างขึ้นโดยพิธีกรรมของกษัตริย์บ่งบอกถึงศิลปะอันรุ่งเรืองของสมัยสุโขทัยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 รัชกาลของพระเจ้าลิไททรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 1890 – 1909

คำอ่านหลักศิลาจารึกนครชุม หลักที่ 3
        ศักราชที่ 1279 ปีระกาเดือนแปด ออกห้าค่ำ วันศุกร์ หนไทยกัดเราบูรพผลคุณินักษัตรเมื่อยามวันสถาปนานั้น เป็นหกค่ำแล้ว พระยาฦาไทยราชผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราชเมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ได้ราชาภิเษก อันฝูงท้าวพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหายอันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวายของฝากหมากปลาไหว้ อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวพระยา จึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงษ์มหาธรรมราชาธิราชหากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ปีนั้นพระมหาธาตุนี้ใช่ธาตุอันสามานย์คือพระธาตุแท้จริงแล้วเอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดายเอาทั้งพืชพระมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้น และ ผจญพลขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สัพพัญญุตาญาณเป็นพระพุทธเจ้า มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นพกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นพตนพระเจ้าบ้างฯลฯ ตำนานบนแผ่นลานเงินได้บอกวิธีสำหรับอาราธนาพระกำแพงทุ่งเศรษฐี ดังนี้
        ถ้าผู้ใดได้ไหว้ให้ถวายพระพร แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดฤาษีได้อุปเท่ห์ไว้ดังนี้
          - แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
         - ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เข้าด้วยนวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
         - ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศาสตราอาวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ เสก 3 ที 7 ทีแล้วใส่ขันสำริด พิษฐานตามควาปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
         - ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัวเอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวหรคุณ 7 ที
         - ถ้าจะค้าขายก็ดีไปทางบกทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโส ภกูราติ เสก 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
         - ถ้าจะให้สวัสดีสภาพรทุกวันให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกอันแล
         - ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดีพระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี (เข้าใจว่าเป็นพระเนื้อชินเข้าปรอท)เหมือนกันอย่าประมาท มีอานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
         - ถ้าจะให้ความสูญให้เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น (หมายถึงพระฤาษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนตามถวายพระ แล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด จะประเสริฐแล ฯลฯ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yutchaorai&month=28-08-2014&group=3&gblog=2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติและตำนานการเปิดกรุ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1184

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1184&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

พระซุ้มกอ หรือเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีเป็นยอดพระเครื่องอันดับนำของจังหวัดกำแพงเพชรที่ใครได้ไว้บูชาติดตัวแล้ว นับว่าเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง เพชรนพเก้าค่าล้นปานใดก็ตาม บางครั้งก็หาเปรียบได้กับ พระซุ้มกอ ซึ่งสูงทั้งค่าและมีประสิทธิภาพซึ่งมนุษย์ไม่อาจเนรมิตได้ การมีชีวิตเพื่ออยู่และสร้างแต่กรรมดีแล้ว พระซุ้มกอ ย่อมคุ้มครองท่านได้เสมอ และสิ่งที่น่าอิจฉาสำหรับผู้มีพระพิมพ์นี้ยิ่งขึ้นก็คือ ท่านจะอยู่อย่างคนมีโชคตลอดเวลาทีเดียว  ผมเองนั้นเชื่อเหลือเกิน เชื่อว่า มึงมีกูไม่จน ประกาศิตที่กังวานจากเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีนั้นจะเป็นใครกล่าวหรือใครพูดขึ้นเล่นก็ตามทีเถิด เพราะจนบัดนี้ ผู้ที่ใช้ พระซุ้มกอ แล้วก็ยังไม่เคยมีใคร บอกว่าห้อยพระซุ้มกอแล้ว ยากจน เลยสักรายเดียว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 31,430

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,730

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 18,499

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,691

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,900

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,079

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,811

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,674

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,959

กรุวัดช้างรอบ

กรุวัดช้างรอบ

ที่ตั้งกรุพระวัดช้างรอบ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พระท่ามะปราง พระนางพญากำแพง พระเม็ดมะเคล็ด พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระท่ามะปราง พระลีลากำแพง พระอู่ทองกำแพง พระกลีบบัว พระงบน้ำอ้อยพิมพ์สิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,590