ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 1,023

[16.4264988, 99.2157188, ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี]

บทนำ
         การดำเนินการทำงานการสร้างสรรค์ ชุด ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา วิธีดำเนินการใช้หลักการสร้างสรรค์ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ที่มีองค์ประกอบของการแสดงระบำ การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การทำเพลงและดนตรีประกอบกการแสดง การแปรรูปแบบแถว อุปกรณ์ประกอบการแสดง การคัดเลือกนักแสดง ในการดำเนินการได้ศึกษาท่าหลักจากท่ารำพื้นฐาน รำแม่บท รำเพลงช้าเพลงเร็ว และมีท่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นท่าเฉพาะในชุดการแสดงเช่น ท่ารำบูชาไหว้พระโดยเลียนแบบท่ามาจากภาพรูปปั้นนางรำที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องแต่งกายได้เลียนแบบมาจากภาพแกะสลักของรูปปั้นนางรำบางส่วน การแปรรูปแถวให้เกิดความงามและเปลี่ยนแปลงสายตาผู้ชม ในการแสดงชุดนี้ได้แบ่งการแสดงออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นการเกริ่นนำเพื่อบูชาพระไตรรัตน์มีบทร้องกำกับในการแสดงและตีภาษาท่าตามบทร้อง ช่วงที่สองเป็นการแสดงตามทำนองเพลงที่กำหนดไว้มีท่อนช้าและเร็วตามลำดับลักษณะการแสดงของกระบวนท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับทำนองเพลงและมีความหมายของท่ารำในการบูชาพระรัตนตรัย
        การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการแสดงในพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง และสามารถนำไปใช้แสดงในโอกาสต่างๆ ได้และยังเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
         ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรจัดขึ้นทุกปีในวันเพ็ญเดือนสาม เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของกำแพงเพชรไว้ให้ชนรุ่นหลัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงพิธีเปิดงานและได้รับมอบหมายจากจังหวัดกำแพงเพชรให้จัดการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเพณี จึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดและในการแสดงเวทีกลางในงานนี้ โดยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น สร้างสรรค์เพลง ท่ารำ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบในระบำชุด ระบำพุทธบูชา “นบพระ – มาฆปุรณมี” เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลงของจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
         “พุทธบูชา” หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้า, เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
         “นบพระ” หมายถึง ไหว้พระ 
         “มาฆปุรณมี” ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม กล่าวกันว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง มีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส มีการทำบุญ ตักบาตร การฟังธรรมเทศนา การเวียนเทียน เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวถึง หลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา การไม่ทำความชั่วทั้งปวง เป็นการบำเพ็ญความดี ทำให้จิตใจผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อเป็นการสร้างระบำชุดเฉพาะใช้ในพิธีเปิดงานประเพณี นบพระ-เล่นเพลง
         2. เพื่อเป็นการสืบสาน ส่งเสริม เผยแพร่งานด้านนาฏศิลป์เพิ่มมากขึ้น

วิธีดำเนินงาน
         ในการค้นคว้าข้อมูล
         1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และวารสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
         2. การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น
         3. สร้างสรรค์เพลง
         4. ออกแบบท่ารำ การแปรแถว
         5. ออกแบบเครื่องแต่งกาย
         6. ออกแบบอุปกรณ์การแสดง
         7. ฝึกซ้อม
         8. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
         9. บันทึกเทป
        10. อธิบายท่ารำ ทำรูปเล่ม

การศึกษาและกระบวนการสร้างสรรค์
         ท่ารำ
         ประดิษฐ์ท่ารำโดยใช้ท่ารำในท่ารำแม่บท และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ มาร้อยเรียงให้สอดคล้องและมีความหมายในการสักการบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความงามตามลักษณะนาฏศิลป์ไทย  
         ท่ารำพิเศษ โดยแกะท่ารำมาจากรูปปั้นที่ปรากฏในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร ท่าไหว้ ท่าภมรเคล้า

แนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกาย
         เนื่องจากการแสดงเป็นการบูชาพระรัตนตรัย จึงมีความสงบ การออกแบบจึงเลือกให้มีสีนวลตา เย็นตา ลักษณะคล้ายชุดไทยจีบหน้านาง แต่ตกแต่งให้ดูแปลกตา ห้อยด้วยชายผ้าจีบหนึ่งชิ้น ใส่เสื้อสีครีม คอปิดมิดชิด มีแขนเพื่อให้เกิดความสุภาพเรียบร้อย เพราะแสดงที่วัดวาอาราม ประดับด้วยเครื่องประดับพองาม

อุปกรณ์ประกอบการแสดง
         ใช้พานพุ่มดอกบัวบูชา การบูชาพระพุทธเจ้ามีอยู่ 2 วิธี คือ   
         1. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ อันได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ภัตตาหาร คาว หวาน สิ่งที่เป็นวัตถุทั้งปวง เป็นการเสียสละ ฝึกตนให้ รู้จักการแบ่งปัน การบริจาค และการให้ทาน
         2. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการกระทำ ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทั้งทางกาย วาจา และที่สำคัญที่สุด คือ ทางใจ ทางจิตวิญญาณ

เพลง
         แต่งขึ้นใหม่โดยใช้เพลงสาธุการ (สาธุการเปิดโลก) เป็นโครงสร้างของเพลง 

แนวคิดในการประพันธ์เพลง
         ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
         จากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชัย  พวกดี ได้เล่าให้ฟังว่า การต่อเพลงสาธุการอย่างถูกต้อง จะทราบว่า ในเพลงสาธุการจะมีวรรคพิเศษอยู่วรรคหนึ่งเรียกว่า “พระเจ้าเปิดโลก” วรรคพระเจ้าเปิดโลกนี้ได้นำมาประพันธ์เพลง ระบำพุทธบูชาเป็นโครงสร้างของเพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
         อัตราจังหวะเพลง เป็น 2 ชั้น ท่อน 1 และท่อน 2
         อัตราจังหวะเพลงชั้นเดียว ท่อน 1 และท่อน 2

คำร้อง เพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
                         นบพระมาฆะฤกษ์      อมรเบิกทุกสถาน
             โบราณเก่าเล่าตำนาน             น้อมสักการพระศาสดา
             ถึงพร้อมพระไตรรัตน์              เจิดจำรัสพระพุทธา
             เป็นเอกพระศาสดา                ทั่วโลกาสรรเสริญคุณ
             ด้วยเดชสักการะ                   พลวะช่วยนำหนุน
             นบพระบูชาคุณ                     จงถึงพร้อมบูชาเทอญฯ 

                                                                          อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้
                                                                             13 กุมภาพันธ์ 2559

โน้ตเพลงพุทธบูชา “นบพระ – มาฆ-ปุรณมี”
ประพันธ์โดย ชัชชัย พวกดี

2 ชั้น/ท่อน 1

---ท

---รํ

-ล-ท

-รํ--

ซํมํรํท

-รํ--

-ทรํล

ทลซม

----

-ท-ล

-ซ-ล

-ท-รํ

-ททท

รํมํ-รํ

-ร-ม

-ซ-ล

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

---ร

---รํ

--ซํมํ

รํท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(รํรํมํรํ

ทรํมํล)

ลลทล

ซลทม

(ลลทล

ซลทม)

--มม

ซมนทฺ

--ซซ

ลซมร

--ลล

ทลซม

มํรํทล

----

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

--รํรํ

รํรํ-ดํ

ดํดํ-ท

ทท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ชั้นเดียว/ท่อน 1

-รรร

-มํ-รํ

-ทรํล

ทลซม

-มมม

-ซ-ม

-ล-ม

-ซ-ล

-ลลล

ซลทรํ

-มํ-รํ

-ท-ล

ทลซม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(ลลทล

ซลทม)

ลลทล

ซลทม

(มมซม

รมซล)

--ลล

ทลซม

--มม

รมซล

--รม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

เครื่องดนตรีประกอบด้วยใช้วงโบราณ

         ปี่ใน                1        เลา

         ฆ้องใหญ่          1        วง

         ซอสามสาย        1        คัน

         ตะโพน             1        ใบ

         ฉิ่ง                  1        คู่

         กระจับปี่           1        ตัว

         กรับพวง           1        คู่

จำนวนผู้แสดงและเวลาที่ใช้ในการแสดง
         ผู้แสดงจำนวน 8, 10, 12 หรือขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมของงาน
         เวลาที่ใช้ในการแสดง  8.20  นาที

สรุปผล
         สรุปการสร้างสรรค์
         1. ได้สร้างสรรค์ระบำชุดพุทธบูชานบพระ-มาฆ-ปุรณมี เป็นการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด
         2. ผลของการศึกษาการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่เพื่อนำไปใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง ในรูปแบบระบำสร้างสรรค์ขึ้นใหม่มีองค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
             - การออกแบบท่ารำ
             - การออกแบบเครื่องแต่งกาย
             - การสร้างสรรค์แต่งเพลงประกอบชุดการแสดง
             - การแปรรูปแถว
             - การคัดเลือกนักแสดง
             - อุปกรณ์ประกอบการแสดง

ข้อเสนอแนะ
         เนื่องจากการทำการวิจัยงานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์มีองค์ประกอบมากจึงมีความจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้มีงานวิจัยในลักษณะนี้มากขึ้นและยังเป็นการช่วยกันและพัฒนางานด้านนาฏศิลป์ให้คงอยู่ต่อไปและนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาศาสตร์ด้านนาฏศิลป์ไทยต่อไป

คำสำคัญ : ระบำพุทธบูชา กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=2127

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,453

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,499

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,447

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,674

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,555

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,571

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,426

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 22,783

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,696

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,703