การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้ชม 5,288

[16.3605599, 99.5773072, การทำขวัญข้าว]

       ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย 
       ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว
       คำว่าขวัญ นั้นเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ หรือพืชจะมีขวัญสิงอยู่หากแม้นว่าสิ่งมีชีวิตไม่ดีขวัญประจำอยู่ต้องตายลงไป ข้าวเป็นสิ่งมีชีวิตและมีขวัญถ้าข้าวไม่มีขวัญ หรือไม่มีการบำรุงขวัญข้าว ให้อยู่ประจำข้าวจะไม่เจริญงอกงามและอาจตายได้
       มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีการทำพิธีขวัญข้าว โดยทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว วันขึ้นสามค่ำเดือนสาม ถือเป็นวันสุดท้าย ซึ่งหมายถึงการไหว้แม่โพสพในยุ้งข้าวด้วย หลังจากเอาข้าวออกมาปลูกในปีต่อไป ข้าวจะอุดมสมบูรณ์ สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่น ได้มีโอกาสสืบทอด วัฒนธรรมการทำขวัญข้าวที่กำลังจะสูญหายไป นับว่าน่ายกย่องอย่างยิ่ง ชาวนาถือว่าการทำขวัญข้าว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ และขอขมาแม่โพสพไปในตัว เพราะการเหยียบย่ำข้าวในนา หรือข้าวที่ตกอยู่เก็บเกี่ยวไม่หมด จะทำให้แม่โพสพโกรธข้าวจะไม่บริบูรณ์ ในปีต่อไป
       พิธีกรรมแต่ละท้องที่อาจจะไม่เหมือนกัน เมื่อตอนจะไถ อาจกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขออาศัยทำกินในแผ่นดินนี้ เกิดมั่งเกิดมี เป็นเศรษฐีบ้านนอก วัวควายเต็มคอก ข้าครอกเต็มเรือน กุมแอกกุมไถ กุมไร่กุมนา คุ้มนอนอัปรีย์ อย่าให้มีเข้ามา สรรพลาภัง ภวันตุเต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว จะยกฟ่อนข้าวไว้บนลานนวดข้าว เรียกว่าพิธีขวัญขึ้นลาน ทำตอนตะวันตกดิน โดยนำขนมต้ม ขนมบัวลอย ใส่ชลอม มีผ้าขาวคลุมหาบไว้ พร้อมร้องว่า ข้าวไปตกหล่นที่ไหน เชิญขึ้นมาบนลาน เชิญแม่โพสพขึ้นมาอยู่บนลาน เดินไปพูดไป ในสิ่งมีสิริมงคล เดินไปพูดไป แล้วเก็บรวงข้าวหล่นใส่กระบุงหาบมาที่ลาน
       การทำขวัญข้าวนับว่าเป็นภูมิปัญญาสำคัญของชาติไทย ที่กำลังจะสาบสูญ ไปจากสังคมไทย เพราะคนไทยลืมความสำคัญเหล่านี้ แม่โพสพอาจจะกลายเป็นเพียงเมล็ดพืชธรรมดา การทำขวัญข้าวอาจหายไปจากสังคมชาวนา เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ ความพอเพียงหลีกลี้หนีหายไป คนไทย ฤาจะลืมรากเหง้าของตนเอง ก่อนรับประทานข้าวอาหารหลักของคนไทยทุกครั้ง โปรดสำนึกถึงบุญคุณแม่โพสพบ้าง การทำขวัญข้าว อาจจะกลับมาคู่สังคมไทยอีกครั้ง

ภาพโดย : https://sites.google.com/site/thekhnoloyisansnthes1/wathnthrrm-thxng-thin/prapheni-su-khway-khaw

 

คำสำคัญ : การทำขวัญข้าว

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NA.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การทำขวัญข้าว. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=144&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=144&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,131

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,297

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,102

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปีโดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,518

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,141

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,393

วัฒนธรรมข้ามโลก

วัฒนธรรมข้ามโลก

ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 904

พิธีพลียา

พิธีพลียา

เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,776

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,795

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,763