สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 2,253

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”]

        หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุดก็คือพิษณุโลก
        อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพกำลังพลราวสามหมื่นห้าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกทุกทิศทุกทาง
        เมืองพิษณุโลกในขณะนั้นมีเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้อง เป็นผู้สำเร็จราชการดูแลอยู่ ทั้งสองได้ทำการต่อสู้ปกป้องเมืองอย่างสามารถ พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า เจ้าพระยาทั้งสองผลัดกันนำทัพออกจากกำแพงเมืองเข้าตีค่ายพม่าอย่างดุเดือด ไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ
        เมืองพิษณุโลก ถูกล้อมเป็นเวลายาวนาน ทำให้ขาดเสบียงอาหาร แม้กองทัพกรุงธนบุรีจะพยายามส่งเสบียงลำเลียงขึ้นไป แต่ก็ถูกทหารพม่ามาสกัดตัดเอาไปได้เสียกลางทางทุกครั้ง ชาวพิษณุโลกจำนวนประมาณหนึ่งหมื่นคนจึงเริ่มเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร
        สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงตัดสินพระทัยนำกองทัพเรือหลวงจากกรุงธนบุรีเข้าตีกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก โดยยกทัพเข้าระดมตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออกแบบสายฟ้าแลบในเวลากลางดึก และรบกันอย่างชุลมุนจนถึงเช้า แต่ก็ยังตีหักค่ายพม่าไม่ได้ จำต้องล่าถอยกลับออกมา
        สองวันต่อมา กองทัพใหญ่ของพม่ารุกไล่มาเข้าตีค่ายกองทัพหลวงบ้าง โดยได้ทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดตั้งใจเอาชนะให้ได้ และสามารถตีค่ายไทยจนแตก แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงใช้พระแสงดาบนำหน้าไล่ฟาดฟันพม่าจนกระทั่งชิงเอาค่ายกลับคืนมาได้ แล้วรับสั่งว่าต้องทิ้งค่ายโดยด่วน ให้พยายามรวบรวมอาวุธที่ตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่จำนวนมาก ถอยร่นทัพหลวงลงมาตั้งค่ายแห่งใหม่ที่เมืองพิจิตรแทน
        จะเห็นได้ว่า กองทัพอะแซหวุ่นกี้ทัพนี้เก่งฉกาจนัก เพราะมีแม่ทัพฝีมือดีหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องชายของอะแซหวุ่นกี้ และแม่ทัพนามว่ากะละโบ่ ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าเป็นผู้มีฝีมือสูงส่งยิ่ง ดังนั้น แม้สมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ จะผนึกกำลังกัน ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้
        กลยุทธ์การศึกของอะแซหวุ่นกี้ก็ลึกล้ำ โดยได้ส่งทัพใต้อีกทัพเข้ามาทางด่านสิงขร ประจวบคีรีขันธ์ รุกขึ้นมาทางเพชรบุรีเพื่อจะเข้าตีกรุงธนบุรี ในขณะที่ทัพหลวงทั้งหมดต้องยกขึ้นไปช่วยเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวว่าทหารพม่าบุกเข้ามาทางใต้ถึงเพชรบุรี จึงได้แบ่งกำลังทหารจากกองทัพหลวงบางส่วนให้รีบเร่งรุดลงมาปกป้องพระนคร ในขณะที่ทัพใหญ่ก็ไม่กล้ารุกขึ้นเหนือ เพราะพะวงศึกทางใต้
        เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เห็นว่าประชาชนเริ่มทยอยกันขาดอาหารตาย จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตถอนกำลังออกจากเมืองพิษณุโลก วันที่จะทิ้งเมือง เจ้าพระยาจักรีได้ตั้งปืนใหญ่ยิงกราดไปยังทหารพม่าอยู่ตลอดเวลา เพื่อกันให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองได้อย่างปลอดภัย โดยมีทหารกองหน้าฝีมือดีคอยตีทหารพม่าเพื่อเปิดทาง และใช้เวลาย่ำค่ำสามทุ่มเป็นฤกษ์ในการเริ่มอพยพ
        หลังจากทหารไทยถอยทัพ พม่าก็บุกเข้ายึดภายในตัวเมืองพิษณุโลกได้อย่างเด็ดขาด อะแซหวุ่นกี้สั่งเผาเมืองให้สิ้น ไฟลุกโชติช่วงสว่างราวกับกลางวันอยู่ตลอดคืน แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่าวิหารพระพุทธชินราชไม่ไหม้ไฟแม้แต่น้อย ในขณะที่ภายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราบเรียบเป็นหน้ากลอง
        เมื่อได้เมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้เตรียมยกทัพต่อเนื่องลงมายังนครสวรรค์ และตั้งเป้ายึดกรุงธนบุรี โดยประกบกับทัพใต้ที่ยกมาทางเพชรบุรี ข่าวพิษณุโลกแตก และกองทัพหลวงพ่ายแพ้ สร้างความตระหนกให้กับชาวกรุงธนบุรีมาก เพราะถ้าทัพเหนือและทัพใต้ของพม่ามาถึง การจะตีเข้ากรุงธนบุรี ง่ายกว่ากรุงศรีอยุธยามาก เนื่องจากไม่มีกำแพงเมือง และขณะนั้นจีนก็เข็ดขยาดกับการบุกภาคเหนือของพม่าไปแล้ว ไม่สามารถมาช่วยเราได้อีก (แม่ทัพที่รบกับจีนก็คืออะแซหวุ่นกี้)
        แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น ปรากฏว่าที่เมืองพม่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน มีการผลัดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีท้องตราเรียกกองทัพพม่ากลับเมืองโดยด่วน อะแซหวุ่นกี้จึงรีบยกทัพกลับทันทีโดยออกไปทางด่านแม่ละเมา สงครามยุติแบบงวยงง แต่เป็นเรื่องดี มิฉะนั้น นึกภาพไม่ออกเลยว่า กองทัพไทยจะต้านทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่กำลังฮึกเหิมไหวหรือไม่
        การสงครามคราวนี้ต้องรบกับพม่าแต่เดือนอ้าย พ.ศ.2318 ถึงเดือนสิบ พ.ศ.2319 รวมเป็นเวลาถึงสิบเดือนจึงเลิกรบ
        ขณะที่ไทยติดพันกับศึกอะแซหวุ่นกี้ ในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้านครจำปาศักดิ์ได้กำเริบคิดเป็นกบฏ เมื่อเสร็จศึกกับพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพบุกไปตีนครจำปาศักดิ์ และให้จับเจ้าเมืองประหารเสีย หลังปราบกบฏลาวสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรีเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” (ผู้มีอำนาจสั่งการศึกเทียบเท่าพระมหากษัตริย์)

คำสำคัญ : พระเจ้าตากสินมหาราช, อะแซหวุ่นกี้

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2136

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2136&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,158

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,253

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 606

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,077

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,135

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 422

มหาชนก ร่วมสมัย

มหาชนก ร่วมสมัย

การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 609

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,297

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,111

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 977