ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้ชม 602

[16.4196308, 99.1705869, ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร]

เจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะเท่าที่สามารถตรวจสอบได้จากจารึกพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเท่านั้น มีดังนี้
      (1) พระยางั่ว                                            ก่อน พ.ศ. 1890
      (2) พระยาคำแหง                                       ราวปี พ.ศ. 1916
      (3) พระยาญาณดิศ                                     ราวปี พ.ศ. 1921
      (4) เจ้านครอินทร์                                       ราวปี พ.ศ. 1940
      (5) พระยาบาลเมือง                                    ราวปี พ.ศ. 1962
      (6) พระยาแสนสอยดาว                                ราวปี พ.ศ. 1963
      (7) พระยาศรีธรรมโศกราช                             ราวปี พ.ศ. 2053
      (8) ออกญารามรณรงค์สงครามอภัยพิรียะพาหะ      ราวปี พ.ศ. 2178

หลักฐานแสดงความเป็นมา
       1. พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
       2. พระยาคำแหง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฎหลักฐานในประชุมพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ในปี พ.ศ.1916 และ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เสด็จไปตีชากังราว พระยาคำแหง เจ้าเมืองซากังราว สามารถยกพลเข้าต่อสู้จนกองทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับทั้งสองคราว แสดงว่า พระยาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราวอยู่ระหว่าง พ.ศ.1916-1919 อย่างชัดเจน
       3. พระยาญาณดิศ ในปี พ.ศ.1921 ตามพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมแพ้และออกมาถวายบังคม กรุงสุโขทัยต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้จัดแบ่งสุโขทัยออกเป็น 2 ภาค โดยให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ปกครองอาณาเขดทางลำน้ำยมและน่าน โดยมีพิษณุโลกเป็นเมืองเอกภาคหนึ่ง ส่วนด้านลำน้ำปิงให้พระยายุทิษฐิระราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครอง คือบริเวณตากและกำแพงเพชร โดยมีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก และเข้าใจว่าเมืองชากังราว เมืองนครชุม ตลอดจนเมืองอื่นคงจะรวมกันเป็นเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา พระยายุทิษฐิระ หรือที่เรียกกันว่าพระยาญาณดิศก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองกำแพงเพชร ในราวปี 1921
       4. เจ้านครอินทร์ในเรื่องเจ้านครอินทร์เป็นเจ้าครองเมืองกำแพงเพชร อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมคิลปากร ได้นำเสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 บทความเรื่องความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรว่า…."พ.ศ. 1940 ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือกฎหมายลักษณะโจะได้แสดงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ทรงพระนาม...จักรพรรดิราชผู้นำหลักกฎหมายหลักนี้มาประกาศไว้ ท่ามกลางเมืองสุโขทัย" และได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "กษัตริย์กำแพงเพชรผู้นี้คือ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองกรุงศรีอยุธยา...มีเหตุผลชักจูงให้คิดว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองราชย์สมบัติที่เมืองกำแพงเพชรนั้น คือ.... พระนามจักรพรรดิ์ ปรากฎว่าเป็นพระนามอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในสุพรรณบัฏ พบที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี" ความจริงอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอเหตุผลไว้หลายข้อ แด่เฉพาะข้อนี้ก็พอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระนามจักรพรรดิราช คือพระนามสมเด็จพระนครินทราชาธิราช และพระนามนี้ ก็คือ พระนามของเจ้านครอินทร์ก่อนขึ้นเสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940
       5. พระยาบาลเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ของพระยาบาลเมืองไว้ ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.1962 พระอินทรราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นไปปราบจลาจลเมืองเหนือ แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยารามคำแหง ครองเมืองสุโขทัยให้พระยาบาลเมือง ครองเมืองชากังราว พระยาบาลเมือง จึงเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1962
       6. พระยาแสนสอยดาว เรื่องราวความเป็นมาของเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้นี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เรื่อง ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร “จารึกสมเด็จพระมหารัตนโมลี" ซึ่งพบที่พระเจดีย์เก่า วัดพระยืนกำแพงเพชร และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.2529 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้หนึ่ง ชื่อว่า"สมเด็จพระญาสอย" ได้ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพซร เมื่อ พ.ศ. 1963 สมเด็จพระญาสอย ผู้นี้น่าจะตรงกับชื่อ พระยาแสนสอยดาว เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งปรากฎฏชื่อพร้อมเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 3 เมือง ในแควันสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1983 ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ : เลขที่ 222.2/ก 104 จ.ศ.801-803 มัดที่ 27 และจารึกลานเงินที่มีผู้ได้ที่วัดพระมหาธาตุ ในบริเวณวัดพระแก้วระบุว่า เจ้าแสนสอยดาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ พระยาแสนสอยดาวคือเจ้าเมืองกำแพงเพชรตามจารึก
       7. พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้สร้างพระอิศวร บูรณะซ่อมแชมและพัฒนาบ้านเมือง มีการทำชลประทานไปถึงเมืองบางพาน ในปี พ.ศ. 2053 ตามจารึกที่ฐานพระอิศวร พระญาศรีธรรมโศกราช จึงน่าจะเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในสมัยนั้น
       8. ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะ เมืองกำแพงเพชร ตามหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง ที่ ตร.ประเสริฐ ณ นคร เสนอไว้ในรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร วิทยาลัยครูกำแพงเพชร 7-9 กุมภาพันธ์ 2527 หน้า 266-267 กล่าวถึงกฎหมายดราสามดวงที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองของท่านผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองกำแพงเพชร พิชัย..หน้า 175 นายทหารหัวเมือง (ควรเป็น พ.ศ.2021) ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะเมืองกำแพงเพชร เมืองโท 10,000 ขึ้น ประแฎงเสนาฎขวา" เจ้าเมืองท่านนี้ จึงน่าจะเป็นผู้ครองเมืองในปี พ.ศ. 2178

คำสำคัญ : ทำเนียบ กำแพงเพชร เจ้าเมืองชากังราว

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=2203

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,523

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,442

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,555

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 721

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,175

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 602

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,167

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,241

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,232

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,129