นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้ชม 650

[16.3195807, 99.4823674, นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา]

บทนำ
         วัฒนธรรมแรกเริ่มในกำแพงเพชรนั้น ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเมื่อครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอโกสัมพีนคร เป็นต้น โบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ดังกล่าว สามารถเปรียบเทียบลักษณะที่ได้กับหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า แหล่งโบราณคดีเขาสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี แหล่งโบราณคดีหนองโน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แหล่งโบราณคดี  บ้านใหม่ชัยมงคล อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ฯลฯ ซึ่งกำหนดอายุราว 6000 – 1500 ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในกำแพงเพชรและมีพัฒนาการมาโดยลำดับจากการเก็บของป่า ล่าสัตว์ มีการทำเครื่องมือหินกะเทาะ ภาชนะดินเผา เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสู่การเป็นชุมชนที่ เริ่มตั้งถิ่นฐาน สร้างสรรค์ประดิษฐ์กรรมเพื่อดำรงชีวิต อาทิ การทำเครื่องมือหินที่มีการตกแต่งคมด้วยการขัดฝนผิว เพื่อการใช้งานการทำภาชนะดินเผา การรู้จักนำเส้นใยธรรมชาติมาผลิตเป็นสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม การหล่อโลหะประเภทสำริด และเหล็ก ฯลฯ รวมทั้งมีการแลกรับวัฒนธรรมกับชุมชนใกล้เคียง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร, 2561)
         ในอดีตนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่เชื่อมโยงให้เกิดการส่งผ่านทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนในภาคเหนือกับภาคกลางและทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานที่ส่งผลให้เกิดพัฒนาการในชุมชนต่างๆ ขึ้นเป็นเมืองหรือรัฐ รวมถึงความต้องการทรัพยากรธรรมชาติจากป่าในเขตภาคเหนือของเมืองในภาคกลาง ขณะที่เมืองในภาคเหนือต้องการสินค้านำเข้าจากดินแดน โพ้นทะเล และทรัพยากรทางทะเลที่ส่งผ่านจากภาคกลาง ด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง และด้วยภูมิประเทศที่มีแม่น้ำปิงไหลผ่านที่ราบขนาดใหญ่ น้ำไม่ไหลเชี่ยวเกาะแก่งไม่มาก กำแพงเพชรในอดีตจึงมีความเหมาะสมในการเป็นที่แวะพัก เพื่อขนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ทรัพยากรต่างๆ ทำให้ชุมชนดั้งเดิมบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเมืองกำแพงเพชร พัฒนาขึ้นเป็นเมือง นับแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เช่น เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม และเมืองชากังราว (ต่อมาคือ เมืองกำแพงเพชร) เมืองเหล่านี้ ล้วนมีคูเมืองกำแพงเพชรล้อมรอบและนับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก กำแพงเพชรเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งปรากฏชุมชนโบราณของวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีการสร้างคูน้ำคันดินและโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี 2 แห่ง ได้แก่ เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณบ้านคลองเมือง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร, 2561)

นครไตรตรึงษ์
         เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น
         ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานของเมืองไตรตรึงษ์เกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เมืองไตรตรึงษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง แหล่งน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุปโภคบริโภค จึงทำให้เกิดการใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในการติดต่อและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนภายนอก โดยเฉพาะชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแผนที่ตำแหน่งเมืองไตรตรึงษ์ที่แสดงให้เห็นว่า หากเดินทางขึ้นทางทิศเหนือจะก็จะพบเมืองกำแพงเพชรเมืองนครชุมได้ หากเดินทางลงทางใต้ก็จะเจอเมืองดงแม่นางเมืองและสามารถลงไปถึงเมืองอื่น ๆ ในบริเวณภาคกลางได้ด้วย จากการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ในช่วงเวลาที่ผ่านชี้ให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยใน 3 สมัยหลักๆ ได้แก่ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นเมืองไตรตรึงษ์ได้กลายเป็นเมืองร้าง (คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2559) ดังต่อไปนี้

สมัยก่อนสุโขทัย
         เมืองไตรตรึงษ์ เป็นอีกชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยเอกสารประเภทตำนานและพงศาวดาร อาทิ พงศาวดารโยนก ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึง เมืองไตรตรึงษ์ในฐานะเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาใกล้กับเมืองกำแพงเพชรทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงโดยทางอ้อมของการมีอยู่และการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมแม่น้ำปิงอย่างตำนานจามเทวี รวมทั้งยังมีข้อมูลที่ได้จากการดำเนินขุดค้นในบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาก้นกลม และตะเกียงดินเผาแบบโรมันที่คล้ายคลึงกับที่พบที่ชุมชนโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังพบลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว สีเหลือง ส้ม เขียว ฟ้า น้ำเงิน ดำ และสีน้ำตาลแดง แวดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถเทียบเคียงอายุสมัยจากโบราณวัตถุที่มีลักษณะร่วมกันว่าอยู่ในช่วงของวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) (พีรพน พิสณุพงศ์, 2540) จากหลักฐานที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า เมืองไตรตรึงษ์มีการอยู่อาศัยตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่ามีการเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)

สมัยสุโขทัย
เมืองไตรตรึงษ์ปรากฏร่องรอยของการได้รับอิทธิพลของรูปแบบลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่เป็นลักษณะเด่นของศิลปะสมัยสุโขทัย ได้แก่ วัดเจดีย์เจ็ดยอดและวัดวังพระธาตุที่มีเจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ นอกจากนี้ ผลจากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีที่ผ่านมาพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่มีแหล่งผลิตจากสุโขทัย อาทิ เศษภาชนะดินเผาเครื่องสังคโลกแบบเชลียงเคลือบสีเขียวเฉพาะด้านในผลิตจากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อยราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 (สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 5, 2544)

สมัยอยุธยา
         ชื่อเมืองไตรตรึงษ์ ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ศิลาหลักที่ 38 หรือจารึกกฎหมายลักษณะโจร (เลขทะเบียน สท.17) ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาในยุคแรกเริ่มที่อาณาจักรอยุธยา ตราขึ้นบังคับใช้ในสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร ทุ่งยั้ง ปากยม และเมืองสองแคว ในปี ช่วงพ.ศ.194 ซึ่งตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยข้อความในจารึกได้ปรากฏชื่อเมืองไตรตรึงษ์ในด้านที่ 1 ในบรรทัดที่ 9 มีข้อความว่า

คำจารึก

คำอ่าน

“..เจ๋าเมืองตรายตริง (ษกบั) ดวยนกกปราชราชกวี

“..เจ้าเมืองไตรตรึง (ส์กับ) ด้วยนักปราชญ์ราชกวี

(มีสกุลพ) รรณนงัลงถวายอัญชูลี (พบา

(มีสกุลพ) รรณ นั่งลงถวายอัญชุลี (พระบาท)

เสดจในตรีมุขเสวิยบุญสุกตงักฤตย

เสด็จในตรีมุขเสวยบุญสุข ตั้งกฤตย์

แลวบเหิงกลายทานเสดจ…ดวยบุรีฝูงพาลแ…”

แล้วบเหิงกลาย ท่านเสด็จ…ด้วยบุรีฝูงพาล แ-”

          จากข้อความกล่าวว่าแสดงให้เห็นสถานะความเป็นชุมชนเมืองในโดยมีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์เป็นผู้ปกครอง และยังเป็นคณะประชุมการตรากฎหมายดังกล่าวด้วย

สมัยรัตนโกสินทร์
         ในช่วงสมัยนี้บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ลดบทบาทลงอย่างชัดเจน กลายเป็นเมืองที่ถูกทิ้งร้าง เมืองไตรตรึงษ์ได้ถูกกล่าวในพระราชนิพนธ์จากการเสด็จประพาสของกษัตริย์ 2 พระองค์ ได้แก่
         1. การเสด็จประพาสเมืองเหนือในรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ได้บันทึกกล่าวถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังทรงผนวชได้เสด็จประพาสเมืองเหนือ โดยเสด็จประทับที่เมืองไตรตรึงษ์และได้นมัสการพระธาตุตาลเอน จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่า โบราณสถานในบริเวณเขตเมืองโบราณไตรตรึงษ์ มีวัดเก่าอยู่หลายแห่ง แต่ที่เป็นเจดีย์ใหญ่พอจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้นั้นน่าจะเป็นเจดีย์วัดวังพระธาตุ
         2. การเสด็จประพาสต้นหรือการเสด็จประพาสเมืองเหนือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ปี ร.ศ.125 หรือ พ.ศ.2449 ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 โดยเสด็จประพาสต้นถึงเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม พ.ศ.2449 และเสด็จถึงเมืองไตรตรึงษ์ ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2449 ซึ่งทรงบันทึกภาพถ่ายและทรงมีพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องไว้ โดยข้อมูลจากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลานั้นเมืองไตรตรึงษ์ได้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยหญ้าสูง ไม่มีการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คนและได้ปรากฏโบราณสถานใน 3 พื้นที่ คือ วัดวังพระธาตุ แนวกำแพงดิน-คูเมืองไตรตรึงษ์ และบริเวณภายในเมืองไตรตรึงษ์
         นอกจากนี้ มีการสำรวจที่ได้แสดงให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงเป็นเมืองร้าง โดยในช่วงปี พ.ศ.2496 นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้รับการแต่งตั้งร่วมเป็นอนุกรรมการรวบรวมประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีพระยาอนุมานราชธนเป็นประธานคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการ ได้เข้าไปสำรวจโบราณสถานในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชรและนครสวรรค์ โดยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2449 ได้เข้าไปดูเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏว่า สภาพโบราณสถานตามภาพถ่ายจากการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้ทรุดโทรมลงไปมาก (ปรากฏข้อความในจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-3)
         ปัจจุบันเมืองไตรตรึงษ์เป็นโบราณสถานสำคัญอีกแห่งของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าและร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง กำแพงเพชร ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 16 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง เป็นเมืองขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบสามชั้น ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน แม้จะมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่ไม่ได้ใช้ลำน้ำเป็นคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดิมขนานกับแนวแม่น้ำปิง ปัจจุบันแนวกำแพงเมืองด้านเหนือที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงบางส่วนได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังทลาย และถูกชาวบ้านเข้ามาไถปรับทำไร่สวนจนเสียหายหลายส่วน อีกทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกมันสำปะหลัง เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วง ปี พ.ศ. 2550-2558 แสดงให้เห็นว่ามีการทำเกษตรกรรมกันอย่างต่อเนื่อง
         “เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร” ที่หมายถึง เมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชาประจำสวรรค์ชั้นนี้ เป็นเมืองโบราณที่เคยยิ่งใหญ่ เกรียงไกร ดังคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า “เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์” ดังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นในปัจจุบัน ดังนี้ (สันติ อภัยราช, 2540)
         เจดีย์เจ็ดยอดงามสม หมายถึง ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์มีวัดประจำเมือง คือ เจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงสเด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2499 เมื่อถึงนครไตรตรึงษ์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอด”
         ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองไตรตรึงษ์มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตา ทรงพระนามว่า นางอุษา ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไปด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปมมีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะนายแสนปมปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานึกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจนมาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อไปถวาย หลังพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้าพยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่า ใครคือพ่อของเด็กในท้องครั้นเมื่อพระกุมารได้เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้ขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกินของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาหนุ่มในเมืองต่างรีบเดินทางเข้าวังพร้อมของกินดีๆ นายแสนปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียวแต่พระกุมารรับไว้เสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้วที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพร่ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามสารพัดนึก (บางตำนานว่าเป็นฆ้อง) นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล้วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง ให้ชื่อว่า เมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือ พระเจ้าอู่ทองกษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้ชื่อเสียงของท้าวแสนปมดังไปทั่วประเทศ จนกระทั่งพระมงกุฎเกล้านำไปพระราชนิพนธ์ เรื่อง ท้าวแสนปม
         วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง หมายถึง ที่นครไตรตรึงษ์มีวัดขนาดใหญ่นอกเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามลำน้ำปิงมีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เรียกว่า วังพระธาตุ แต่ก่อนที่วัดแห่งนี้เป็นป่ารกร้าง บริเวณพระวิหารมีเนินดินและต้นไม้ใหญ่ปกคลุมจนแทบมองไม่เห็นพระวิหาร ต่อมากรมศิลปากรได้มาบูรณะให้ใหม่จนมีสภาพปัจจุบัน เหตุผลที่เรียกขานกันว่าวังพระธาตุ เพราะหน้าวัดเป็นห้วงน้ำใหญ่ เรียกกันโดยสามัญว่า วัง และมีความเชื่อว่า ภายในพระมหาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ของวัดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจึงมีพระธาตุตั้งอยู่ เรียกกันว่า วังพระธาตุ
         เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์ นครไตรตรึงษ์ ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร สร้างสมัยพระเจ้าชัยศิริ หรือพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ตามตำนานท้าวสนปม และกำเนิดพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริยแห่งอยุธยา เมี่อราวปีพุทธศักราช 1547 เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองที่สง่างามตั้งบนชัยภูมิที่เหมาะสม คือ ตำบลมอพระธาตุน้ำท่วมไม่ถึง มีแม่น้ำปิงเป็นแนวคูเมืองผันน้ำจากลำน้ำปิงมาหล่อเลี้ยงคูเมืองทั้งสามชั้น ต้องตามตำรับพิชัยสงคราม นอกจากนี้เมืองไตรตรึงษ์ยังมีกำแพงสามชั้น ที่เรียกกันว่า ตรีบูร สภาพกำแพงเมืองชั้นในยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ คูเมืองยังลึกและงดงามมาก กำแพงเมืองชั้นนอกสุดถูกปาดไปเป็นถนนส่วนหนึ่ง กำแพงชั้นกลางยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างเล็กน้อย กำแพงชั้นในบางส่วนถูกไถเพื่อทำไร่น้อยหน่า ไร่มันสำปะหลังไปบ้าง

สรุป
         จากหลักฐานและร่องรอยตามตำนาน พงศวดาร นิยายปรัมปราของเมืองไตรตรึงษ์ อาทิ พงศาวดารโยนก ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงเมืองไตรตรึงษ์ในฐานะเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาใกล้กับเมืองกำแพงเพชร ล้วนเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและเป็นเมืองสำคัญมีอายุไม่ต่ำกว่าสมัยทวารวดี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในอดีตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเส้นทางคมนาคมหลักในการเดินทางระหว่างภาคเหนือไปยังภาคกลางที่เชื่อมต่อไปยังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม จวบจนปัจจุบันนั้นยังคงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : นครไตรตรึงษ์, วัดวังพระธาตุ, ท้าวแสนปม

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=นครไตรตรึงษ์_เมืองโบราณ_ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2108&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2108&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,541

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,918

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 15,320

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,169

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,222

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,451

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,418

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,068

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,330

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 14,756