ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้ชม 269

[16.4196308, 99.1705869, ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร]

เจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะเท่าที่สามารถตรวจสอบได้จากจารึกพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเท่านั้น มีดังนี้
      (1) พระยางั่ว                                            ก่อน พ.ศ. 1890
      (2) พระยาคำแหง                                       ราวปี พ.ศ. 1916
      (3) พระยาญาณดิศ                                     ราวปี พ.ศ. 1921
      (4) เจ้านครอินทร์                                       ราวปี พ.ศ. 1940
      (5) พระยาบาลเมือง                                    ราวปี พ.ศ. 1962
      (6) พระยาแสนสอยดาว                                ราวปี พ.ศ. 1963
      (7) พระยาศรีธรรมโศกราช                             ราวปี พ.ศ. 2053
      (8) ออกญารามรณรงค์สงครามอภัยพิรียะพาหะ      ราวปี พ.ศ. 2178

หลักฐานแสดงความเป็นมา
       1. พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
       2. พระยาคำแหง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฎหลักฐานในประชุมพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ในปี พ.ศ.1916 และ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เสด็จไปตีชากังราว พระยาคำแหง เจ้าเมืองซากังราว สามารถยกพลเข้าต่อสู้จนกองทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับทั้งสองคราว แสดงว่า พระยาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราวอยู่ระหว่าง พ.ศ.1916-1919 อย่างชัดเจน
       3. พระยาญาณดิศ ในปี พ.ศ.1921 ตามพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมแพ้และออกมาถวายบังคม กรุงสุโขทัยต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้จัดแบ่งสุโขทัยออกเป็น 2 ภาค โดยให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ปกครองอาณาเขดทางลำน้ำยมและน่าน โดยมีพิษณุโลกเป็นเมืองเอกภาคหนึ่ง ส่วนด้านลำน้ำปิงให้พระยายุทิษฐิระราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครอง คือบริเวณตากและกำแพงเพชร โดยมีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก และเข้าใจว่าเมืองชากังราว เมืองนครชุม ตลอดจนเมืองอื่นคงจะรวมกันเป็นเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา พระยายุทิษฐิระ หรือที่เรียกกันว่าพระยาญาณดิศก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองกำแพงเพชร ในราวปี 1921
       4. เจ้านครอินทร์ในเรื่องเจ้านครอินทร์เป็นเจ้าครองเมืองกำแพงเพชร อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมคิลปากร ได้นำเสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 บทความเรื่องความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรว่า…."พ.ศ. 1940 ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือกฎหมายลักษณะโจะได้แสดงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ทรงพระนาม...จักรพรรดิราชผู้นำหลักกฎหมายหลักนี้มาประกาศไว้ ท่ามกลางเมืองสุโขทัย" และได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "กษัตริย์กำแพงเพชรผู้นี้คือ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองกรุงศรีอยุธยา...มีเหตุผลชักจูงให้คิดว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองราชย์สมบัติที่เมืองกำแพงเพชรนั้น คือ.... พระนามจักรพรรดิ์ ปรากฎว่าเป็นพระนามอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในสุพรรณบัฏ พบที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี" ความจริงอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอเหตุผลไว้หลายข้อ แด่เฉพาะข้อนี้ก็พอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระนามจักรพรรดิราช คือพระนามสมเด็จพระนครินทราชาธิราช และพระนามนี้ ก็คือ พระนามของเจ้านครอินทร์ก่อนขึ้นเสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940
       5. พระยาบาลเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ของพระยาบาลเมืองไว้ ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.1962 พระอินทรราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นไปปราบจลาจลเมืองเหนือ แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยารามคำแหง ครองเมืองสุโขทัยให้พระยาบาลเมือง ครองเมืองชากังราว พระยาบาลเมือง จึงเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1962
       6. พระยาแสนสอยดาว เรื่องราวความเป็นมาของเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้นี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เรื่อง ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร “จารึกสมเด็จพระมหารัตนโมลี" ซึ่งพบที่พระเจดีย์เก่า วัดพระยืนกำแพงเพชร และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.2529 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้หนึ่ง ชื่อว่า"สมเด็จพระญาสอย" ได้ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพซร เมื่อ พ.ศ. 1963 สมเด็จพระญาสอย ผู้นี้น่าจะตรงกับชื่อ พระยาแสนสอยดาว เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งปรากฎฏชื่อพร้อมเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 3 เมือง ในแควันสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1983 ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ : เลขที่ 222.2/ก 104 จ.ศ.801-803 มัดที่ 27 และจารึกลานเงินที่มีผู้ได้ที่วัดพระมหาธาตุ ในบริเวณวัดพระแก้วระบุว่า เจ้าแสนสอยดาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ พระยาแสนสอยดาวคือเจ้าเมืองกำแพงเพชรตามจารึก
       7. พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้สร้างพระอิศวร บูรณะซ่อมแชมและพัฒนาบ้านเมือง มีการทำชลประทานไปถึงเมืองบางพาน ในปี พ.ศ. 2053 ตามจารึกที่ฐานพระอิศวร พระญาศรีธรรมโศกราช จึงน่าจะเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในสมัยนั้น
       8. ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะ เมืองกำแพงเพชร ตามหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง ที่ ตร.ประเสริฐ ณ นคร เสนอไว้ในรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร วิทยาลัยครูกำแพงเพชร 7-9 กุมภาพันธ์ 2527 หน้า 266-267 กล่าวถึงกฎหมายดราสามดวงที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองของท่านผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองกำแพงเพชร พิชัย..หน้า 175 นายทหารหัวเมือง (ควรเป็น พ.ศ.2021) ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะเมืองกำแพงเพชร เมืองโท 10,000 ขึ้น ประแฎงเสนาฎขวา" เจ้าเมืองท่านนี้ จึงน่าจะเป็นผู้ครองเมืองในปี พ.ศ. 2178

คำสำคัญ : ทำเนียบ กำแพงเพชร เจ้าเมืองชากังราว

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,289

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,380

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,748

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,285

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,021

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,406

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,675

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,443

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,057

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,477