เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,245

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น]

          เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือ พระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอน เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้
          “วันที่ 22 เมื่อคืนนี้ฝนตกพร่ำเพรื่อไปยันรุ่ง แรกนอนรู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นเยือกไปทั้งตัว ท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน จนเอาสักหลาดขึงอุดหมดจึงนอนหลับ ตื่น 2 โมงครึ่ง ออกเรือจวน 3 โมง มาจากท่าขี้เหล็กเลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตก มีบ้านเรือนเรียงรายตลอดขึ้นมาแต่อยู่ฟากตะวันตก ฟากตะวันออกเป็นป่า ตั้งแต่พ้นคลองขลุงขึ้นมามีต้นสักชุม แต่เป็นไม้เล็ก ๆ ซึ่งเป็นเวลาหวงห้ามเดินเรือ วันนี้รู้สึกว่าไปในกลางป่าสูง ได้ยินเสียงนกร้องต่าง ๆ อย่างชมดงเพรียกมาตลอดทางตำบลที่เรียกชื่อคลอง เช่น คลองขลุง หรือแม่อะไรต่ออะไรใช่ว่าเราจะแลเห็นในเวลานี้ ปากคลองแห้งอยู่ในหาด ได้พยายามจะไปดูคลองขลุงก็เข้าไปไม่ถึง ด้วยหาดกว้าง คลองขลุงนี้เป็นปลายน้ำอันหนึ่ง วันนี้แลเห็นเขาประทัดซึ่งปันแดนยืนเป็นแถวที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้งวังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่า ห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือที่ที่เหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง พระธาตุนี้มีแท่นซ้อน 3 ชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ (64) เรียกว่า ทนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉน 7 ป้องปลี แล้วปักฉัตร ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น ซึ่งแก้เป็นพระเจดีย์มอญเสีย
           เขาว่าสุโขทัย สวรรคโลกเป็นรูปนี้ทั้งนั้น ของแผ่นดินฝ่ายเหนือเห็นจะไม่แปลกกันมาก องค์พระเจดีย์ช้ารุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร 4 ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญอยู่ทิศตะวันออก เยื้องไม่ตรงกลางเขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งยืนทั้งนั่งหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็นเป็นช่างได้ท้าได้ถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระซึ่งขึ้นมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักมาแต่ก่อนขึ้นมา จำพรรษาอยู่ในที่นี้คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิซึ่งอยู่เยื้องหน้าพระธาตุ ห่างจากศาลามุงกระเบื้องเดิมซึ่งอยู่ข้างริมน้ำใต้ลงไป (65) เดินจากวังพระธาตุไปตามล้าน้ำข้างเหนือทาง 26 เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ คูนั้นใหญ่กว้าง ราว 15 วา ลึกลงเสมอพื้นหาด แต่น้ำแห้งยืนเข้าไปจนถึงเชิงเทิน หลังเมืองไปมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้ กำหนดเชิงเทินยาวตาม ลำแม่น้ำ 40 เส้น ยืนเข้าไปทางตะวันตกตะวันออก 37 เส้นเห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่ พื้นพื้นดินไปทั่วทั้งนั้น ในท้องคูก็เป็นแลง เข้าไปในเมืองหน่อยหนึ่งก็พบโคก เห็นจะเป็นวิหาร เจดีย์หักพังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ 7 ยอด จะเป็นด้วยผู้ที่มาตรวจตราค้นพบสามารถจะถางเข้าไปได้แต่ 7 ยอด แต่ที่จริงคราวนี้เขาได้ถางดีกว่าที่ได้ถางมาแต่ก่อน จึงได้ไปพบว่ากว่า 7 คือพระเจดีย์ใหญ่ขนาด พระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์ราย 3 ด้าน วิหารด้านเหนือวางเลอะ ๆ ทำนองนี้ นอกนั้นพระเจดีย์ล้อม 14 องค์ ที่เขาค้นถากถางเข้ามาให้ดูได้เพียงเท่านี้ นอกนั้นยังเป็นป่าทึบอยู่มากไม่ใช่รกอย่างกรุงเก่า เป็นป่าสูงไม้ใหญ่ข้างล่างโปร่ง ทั้งในเมืองนอกเมือง เหตุด้วยทิ้งร้างเป็นป่ามาช้านานกว่ากันมาก
            ข้อซึ่งจะโจษสงสัยว่าเป็นเมืองไตรตรึงษ์แน่ละหรือ เพราะมีข้อสงสัยว่าเจ้าแผ่นดินลงมาแต่เชียงราย เวลานั้นเมืองกำแพงเพชรก็มีเจ้า เหตุไฉนจะข้ามลงไปสร้างเมืองไตรตรึงษ์ขึ้นในที่ใกล้ ห่างกันเพียง 400 เส้น ความที่เดาว่าเมืองกำแพงเพชร มีเจ้าอยู่ในเวลานั้น น่าจะเดาจากบัญชีเมืองประเทศราชครั้งแผ่นดิน พระเจ้าอู่ทอง ในท้องเรื่องที่ว่าเจ้าเชียงรายยกลงมา ไม่ได้กล่าวว่าตีเมืองกำแพงเพชร ไปตั้งเมืองแปบเป็นเมืองไตรตรึงษ์ทีเดียว จึงเกิดสงสัยที่จริงจะได้เมืองกำแพงเพชรแล้ว แต่หากจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ให้เป็นเกียรติยศ หรือด้วยความขัดข้องประการใด เมืองกำแพงเพชรที่อยู่ฝั่งตะวันออกคงจะเกี่ยวดองหรืออยู่ในอำนาจเมืองสวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จึงได้ตั้งฝั่งทางที่เป็นแผ่นดินเดียวกัน ถ้าพวกเยงรายจรมาจะไปตั้งฝั่งตะวันตกก็จะได้เพราะถูกต้องความในจดหมายเหตุว่าข้ามแม่น้ำโขงไปตั้งฝั่งตะวันตกเมืองกำแพงเพชร เห็นว่าจะเป็นเมืองไตรตรึงษ์แน่” จากข้อความในหนังสือเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 แสดงถึงหลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ได้กลายเป็นเมืองร้างและรกทึบแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่จะเป็นมาตั้งแต่เมื่อใดคงต้องศึกษาหาข้อมูลกันต่อไป

 

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์, ประพาสต้น

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1328

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1328&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,454

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,375

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,564

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,466

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,555

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,610

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,760

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 947

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,533

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,095