เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 770

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร]

           มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี จึงมีพระนามชื่อนางแก้วกัลญานี มีอายุได้ 17-18 ปี มีพระทัยสภัคยินดีด้วยราคจิต คิดอยากเสวยมะเขือเป็นกำลังยิ่งนัก จึงให้ทาสาทาสีไปเที่ยวหาซื้อมะเขือ ทาสาทาสีนั้นจึงไปเที่ยวหาซื้อมะเขือที่ตลาดใต้เหนือหลายแห่งไม่ได้มะเขือ จึงสืบเสาะไปจนถึงไร่ของบุรุษนั้น จึงซื้อมะเขือลูกใหญ่งามของ บุรุษเป็นปมนั้นได้ จึงนำถวายแก่พระราชธิดา พระราชธิดาจึงเสวยมะเขือนั้น จะมีเหตุให้บังเกิดโอชารสซับซาบ ให้นางมีจิตปิติโสมมนัสยินดียิ่งนักเป็นกำลัง จนมีกายกำเริบต่าง ๆ ทั้งนี้นางนั้นจะได้พระราชบุตรผู้มีบุญมาเกิด แลจะได้พระภัสดาสามีผู้มีบุญาธิการมาก อนึ่งเหตุภาวะแห่งคนทั้งสามนั้นได้กระทำบุญมาด้วยกันแต่ก่อน ในกาลนั้นสัตว์ผู้หนึ่งมีบุญญาธิการได้กระทำมามาก มาอุบัติปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์นิเครธรนแห่งพระราชธิดานั้น ด้วยเหตุว่านางได้เสวยมะเขืออันเป็นชื้ออุปสัยสัมภวะแห่งบุรุษสีวรกายเป็นปม อันกระทำปัสสาวะในที่ใกล้ริมต้นมะเขือนั้น ครรภ์อุทรแห่งนางแก้วกัลป์ยานีนั้นก็เห็นปรากฏขึ้นมา ฝ่ายพระญาติพระวงศาครั้นเห็นครรภ์แห่งนางเห็นวิปริต จึงไต่ถามตามประเพณีคดีโลก ได้ฟังเหตุอันนางด้วยวาจาสัจว่าข้านี้มิได้คบหาสังวาสด้วยบุรุษ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นอันขาด ก็เห็นความจริงด้วยสุจริต ด้วยอาณุภาพบุญแห่งสัตว์อันอยู่ในครรภ์นั้น พระญาติวงศ์ทั้งหลายมิได้โกรธ เชื่อถือช่วยกันอภิบาลรักษาครรภ์ด้วยเมตตาจิต นางนั้นก็รักษาครรภ์นั้นมา เมื่อถ้วนกำหนดทศมาศจึงคลอดซึ่งพระราชบุตร ทรงพระรูปโฉมงามยิ่งนักประดุจรูปทอง ประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์
           พระญาติวงศ์มีพระเมตตารักใคร่ ช่วยบำรุงบำเรออุปถัมภนาการ เลี้ยงรักษาด้วยสุจริตเป็นปกติมา สมเด็จพระอัยกานั้นมีพระทัยปรารถนา เพื่อจะเสี่ยงทายพระราชนัดดา ทดลองดูจะใคร่รู้ว่าบุรุษผู้ใดจะเป็นบิดาของพระราชกุมาร ครั้งทรงพระดำริแล้วจึงสั่งแก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย จงให้คนเอาฆ้องกลองไปเที่ยวตีป่าวบอกกล่าวแก่บุรุษทั้งหลายในกรุงนอกกรุงศรีฯ แขวง จังหวัดจงทั่วตั้งแต่พรุ่งนี้ไป 3 วัน  ให้บุรุษทั้งหลายเข้ามาในพระราชวังให้ถือมาซึ่งขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามที่มีแต่สิ่งละน้อยให้เร่งเข้ามา” ราชบุรุษทั้งหลายก็ให้ไปเที่ยวตีฆ้องร้องป่าวทั่วทุกทิศตามรับสั่ง ฝ่ายบุรุษทั้งหลายรู้ว่ารับสั่งให้เข้าไปในพระราชวัง ดังนั้นได้ขนมบ้าง ได้ผลไม้ต่าง ๆ กัน เผือก มัน กล้วย อ้อย ตามที่มีก็ถือเข้าไปในพระราชวัง สมเด็จพระอัยกาให้ตกแต่งประดับพระราชนัดดา ด้วยเครื่องกุมารอาภรณ์อลังกาอันวิจิตร วิภูษิตสังวาล งามเลิศแล้ว จึงให้พระหลานแก้วนิสีทนาการเหนือราชอาสน์ อันตกแต่งเป็นอันดีในพระราชฐาน แล้วให้เรียกหาบุรุษเข้ามาทีละคนให้ถือขนมของกินกล้วยอ้อยผลไม้เข้าไปสู่สำนักแห่งพระราชกุมาร สมเด็จพระอัยกาจึงอธิษฐานว่า “บุรุษผู้ใดเป็นบิดาของราชกุมารแท้จริงไซร้ ก็ให้พระราชกุมารนี้จงถือข้าวของวัตถุของบุรุษนั้น ถ้ามิใช่บิดา อย่าให้พระราชกุมารถือข้าวของวัตถุของบุรุษผู้นั้นเลย” ครั้นตั้งอธิฐานแล้วก็ให้พระราชกุมารเข้าไปถือเอาของวัตถุบุรุษนั้น แลชายแสนปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็เข้ากอดคอแล้วรับเอาก้อนข้าวเย็นมาเสวย ชนทั้งปวงเห็นพิศวงชวนกันติเตียนต่าง ๆ พระเจ้าไตรตรึงษ์ พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยได้ความอัปยศ จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระราชนัดดาให้แก่นายแสนปม ให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือ อันเป็นที่อยู่ไกลจากพระนครวันหนึ่งชายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นสู่ไร่ ด้วยเดชะบุญชนทั้ง 3 บันดาลให้สมเด็จจอมอมรินทราธิราช นิมิตกายเป็นวานร เอากลองทิพย์มาส่งให้ชายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า “ท่านปรารถนาสิ่งใดจงตีกลองนี้ อาจให้สำเร็จความปรารถนาได้สิ้น” ชายแสนปมจึงปรารถนาให้รูปงามจงตีกลองนั้น ปมเปาทั้งปวงก็อันตรธานสูญหาย รูปกายนั้นก็บริสุทธิ์ แล้วก็น้ากลองนั้นมาสู่ที่อยู่แล้วก็ บอกแก่ภรรยา นางก็มีความยินดี จึงตีกลองทิพย์นิมิตทองให้ช่างตีอู่ทองให้พระโอรสบรรทม เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงมีนามว่า “เจ้าอู่ทอง” จำเดิมแต่นั้นมา
           จุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาเจ้าอู่ทองจึงตีกลองทิพย์นิมิต เป็นพระนครขึ้นในที่นั้นให้นามชื่อว่า เทพมหานคร เหตุสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยดา แลชนทั้งหลายชวนกันมาอาศัย ณ เมืองนั้นเป็นอันมาก พระองค์ได้เสวยราชสมบัติทรงพระนามพระเจ้าสิริไทยเชียงแสน (ศรีวิชัยเสียงแสน) ปรากฏในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จเจ้าสิริไชยเชียงแสนทิวงคต อยู่ในราชสมบัติ 26 ปีแล้ว กลองทิพย์นั้นก็อันตรธานหาย สมเด็จพระเจ้าอยู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ 6 พระพรรษา ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่ จึงให้ราชบุรุษเที่ยวแสวงหาภูมิประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ ราชบุรุษก็เที่ยวหามาโดยทักษิณ ถึงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณปลาพร้อมทุกสิ่ง จึงกลับไปกราบทูลพระเจ้าอู่ทองจึงยกจตุรงค์โยธาประชาราฎร์ทั้งปวงมาสู่ประเทศที่นั้น
          จุลศักราช 712 ปีขาลโทศก ทรงสร้างพระนครเสร็จให้นามชื่อ กรุงเทพมหานคร ตามนามพระนครเดิม ๑ ให้นามชื่อ ทวารวดี เหตุมีคงคาล้อมรอบดุจนามเมือง ทวารวดี ๑ ให้ชื่อ สีอยุทธยา เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง ศรีแลตาอุทธยา เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ในที่นั้นนาม ๑ แลนามทั้งสามประกอบกันจึง เรียกว่า กรุงเทพมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ 37 พระพรรษา ถวายพระนามสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี แลเมื่อได้ราชาภิเษกนั้น ได้สังข์ทักษิณาวรรตภายใต้ต้นหมันในพระนครสังข์ ๑ แล้วทรงสร้างพระที่นั่งไพรทูริยมหาปราสาททอง สองที่นั่งไพรชนมหาปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งไอยสวรรมหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วให้พระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐธิราชนั้นไปครองเมืองสุพรรณบุรี ให้พระราชบุตรทรงพระนามพระราเศวร ไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นเมืองประเทศราชขึ้น 16 เมือง คือเมืองมะลากา ๑ เมืองชะวา๑ เมืองตะนาวสี ๑ เมืองทวาย๑ เมืองเมาะตะมะ ๑ เมืองเมาะ ลำเลิง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองจันทบูรณ์ ๑ เมืองพระพิศนุโลกย์ ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองพิไชย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ และพระองค์สร้างวัดพุทธไทสวรรค์แลวัดป่าแก้ว จุลศักราช 731 ปีระกาเอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีสวรรคตอยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1321

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,841

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,194

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,411

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,301

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,539

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,397

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 535

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,187

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,000