เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,091

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย]

           ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์เป็นมหัศจรรย์บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเนรมิต พระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้ เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร พระเจ้าเชียงรายก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า พระดาบสองค์นี้ ชะรอยจะเป็นสมเด็จอำมรินทราธิราชแสร้งจำแลงพระกายมาบอกให้เป็นแน่แท้ จึงให้ตั้งชมรมสำนักไพร่พลอยู่ในที่นั้น แล้วให้สร้างพระนครพร้อมด้วยเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ แล้วสร้างพระราชนิเวศน์สถาน แลบ้านเรือนแสนท้าวพระยาลาวเหล่าอำมาตย์ราษฎรทั้งปวงอาศัยอยู่ในเมืองนั้นสำเร็จแล้ว ให้นามเมืองว่าไตรตรึงษ์ เหตุสมเด็จท้าวสหัสไนยน์มาชี้ที่ให้เสด็จครองราชย์สมบัติอยู่ในพระนครนั้น ตราบเท่าทิวงคต และพระราชโอรสนัดดาได้ครองสมบัติสืบต่อพระราชวงศ์ติดต่อกันมาถึง 4 ชั่วแผ่นดิน
           ครั้งนั้นยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง เป็นปมเปาทั่วทั้งกาย คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อว่านายแสนปม นายแสนปมนั้นท้าไร่ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใต้เมืองไตรตรึงษ์ลงทางวันหนึ่ง ได้เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งนั้นอยู่ใกล้ห้างที่อาศัย นายแสนปมไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือก็ออกผลผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง เหตุด้วยรดแห่งมูตร์อันเจือไปด้วยสัมภวะราด พอพระราชธิดาพระยาไตรตรึงษ์อยากเสวยผลมะเขือ จึงให้สาวใช้ไปเที่ยวซื้อก็ได้ผลมะเขือใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงพระครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถามก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาศกับด้วยบุรุษผู้ใด จนพระครรภ์แก่กำหนดทศมาศก็ประสูตร์พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยบุญธัญลักษณะ พระญาติวงษ์ทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนทรงจำเริญขึ้นพระชนม์ได้ 3 ขวบ           สมเด็จพระไอยกาทรงพระราชดำริห์ จะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องแต่บรรดาชายชาวเมืองให้เข้ามาประชุมในหน้าพระลานให้สิ้น ให้ถือขนมและผลไม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจงถ้วนทุกคน แล้วจึงทรงพระสัตยาธิฐานว่า ถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของกุมารนี้ ขอให้กุมารจงรับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษผู้นั้นมาบริโภคให้เห็นประจักษ์เถิด แล้วให้นางนมอุ้มพระราชกุมารออกไปที่ประชุมชนในพระลาน 
           ฝ่ายนายแสนปมนั้น...ถือข้าวเย็นก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็วิ่งกอดคอ... เอาข้าวเย็นมาเสวย   ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียน พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยในความอัปยศ จึงประทาน พระราชธิดากับทั้งพระนัดดานั้นให้แก่นายแสนปม แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มะเขือนายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเป็นที่อาศัย ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสามก็บันดาลให้ร้อนถึงองค์สมเด็จอัมรินทราธิราช จึงเนรมิตพระกายเป็นวานร ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้อาจขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ ว่าแล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า นายแสนปมก็แจ้งว่าเทพยดานำเอากลองทิพย์มาให้มีความยินดีมากนัก จึงตีกลองเข้าปรารถนาจะให้รูปงาม แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น รูปกายงามบริสุทธิ์ แล้วจึงเอากลองทิพย์กลับไปสู่ที่พักบอกแก่ภรรยา นางนั้นมีความโสมนัส จึงตีกลองนิรมิต ทองธรรมชาติให้ช่างทอง ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์        
           เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้นามปรากฏว่า พระเจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมาจุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาพระเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เป็นพระนครขึ้น ในที่นั้นมีทั้งปราการเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่งพร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน จึงตั้งนามว่า เมืองเทพนคร เหตุสำเร็จด้วยเทวานุภาพ ครั้งนั้นประชาชนทั้งหลายชักชวนกันมาอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก เมืองนั้นก็มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยอาณาประชาราษฎร แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชย์สมบัติ ในเมืองเทพนครนั้น ทรงนามสมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เลืองลือพระเกียรติยศปรากฎในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้ประกอบด้วยพระราชกฤษฎา บุญญานุภาพอันเป็นที่มหัศจรรย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครอบครองไพร่ฟ้าประชาชนได้ 25 พรรษา ก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉอศกนั้น ครั้นสวรรคตแล้วกลองทิพย์อันพระอินทร์พระราชทานมาก็อันตรธานหายไปด้วย พระเจ้าอู่ทองราชโอรสจึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชมไหสวรรย์ แทนสมเด็จพระบรมราชบิดาแล้วจึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วพระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ในเมืองเทพนครนั้น ได้ 6 พรรษา มีพระราชหฤทัยประสงค์จะสร้างพระนครใหม่ ตรัสให้ขุนตำรวจไปเที่ยวตรวจหาภูมิประเทศแห่งใหม่ที่อันมีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ทุกสิ่ง ขุนตำรวจได้เที่ยวตรวจหาสถานที่ซึ่งจะตั้งเป็นพระนครลงมาทางด้านทิศใต้ จนถึงท้องที่ตำบลหนองโสน อันประกอบด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อความทราบดังนั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จกรีฑาพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังพื้นที่แห่งนั้นให้ตั้งพระต้าหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จัดการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง ทำอิฐเผาปูนซึ่งจะก่อกำแพงพระนครให้ขนานนามพระนคร อันที่สร้างใหม่เป็นนามต้นว่า กรุงเทพมหานคร นามหนึ่งชื่อ บวรทวาราวดี เหตุมีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวาราวดี แต่ก่อนนามหนึ่งชื่อ ศรีอยุธยา เหตุเอานามเมืองสมเด็จพระนารายน์อวตารมาประกอบเข้าทั้ง 3 นามประมวลเข้าด้วยกัน จึงเรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน” 

มีการวิเคราะห์และตีความของนักประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับต้านานของทางล้านนาหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่งประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ พระเจ้าพรหม และพระราชโอรสคือพระเจ้า   ศิริไชยเชียงแสน ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์ " ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งต่อมาท้าวแสนปมทรงย้ายมาสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่านสมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1317

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,246

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,489

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 18,901

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,494

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,102

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,421

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,535

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,642

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,880