ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,386

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)]

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง” มี 2 สาย คือ สายเหนือจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย สายใต้จากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร รวม ระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนทั้ง 3 เมืองต่างภูมิใจ เพราะถือเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทย ถนนพระร่วงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเขตเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มักได้คำตอบว่า ถนนสายนี้มีมานานแล้วเห็นกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเด็ก พร้อมกับมีเรื่องเล่าปรัมปราถึงพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว หรือบ้างก็ว่าพระร่วงเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ระหว่าวที่อยู่ในขบวนได้ใช้พระบาทข้างซ้าย ข้างขวาเกลี่ยดินเล่นพูนขึ้นเป็นถนน ส่วนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือพระยาลิไทกันแน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเป็น พระองค์แรกที่ได้สำรวจถนนพระร่วงโดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 2 กมุภาพันธ์ พ.ศ 2450 แล้วทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวที่ดีเล่มหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วยังมีสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปศศึกษาค้นคว้าได้หลายเรื่องราว  การสำรวจถนนพระร่วงในช่วงหลังได้มีการสำรวจกันกหลายครั้งค จากกรมศิลปากร นักวิชาการมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน และล่าสุดคณะนักเรียนและครูมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร ได้ร่วมกันถนนพระร่วงเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงสำรวจไว้เป็นครั้งแรก การสำรวจในครั้งหลังนี้ใช้บุคลากรในท้องถิ่น และอยู่ใกล้กลับแห่งประวัติศาสตร์มากที่สุด
          หลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ถนนพระร่วงเป็นถนนโบราณใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกคือจารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่เทวสถานในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึง พ.ศ. 2053 พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ให้คุ้มครองผู้คนและสัตว์ในเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งซ่อมแปลงพระมหาธาตุ วัดต่าง ๆ ทั้งในเมืองนอกเมือง และมีการซ่อมแซมถนนใหญ่ (ถนนถลา) ซึ่งชำรุดลบเลือนไปแล้วถึงเมืองบางพาน ด้วยความสนใจในสภาพของถนนพระร่วงโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงออกสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ โดยเริ่มต้นที่ป้อมวัดช้าง พร้อมแผนที่ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เพื่อหาร่องรอยของถนนพระร่วงสายใต้จากเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองบางพานถึงเมืองสุโขทัยจากวัดช้าง เดินเท้าผ่านทุ่งนา ไร่กล้วยไข่ ยังไม่มีร่องรอยของถนนพระร่วงปรากฏให้เห็น เพราะถูกร้อถอนทำลายจนสิ้นสภาพไปหมดแล้ว ย่ำต่อไปด้วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยและท้อใจกลับจะไม่พบแนวคันดินถนนโบราณที่อุตส่าห์ ดั้นด้นออกค้นหา เดินจากวัดช้างไปได้ประมาณ 5 กิโลเมตร พบวัดเก่ารกร้างไม่ได้บูรณตกแต่ง มีป้ายชื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวัดอาวาสน้อย จึงเข้าไปสำรวจเที่ยวชมได้พบร่องรอยของโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัดได้พบคันดินถมสูงขึ้นจากพื้นราบ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร มีระยะยาวเพียง 50 เมตร ชาวบ้านแถวนั้นยืนยันว่าเป็นคันดินของถนนพระร่วงอย่างแท้จริง ณ ที่บริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดร.ไพฑูรย์  มีกุศล เคยมาสำรวจแล้วบันทึกเอาไว้พบวา่มีคันดินเป็นแนวถนนประมาณ 200เมตร แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาถูกทำลายไปจนเกือบหมดแล้ว
           แนวของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองสุโขทัย ถ้ายึดตามแผนที่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเริ่มต้นจากป้อมวัดช้างที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทางเหนือผ่านวัดช้าง วัดอาวาสน้อย บ้านบ่อสามแสน เมืองบางพาน เชิงเขานางทอง บ้านพรานกระต่ายใต้ (วัดไตรภูมิ) บ้านพรานกระต่ายเหนือ เข้าสู่บ้านเหมืองหาดทราย เมืองคีรีมาศ ไปจนถึงเมืองสุโขทัย รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ได้สำรวจพบแท่งศิลาแลงปักอยู่บนเนินดิน มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาหักพังถมอยู่ นักวิชาการทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศาลาที่พักริมทาง ถัดไปไม่ไกลมองเห็นซากโบราณสถานอยู่กลางบ่อลูกรังขนาดใหญ่ที่ถูกขุดลงไปจนลึกมาก อยากที่จะเข้าไปดู เห็นแล้วรู้สึกเสียดายเพราะคงไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทำให้ไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของถนนพระร่วงกับโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถือเป็นตัวอย่างอันสำคัญของความเห็นแก่ได้ของคนในยุนี้ที่กล้าทำลายความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษลงได้อย่างไร้จิตสำนึก

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, ถนนพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1311

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,691

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,904

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,481

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,741

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,097

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,442

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,485

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,807

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,130

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,416