สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 4,057

[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ]

           ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือ เมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4  ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
          1. หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้คัดลอกข้อความในหน้า 153-155 มาเสนอดังนี้ “เมื่อได้ตรวจเรื่องเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารเหนือแล้ว ก็ควรตรวจดูเรื่องราวของเมืองนั้น ที่มีอยู่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสืบไป จำเดิมเริ่มที่จะกล่าวถึงเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารกรุงเก่าก็มีอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ปรากฏอยู่ว่าในสมัยนั้นมีพระยาประเทศราชขึ้น 16 เมือง และเมืองสวรรคโลกเป็นเมืองประเทศราชเมืองหนึ่ง ต่อนี้มานามเมืองสวรรคโลกก็หายไปนาน แต่ใช่ว่าตัวเมืองนั้นจะวิบัติสูญไป เป็นแต่จะเรียกชื่อแปลกไปจนจำไม่ได้เท่านั้น คือ ข้าพเจ้าเชื่อตามความเห็นของท่านนักเลงโบราณคดีบางท่าน ว่าเมืองชากังราวที่กล่าวถึงในพงศาวดารกรุงเก่าเป็นหลายครั้งนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือเมืองสวรรคโลกนั่นเอง พิเคราะห์ดูตามข้อความในพงศาวดาร ซึ่งมีอยู่ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 3 ครั้ง คือจุลศักราช 735 ปีฉลู เบญจศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว พระยาชัยแก้ว พระยากำแหงเจ้าเมืองออกต่อรบพระยาชัยแก้วตาย แต่พระยกำแหงและไพร่พลหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็ยกกลับคืนพระนครนี่เป็นครั้งที่ 1 จุลศกัราช 738 ปีมะโรง อัฐศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว ได้พระยากำแหงกับท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวงไม่สำเร็จเลิกหนีไป ทัพหลวงตีทัพผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วก็เลิกทัพหลวงกลับพระนคร นี้เป็นครั้งที่ 2 จุลศักราช 740 ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ไปเอาชากังราวอีกเป็นครั้งที่ 3 ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบงัคม ตรวจดูกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ ได้ความงอกออกไปอีกว่าขุนหลวงพงั่วได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง 1 เป็นครั้งที่ 4 เมื่อจุลศกัราช 750 ปีมะโรง สัมฤทธิ์ศก ครั้งนี้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงพระประชวรหนักต้องเสด็จกลับ  ตามข้อความเหล่านี้พึงเข้าใจได้อยู่แล้วว่า เมืองชากังราวมิใช่เมืองเล็กน้อย เป็นเมืองสำคัญอันหนึ่ง  แต่เมื่อก่อนได้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐมานั้น ไม่มีผู้ใดเดาได้เลยว่าเมืองชากังราวคือเมืองใด อยู่แห่งหนตำบลใด มาได้หนทางเดาในพงศาวดารฉบับที่กล่าวแล้วนั้น คือแห่งหนึ่งมีข้อความกล่าวไว้ว่า  “ศักราช 813 มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลยยกทัพกลับคืน” ดังนี้จึงเป็นเครื่องนำให้สันนิษฐานเมืองชากังราวนั้น คือเมืองสวรรคโลก  เพราะปรากฏว่ามหาราช (เมืองเชียงใหม่) ได้ชากังราว แล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย ต้องเข้าใจว่าเป็นเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ถ้าจะนึกถึงทางที่เดินก็ดูถูกต้องดี แต่เหตุไฉนจึงเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่า ชากังราว ข้อนี้ยังแปลไม่ออก เมืองสวรรคโลกนี้ถึงแม้เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นแล้ว ใช่ว่าจะเสียอิสรภาพ ยังคงเป็นเมืองมีกษัตริย์ครองเรื่อยมา แม้พระมหาธรรมราชาได้ออกมาถวายบังคมขุนหลวงพะงั่วแล้ว เมืองก็ยังคงเป็นเมืองมีอิสรภาพอยู่ เพราะในสมัยนั้นไม่สู้จะฝักใฝ่ในเรื่องอาณาเขตนัก  ต้องการแต่เรื่องคนเท่านั้น แต่วงศ์กษัตริย์ครองสวรรคโลกจะได้สูญไปเมื่อใดแน่ก็ไม่ปรากฏ” จากข้อความทั้งหมดที่คัดลอกมานั้น สรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง วินิจฉัยในครั้งที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 4 ครั้งนั้น หมายถึงเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลก                  
            2. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ว่าได้ทรงยึดเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ได้ ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมาครอบครอง พระยาลิไทต้องยินยอมและต้องส่งบรรณาการเป็นอันมาก ในเวลาต่อมาพระยาลิไทได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้คืนเมืองพิษณุโลกให้กับพระยาลิไท ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเคยครองเมืองพิษณุโลกกลับไปครองเมืองสุพรรณบุรีตามเดิม พระยาลิไทครองเมืองพิษณุโลก ทรงตั้งพระมหาเทวีซึ่งเป็นขนิษฐาครองเมืองสุโขทัย และทรงตั้งติปัญญาอำมาตย์ (หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระยาญาณดิส) ครองเมืองกำแพงเพชร ในช่วงครองเมืองกำแพงเพชรอยู่นั้น พระยาญาณดิสได้ยินยอมให้พระมารดาไปเป็นมเหสีแก่สมเด็จพระบรมราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งขณะนั้นได้ครองกรุงศรีอยุธยา และพระมารดานั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปานของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) มาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
            3.  ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 576-579 มีข้อความสรุป ได้ว่า จุลศักราช 762 (พ.ศ.1943) ท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเคยหลบหนีเจ้าเมืองเชียงใหม่มา พึ่งพาพระยาญาณดิสที่เมืองกำแพงเพชร ไปนำทหารแปดหมื่นจากเชียงใหม่มาล้อมเมืองกำแพงเพชรไว้ให้พระสุคันธเถระเข้าเจรจาขอให้พระยาญาณดิสยอมถวายพระแก้วมรกตให้กับท้าวมหาพรหม พระยาญาณดิสเห็นจะสู้รบไม่ได้ จึงแต่งบรรณาการเครื่องช้างอย่างดีส่งไปถวายแด่ท้าวมหาพรหมขอเป็นทางราชไมตรีและยอมถวายพระแก้วมรกตให้ แต่ขอให้ท้าวมหาพรหมถอยทัพไปก่อนจึงจะส่งพระแก้วมรกตตามไปถวายภายหลัง เพราะว่ากองทัพจากกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระรามราชาธิราช กษตัริย์ องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) ยกทัพมาถึงปากน้ำโพแล้ว ถ้าเสด็จมาถึงก็จะไม่ได้พระแก้วมรกตไป ท้าวมหาพรหมจึงถอยทัพไปตั้ง ณ เมืองตาก ครั้นครบ 7 วัน พระเจ้าญาณดิสก็เชิญพระแก้วมรกตลงเรือ มอบให้พระสุคันธเถระไปถวายท้าวมหาพรหม จากหนังสือที่นำมาเสนอทั้ง 2 เรื่องนั้นสามารถที่จะกล่าวได้ว่า พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิสนั้น เป็นโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) และพระมารดานั้นเป็นมเหสีคนโปรดของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตมาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร ได้ นอกจากนั้นแล้ว พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิส ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ไม่น้อยกว่า 30 ปีตั้งแต่ปลายสมัยพระยาลิไทจนถึงสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) ไม่เคยยกทัพมายึดเมืองกำแพงเพชรแต่อย่างใด  

คำสำคัญ : สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1, ขุนหลวงพะงั่ว, กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1304

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1304&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 704

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,187

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,102

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,194

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,125

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,547

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 935

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,569

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 769

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,111