สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 7,398

[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร]

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหนง่พระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “พ.ศ. 2081 แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียง ในเดือน 6 นั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์เถิงเดือน 11 เสด็จไปเชียงกราน ถึงเดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เพลาค่ำ ประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนักหนา และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่า พระนารายณ์คิดขบถและให้กุมเอาพระนารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร 
           ปีจอ พ.ศ. 2081 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ยกทัพเข้ามารุกรานอาณาจักรไทย โดยเข้าโจมตี เมืองเชียงกราน ซึ่งพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นเมืองมอญ จึงมีพระราชประสงค์จะรวม เอาไว้ในราชอาณาจักรของพระองค์ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีได้เมืองเชียงกรานแล้ว ความก็ทราบถึง สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงได้เสด็จยกทัพหลวงพร้อมด้วยทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่เข้ามาทำการค้าอยู่ในกรุงศรีอยุธยาไปทำศึกกับพม่า และสามารถตีเอาเมืองเชียงกรานกลับคืนมา การสงครามครังนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยกับพม่าเป็นศัตรูกันต่อมา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ยกกองทับกลับมาถึงเมืองกำแพงเพชร และในการเสด็จยกทัพไปสกัดกั้นการรุกรานนของพม่าครั้งนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราช ทรงทราบว่า พระนารายณ์หรือพระยากำแพงเพชรเอาใจออกห่างฝักใฝ่กับพม่า โดยประพฤติตนเป็นสายให้พม่า จึงได้ทรงลงพระอาญาประหารพระยากำแพงเพชรเสีย สงครามระหว่างไทยพับพม่าครั้งแรกที่เมืองเชียงกรานเกิดขึ้นจากการสินสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิดการแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงรวบรวมพมา่ขึ้นใหม่ท่ี่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอูขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโคหรือหงสาวดี ซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมืองเชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกทัพกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ.2081 ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานจากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จไปเมืองไกรเชียงกรน
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่จำนวนทหารที่ยำไปนี้มีทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย 120 คน ทั้งนี้ตามความเห็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่น ๆ ในเวลานั้น แต่ถ้าพิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา 120 คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนาในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดี น่าจะมีทหารอาสาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วย ผลของสงครามไทย-พมา่ ครั้งแรกนี้คือไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้  
           มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองไทย เป็นบันทึกของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต ชาวโปรตุเกส เรื่อง “การเดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต (the travels, voyages and adventures of Ferdinand mendez pinto) ซึ่งมีข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเมืองกำแพงเพรช ดังนี้  
            ...เริ่มด้วยศึกเชียงกราน เราออกเดินทาง 26 วัน ก็มาถึงกรุงศรีอยุธยาราชธานีของอาณาจักรโสน ปกติเรียกว่าสยาม ได้รับการต้อนรับอย่างน่าพิศวรและได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากพวกโปรตุเกส จากที่นั่นข้าพเจ้าอาจสามารถเดินทางต่อไปยังญี่ปุ่นได้โดยไปในกลุ่มเรือโปรตุเกส 6 หรือ 7 ลำ ข้าพเจ้าลงมือทำบัญชีรายการสินค้าเป็นเงินหลายร้อยดูคัตส์ ในเวลาเดียวกันก็มีข่าวสำคัญมาถึงพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงศรีอยุธยา ว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพวกทิโมคูโฮ (Timncuho) เจ้าเมืองลาว เจ้าเมืองเงี้ยว ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เหนือเมืองกำแพงเพชรและพิษณุโลก คนเหล่านั้นได้มาล้อมเมืองกีเตรวน (Quiteruan) (กำแพงเพชร) ไว้ และได้สังหารผู้คนล้มตายไปกว่า 30,000 คน รวมทั้งออกญากำแพงเพชร ผู้สำเร็จราชการและนายทัพของชายแดนนั้นด้วย เมื่อทราบข่าวนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลทุกคนที่ไม่ใช่คนชราและคนพิการให้พร้อมที่จะออกทัพภายในเวลา 12 วัน
            พ.ศ. 2088 พระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยามาตีเชียงใหม่ มหาเทวีเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาธิการไปถวายและต้อนรับด้วยสัมพันธไมตรี โดยเชิญเสด็จพระไชยราชาประทับที่เวียงเจ็ดลิน ทำให้เชียงใหม่รอดพ้นจากภัยสงครามในครั้งนั้น การยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2088 ทรงโปรดให้พระยาพิษณุโลก เป็นแม่ทัพยกพลออกไปตั้งทัพชัย (ตั้งทัพทำพิธีชัยชนะ) อยาที่ตำบลบางบาล พอวันเสาร์ เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ พระองค์จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยขึ้นเหนือโดยทางเรือกว่า 3,000 ลำ มีทหารหลายแสนคน และมีทหารช่างชาติอย่างโปตุเกสร่วมมาด้วยนับหมื่นคน ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยกขึ้นแม่น้ำปิงที่นครสวรรค์ ไปประทับที่บรรพตพิสัย ซึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเพชรที่ถูกยึดโดยพวกเงี้ยวที่นำโดยเจ้าเมืองนายประมาณ 12 ลี้ เพื่อรอทัพช้างพันเชือก ทัพม้าและเกวียนที่บรรทุกปืนใหญ่สองร้อยเล่มซึ่งตามมาทางบก เพราะก่อนที่จะถึงเมืองเชียงใหม่นั้น กองทัพของกรุงศรีอยุธยาจะต้องผ่านเมืองกำแพงเพชรที่เป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องการช้างกับปืนใหญ่ในการที่จะยึดกำแพงเพชรกลับคืน ในระหว่างที่ประทับรออยู่ที่บรรพตพิสัยนั้น ทรงได้รับรายงานของกองลาดตระเวนว่าท่านฝ่ายเงี้ยวยึดครองเมืองกำแพงเพชรได้เตรียมการป้องกันเมืองเอาไว้อย่างเข้มแข็ง มีเรือรอบสองพันลำดักรออยู่สองฝากฝั่งแม่น้ำปิง และมีทหารอีกหลายแสนคน และอีก 40,000 คน นั่งรออยู่บนหลังม้า แต่ทหารของข้าศึกไม่มีช้าง
            ณ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เคลื่อนทัพออกจากบรรพตพิสัยมุ่งหน้าสู่เมืองกำแพงเพชร โดยใช้เวลาในการเดินทาประมาณ 4 ลี้ต่อวัน ในวันที่ 3 กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จมาหยุดทัพที่ทุ่งแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ศรีพุทไธ (SIPUTAY) น่าจะหมายถึงท่านพุทรา) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรประมาณลี้ครึ่ง หลังจากทหารจำนวนมหาศาลกับช้างศึกทั้งปวงเข้าประจำที่มั่น นายกองต่างชาติและแม่ทัพชาวโปตุเกสจึงได้นำเคลื่อนพลไปยังเมืองกำแพงเพชรและไปถึงเมืองกำแพงเพชรก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น โดยมีทหารเงี้ยวที่ยึดครองเมืองกำแพงเพรได้เตรียมพร้อมกับการรับมือของกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงทหารเงี้ยวได้เคลื่อนพลเข้ามาอย่างเชื่อมั่นในกองทัพม้าสี่หมื่นตัวอันเกรียงไกร และสามารถเอาชนะทหารของกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และสามารถฆ่าแม่ทัพนายกองที่มีเชื้อพระวงศ์ได้ 3 องค์ ทำให้สมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราชต้องเปลี่ยนกระบวนทัพใหม่ โดยสั่งให้ทหารของพระองค์เข้ามารวมเป็นกองเดียว ซึ่งประกอบด้วยทหารอาสาต่างชาติ 70,000 คน กองทัพช้าง 4,000 เชือก แล้วบุกตะลุยที่มั่นของข้าศึก และโดยแสนยานุภาพอันมหาศาลนี้ กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็สามารถเอาชนะข้าศึกษาได้ ทำให้กองทัพของข้าศึกแตกกระจายไพร่พล เงี้ยวแพ้ศึกยับเยิน หลังจากได้ชัยชนะทางบกแล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชตามไล่กองทัพเงี้ยวไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งมีทหารเงี้ยวหนีไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากมายและทหารเหล่านี้มีกองทัพเรือคอยคุ้นกัน ทำให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชไม่กล้าที่จะเข้าโจมตี เมื่อถึงเวลากลางคืนกองทัพเงี้ยวก็คือโอกาสถอยทัพหนีไปตามแม่น้ำ
            พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 7 เสด็จตั้งทัพขึ้น ณ เมืองกำแพงเพชร” หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับชัยชนะในการศึกยึดเมืองกำแพงเพชรกับคืนมาได้แล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งให้สร้างกำแพงและป้อมปราการขึ้นเพื่อให้เมืองเป็นที่มั่นแข็งแรง ในช่วงนั้นเมืองเชียงใหม่ได้เกิดความวุ่นวายเรื่องเจ้าผู้ครองเมือง สมเด็จพระไชยราชาได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบปราม แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระนางจิรประภามหาเทวีขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แล้ว ครั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปถึงพระนางจิรประภาได้ต้อนรับและแสดงไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเหตุการณ์จึงสงบลงตลอด 7 ปี
            ช่วงเวลา 7 ปี พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ทำสงครามปราบปรามหัวเมืองใกล้เคียงได้ ดินแดนมอญ พม่า และไทยใหญ่ ไว้ในอำนาจมากมาย และทำการตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานี แต่ในพงศาวดารเรียกพระเจ้าพระเบงชะเวตี้ด้วยเหตุที่พม่ามีอำนาจเข้ามายังดินแดนไทยใหญ่ทางตอนเหนือ จึงทำให้เมืองเชียงใหม่หันไปอ่อนน้อมกับพม่า สมเด็จไชยราชาธิราช เห็นว่าหากปล่อยให้เมืองเชียงใหม่นั้นไปอยู่กับพม่าเช่นนี้แล้วต่อไปจะเป็นช่องทางให้พม่าลงมารุกรานอาณาจักรได้ จึงมุ่งที่จะทำการปราบหัวเมืองทางเหนือให้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงยกทัพตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียให้ได้ ในพ.ศ. 2089 พระไชยราชาได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนอีกครั้ง มหาเทวีพยายามเจรจาขอเป็นไมตรี แต่ไม่สำเร็จเมืองลำพูนถูกตีแตกในขณะที่เมืองเชียงใหม่สามารถต้านทัพอยุธยาไว้ได้ กองทัพอยุธยาจึงล่าถอยไป ดังพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 เสด็จออกตั้งทัพชัย เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ระหว่างการเดินทางทัพไปเชียงใหม่พระองค์ได้ตีเมืองต่าง ๆ ระหว่างทางถึง 12 เมือง ในการศึกครั้งนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้พระยาสุโขทัยนำทัพหน้าพร้อมกับอาวุธเดินทางมาตั้งทัพรออยู่ที่ปากน้ำลำพูน เมื่อทัพหลวงมาถึงจึงได้มีการเจรจาความเมืองให้พระมหาเทวีเจ้าจิรประภาให้ออกมาเจรจาความเมือง แต่ในที่สุดกองทัพสุโขทัยก็ตีลำพูนได้ เมื่อตีลำพูนได้แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ยกกองทัพออกมาตั้งอยู่นอกเมือง เพราะเมืองลำพูนถูกเผาพินาศ ยากที่จะตั้งทัพได้ หลังจากตั้งทัพอยู่ได้ 3 วัน ก็ทรงตัดสินพระทัยยกทัพกลับไปเมืองกำแพงเพชร โดยให้กองทัพของพระยาสุโขทัย กองทัพพระยากำแพงเพชร และกองทัพพระยาพิจิตร อยู่ทำศึกกับกองทัพล้านนา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราชถอยทัพกลับไปประทับที่เมืองกำแพงเพชร และประทับอยู่ 23 วัน ซึ่งในระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองกำแพงเพชรนั้น ทรงให้เสริมกำแพงและขุดคูลึกและกว้างรอบ ๆ เมือง ในช่วงที่ประทับอยู่กำแพงเพชรมีเหตุการณ์ประหาดเกิดขึ้นดังบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า “วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนและวัดทั้งปวง ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล”  มีการวิจารณ์เป็นลางว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชกำลังมีเคราะห์ หรือกองทัพหัวเมืองเหนอกำลังจะถูกกองทัพจากล้านนาผสมกองทัพล้านช้างทำลาย แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรต่ออีกหลายวันจนพระองค์พอพระทัยว่าป้อมปราการต่าง ๆ ทำทำเลียนแบบป้อมของฝรั่งที่ใช้ศิลาแลงมาก่อเป็นกำแพง มีใบเสมา ช่องปืนได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง และเมืองกำแพงเพชรสามารถห้องกันตัวเองได้เมื่อถูกรุกราน พระองค์ก็เสด็จกับกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสามพันลำ ที่เสด็จพยุหยาตรามาจากกรุงศรีอยุธยา จากเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นลางร้ายอย่างแท้จริง เพราะเมื่อเสด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาก็ถูกลอบวางยาพิษ ส่วนแม่ทัพเมืองเหนือที่ไปศึกสงครามเชียงใหม่ต่างแตกถอยทัพ พระยาสุโขทัยพ่ายแต่หนี พระยากำแพงเพชรและพระยาพิจิตรตายในที่รบ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, สมเด็จพระไชยราชาธิราช

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1303&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1303&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,278

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,603

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,618

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,426

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,286

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,984

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,295

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,909

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,788

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,583