สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 7,603

[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร]

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหนง่พระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “พ.ศ. 2081 แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียง ในเดือน 6 นั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์เถิงเดือน 11 เสด็จไปเชียงกราน ถึงเดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เพลาค่ำ ประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนักหนา และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่า พระนารายณ์คิดขบถและให้กุมเอาพระนารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร 
           ปีจอ พ.ศ. 2081 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ยกทัพเข้ามารุกรานอาณาจักรไทย โดยเข้าโจมตี เมืองเชียงกราน ซึ่งพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นเมืองมอญ จึงมีพระราชประสงค์จะรวม เอาไว้ในราชอาณาจักรของพระองค์ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีได้เมืองเชียงกรานแล้ว ความก็ทราบถึง สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงได้เสด็จยกทัพหลวงพร้อมด้วยทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่เข้ามาทำการค้าอยู่ในกรุงศรีอยุธยาไปทำศึกกับพม่า และสามารถตีเอาเมืองเชียงกรานกลับคืนมา การสงครามครังนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยกับพม่าเป็นศัตรูกันต่อมา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ยกกองทับกลับมาถึงเมืองกำแพงเพชร และในการเสด็จยกทัพไปสกัดกั้นการรุกรานนของพม่าครั้งนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราช ทรงทราบว่า พระนารายณ์หรือพระยากำแพงเพชรเอาใจออกห่างฝักใฝ่กับพม่า โดยประพฤติตนเป็นสายให้พม่า จึงได้ทรงลงพระอาญาประหารพระยากำแพงเพชรเสีย สงครามระหว่างไทยพับพม่าครั้งแรกที่เมืองเชียงกรานเกิดขึ้นจากการสินสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิดการแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงรวบรวมพมา่ขึ้นใหม่ท่ี่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอูขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโคหรือหงสาวดี ซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมืองเชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกทัพกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ.2081 ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานจากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จไปเมืองไกรเชียงกรน
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่จำนวนทหารที่ยำไปนี้มีทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย 120 คน ทั้งนี้ตามความเห็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่น ๆ ในเวลานั้น แต่ถ้าพิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา 120 คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนาในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดี น่าจะมีทหารอาสาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วย ผลของสงครามไทย-พมา่ ครั้งแรกนี้คือไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้  
           มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองไทย เป็นบันทึกของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต ชาวโปรตุเกส เรื่อง “การเดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต (the travels, voyages and adventures of Ferdinand mendez pinto) ซึ่งมีข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเมืองกำแพงเพรช ดังนี้  
            ...เริ่มด้วยศึกเชียงกราน เราออกเดินทาง 26 วัน ก็มาถึงกรุงศรีอยุธยาราชธานีของอาณาจักรโสน ปกติเรียกว่าสยาม ได้รับการต้อนรับอย่างน่าพิศวรและได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากพวกโปรตุเกส จากที่นั่นข้าพเจ้าอาจสามารถเดินทางต่อไปยังญี่ปุ่นได้โดยไปในกลุ่มเรือโปรตุเกส 6 หรือ 7 ลำ ข้าพเจ้าลงมือทำบัญชีรายการสินค้าเป็นเงินหลายร้อยดูคัตส์ ในเวลาเดียวกันก็มีข่าวสำคัญมาถึงพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงศรีอยุธยา ว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพวกทิโมคูโฮ (Timncuho) เจ้าเมืองลาว เจ้าเมืองเงี้ยว ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เหนือเมืองกำแพงเพชรและพิษณุโลก คนเหล่านั้นได้มาล้อมเมืองกีเตรวน (Quiteruan) (กำแพงเพชร) ไว้ และได้สังหารผู้คนล้มตายไปกว่า 30,000 คน รวมทั้งออกญากำแพงเพชร ผู้สำเร็จราชการและนายทัพของชายแดนนั้นด้วย เมื่อทราบข่าวนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลทุกคนที่ไม่ใช่คนชราและคนพิการให้พร้อมที่จะออกทัพภายในเวลา 12 วัน
            พ.ศ. 2088 พระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยามาตีเชียงใหม่ มหาเทวีเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาธิการไปถวายและต้อนรับด้วยสัมพันธไมตรี โดยเชิญเสด็จพระไชยราชาประทับที่เวียงเจ็ดลิน ทำให้เชียงใหม่รอดพ้นจากภัยสงครามในครั้งนั้น การยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2088 ทรงโปรดให้พระยาพิษณุโลก เป็นแม่ทัพยกพลออกไปตั้งทัพชัย (ตั้งทัพทำพิธีชัยชนะ) อยาที่ตำบลบางบาล พอวันเสาร์ เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ พระองค์จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยขึ้นเหนือโดยทางเรือกว่า 3,000 ลำ มีทหารหลายแสนคน และมีทหารช่างชาติอย่างโปตุเกสร่วมมาด้วยนับหมื่นคน ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยกขึ้นแม่น้ำปิงที่นครสวรรค์ ไปประทับที่บรรพตพิสัย ซึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเพชรที่ถูกยึดโดยพวกเงี้ยวที่นำโดยเจ้าเมืองนายประมาณ 12 ลี้ เพื่อรอทัพช้างพันเชือก ทัพม้าและเกวียนที่บรรทุกปืนใหญ่สองร้อยเล่มซึ่งตามมาทางบก เพราะก่อนที่จะถึงเมืองเชียงใหม่นั้น กองทัพของกรุงศรีอยุธยาจะต้องผ่านเมืองกำแพงเพชรที่เป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องการช้างกับปืนใหญ่ในการที่จะยึดกำแพงเพชรกลับคืน ในระหว่างที่ประทับรออยู่ที่บรรพตพิสัยนั้น ทรงได้รับรายงานของกองลาดตระเวนว่าท่านฝ่ายเงี้ยวยึดครองเมืองกำแพงเพชรได้เตรียมการป้องกันเมืองเอาไว้อย่างเข้มแข็ง มีเรือรอบสองพันลำดักรออยู่สองฝากฝั่งแม่น้ำปิง และมีทหารอีกหลายแสนคน และอีก 40,000 คน นั่งรออยู่บนหลังม้า แต่ทหารของข้าศึกไม่มีช้าง
            ณ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เคลื่อนทัพออกจากบรรพตพิสัยมุ่งหน้าสู่เมืองกำแพงเพชร โดยใช้เวลาในการเดินทาประมาณ 4 ลี้ต่อวัน ในวันที่ 3 กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จมาหยุดทัพที่ทุ่งแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ศรีพุทไธ (SIPUTAY) น่าจะหมายถึงท่านพุทรา) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรประมาณลี้ครึ่ง หลังจากทหารจำนวนมหาศาลกับช้างศึกทั้งปวงเข้าประจำที่มั่น นายกองต่างชาติและแม่ทัพชาวโปตุเกสจึงได้นำเคลื่อนพลไปยังเมืองกำแพงเพชรและไปถึงเมืองกำแพงเพชรก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น โดยมีทหารเงี้ยวที่ยึดครองเมืองกำแพงเพรได้เตรียมพร้อมกับการรับมือของกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงทหารเงี้ยวได้เคลื่อนพลเข้ามาอย่างเชื่อมั่นในกองทัพม้าสี่หมื่นตัวอันเกรียงไกร และสามารถเอาชนะทหารของกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และสามารถฆ่าแม่ทัพนายกองที่มีเชื้อพระวงศ์ได้ 3 องค์ ทำให้สมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราชต้องเปลี่ยนกระบวนทัพใหม่ โดยสั่งให้ทหารของพระองค์เข้ามารวมเป็นกองเดียว ซึ่งประกอบด้วยทหารอาสาต่างชาติ 70,000 คน กองทัพช้าง 4,000 เชือก แล้วบุกตะลุยที่มั่นของข้าศึก และโดยแสนยานุภาพอันมหาศาลนี้ กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็สามารถเอาชนะข้าศึกษาได้ ทำให้กองทัพของข้าศึกแตกกระจายไพร่พล เงี้ยวแพ้ศึกยับเยิน หลังจากได้ชัยชนะทางบกแล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชตามไล่กองทัพเงี้ยวไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งมีทหารเงี้ยวหนีไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากมายและทหารเหล่านี้มีกองทัพเรือคอยคุ้นกัน ทำให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชไม่กล้าที่จะเข้าโจมตี เมื่อถึงเวลากลางคืนกองทัพเงี้ยวก็คือโอกาสถอยทัพหนีไปตามแม่น้ำ
            พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 7 เสด็จตั้งทัพขึ้น ณ เมืองกำแพงเพชร” หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับชัยชนะในการศึกยึดเมืองกำแพงเพชรกับคืนมาได้แล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งให้สร้างกำแพงและป้อมปราการขึ้นเพื่อให้เมืองเป็นที่มั่นแข็งแรง ในช่วงนั้นเมืองเชียงใหม่ได้เกิดความวุ่นวายเรื่องเจ้าผู้ครองเมือง สมเด็จพระไชยราชาได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบปราม แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระนางจิรประภามหาเทวีขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แล้ว ครั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปถึงพระนางจิรประภาได้ต้อนรับและแสดงไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเหตุการณ์จึงสงบลงตลอด 7 ปี
            ช่วงเวลา 7 ปี พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ทำสงครามปราบปรามหัวเมืองใกล้เคียงได้ ดินแดนมอญ พม่า และไทยใหญ่ ไว้ในอำนาจมากมาย และทำการตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานี แต่ในพงศาวดารเรียกพระเจ้าพระเบงชะเวตี้ด้วยเหตุที่พม่ามีอำนาจเข้ามายังดินแดนไทยใหญ่ทางตอนเหนือ จึงทำให้เมืองเชียงใหม่หันไปอ่อนน้อมกับพม่า สมเด็จไชยราชาธิราช เห็นว่าหากปล่อยให้เมืองเชียงใหม่นั้นไปอยู่กับพม่าเช่นนี้แล้วต่อไปจะเป็นช่องทางให้พม่าลงมารุกรานอาณาจักรได้ จึงมุ่งที่จะทำการปราบหัวเมืองทางเหนือให้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงยกทัพตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียให้ได้ ในพ.ศ. 2089 พระไชยราชาได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนอีกครั้ง มหาเทวีพยายามเจรจาขอเป็นไมตรี แต่ไม่สำเร็จเมืองลำพูนถูกตีแตกในขณะที่เมืองเชียงใหม่สามารถต้านทัพอยุธยาไว้ได้ กองทัพอยุธยาจึงล่าถอยไป ดังพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 เสด็จออกตั้งทัพชัย เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ระหว่างการเดินทางทัพไปเชียงใหม่พระองค์ได้ตีเมืองต่าง ๆ ระหว่างทางถึง 12 เมือง ในการศึกครั้งนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้พระยาสุโขทัยนำทัพหน้าพร้อมกับอาวุธเดินทางมาตั้งทัพรออยู่ที่ปากน้ำลำพูน เมื่อทัพหลวงมาถึงจึงได้มีการเจรจาความเมืองให้พระมหาเทวีเจ้าจิรประภาให้ออกมาเจรจาความเมือง แต่ในที่สุดกองทัพสุโขทัยก็ตีลำพูนได้ เมื่อตีลำพูนได้แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ยกกองทัพออกมาตั้งอยู่นอกเมือง เพราะเมืองลำพูนถูกเผาพินาศ ยากที่จะตั้งทัพได้ หลังจากตั้งทัพอยู่ได้ 3 วัน ก็ทรงตัดสินพระทัยยกทัพกลับไปเมืองกำแพงเพชร โดยให้กองทัพของพระยาสุโขทัย กองทัพพระยากำแพงเพชร และกองทัพพระยาพิจิตร อยู่ทำศึกกับกองทัพล้านนา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราชถอยทัพกลับไปประทับที่เมืองกำแพงเพชร และประทับอยู่ 23 วัน ซึ่งในระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองกำแพงเพชรนั้น ทรงให้เสริมกำแพงและขุดคูลึกและกว้างรอบ ๆ เมือง ในช่วงที่ประทับอยู่กำแพงเพชรมีเหตุการณ์ประหาดเกิดขึ้นดังบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า “วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนและวัดทั้งปวง ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล”  มีการวิจารณ์เป็นลางว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชกำลังมีเคราะห์ หรือกองทัพหัวเมืองเหนอกำลังจะถูกกองทัพจากล้านนาผสมกองทัพล้านช้างทำลาย แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรต่ออีกหลายวันจนพระองค์พอพระทัยว่าป้อมปราการต่าง ๆ ทำทำเลียนแบบป้อมของฝรั่งที่ใช้ศิลาแลงมาก่อเป็นกำแพง มีใบเสมา ช่องปืนได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง และเมืองกำแพงเพชรสามารถห้องกันตัวเองได้เมื่อถูกรุกราน พระองค์ก็เสด็จกับกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสามพันลำ ที่เสด็จพยุหยาตรามาจากกรุงศรีอยุธยา จากเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นลางร้ายอย่างแท้จริง เพราะเมื่อเสด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาก็ถูกลอบวางยาพิษ ส่วนแม่ทัพเมืองเหนือที่ไปศึกสงครามเชียงใหม่ต่างแตกถอยทัพ พระยาสุโขทัยพ่ายแต่หนี พระยากำแพงเพชรและพระยาพิจิตรตายในที่รบ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, สมเด็จพระไชยราชาธิราช

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1303

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1303&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,288

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 945

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,740

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,619

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,398

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,790

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,156

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,872

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,507

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,427