บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,569

[16.3937891, 98.9529695, บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด]

           เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า) ทางใต้ไหม้ไปสิ้นสุดบริเวณตลาดสดเย็น เรียกกันว่าตลาดสดไฟไหม้ ทางเหนือริมฝั่งน้ำปิงไหม้ไปถึงบ้านนายระไว ร้านซ่อมจักยานหน้าวัดเสด็จ ส่วนฝั่งเดียวกับบ้านต้นเพลิง คือด้านริมแม่น้ำปิง ทางใต้ไฟไหม้จากบ้านต้นเพลิงถึงร้านขายก๋วยเตี๋ยวยายพยุง (ร้านก๋วยเตี๋ยวถั่วฝักยาวด้านใต้ตลาดไนท์ปัจจุบัน) ซึ่งไม่มีบ้านผู้คนมาก (ปัจจุบันคงเหลือร้านตัดผมห้องแถวไม้ไว้เป็นที่ระลึก) เพราะเป็นริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศเหนือ ไฟไหม้จากบ้านฝั่งตรงข้ามต้นเพลิงขึ้นไปจนถึงรั้ววัดเสด็จ ประชาชนอลหม่านมาก ส่วนใหญ่ขนของลงไปหาดทราย บางรายลูกไฟตามไปไหม้อีก
            ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิงด้านใต้ ที่ถูกไฟไหม้ ได้แก่ ร้านยายพยุง ขายก๋วยเตี๋ยว บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์ (ลูกแม่นางจำนง ชูพินิจ ร้านเจ็กหงัง เจ๊ไฮ ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนายบุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน บ้านครูศรีสวัสดิ์ ม่วงผล ร้านเจ๊กฮ้อ ขายบะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่ ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วย ห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยาเจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่ากับยายเชย สกุล สุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนกของใช้ปีบใส่ของที่รับจำนำ บ้านยายแก่ขายกล้วยไข่สุก ใช้ตอกมักกล้วยเป็นมัด ๆ ยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง อมละ 10 สตางค์ และกล้วยมัน (ประมาณปี 2490) ถัดไปบ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาลวุ้น) ขายห้องแถวเป็นโรงแรมของอาโต้เจ๊กพง (คุณตาและคุณยายหมอโดมทำฟัน) บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชีโรงสีพรานกระต่าย เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง บ้านพี่ยีวิรัตน์ บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน   บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า ถัดไปเป็นบ้านตารอดยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน (คุณแม่เครือมาส จารุวัฒน์) ขี่จักรยาน ต่อไปบ้านยายช่วย 2 ชั้น เมียมหาขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง 2 ชั้น ขายของจิปาถะ บ้านยายพลอยตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้ 
            ทางฝั่งวัดเสด็จ เริ่มจากบ้านแม่รอด (แม่ ส.ส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้านยายเงินขายผักขายเมี่ยง บ้านเจ๊กท้งขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเกษม ยายทองดา สกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น (บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถงสองชั้น บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล (ครูสุพรรณลูกเขย ลูกสาว ครูเพ็ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้   ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่ ลูกหลวงภักดี บ้านแถวไม้ บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ปัจจุบันเป็นโรงแรมชากังราวริเวอร์วิว) ร้านตัดเสื้อผ้าโกวั้น ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ ถัดไปเป็นซอยวัดบางตรงข้ามกับท่าเรือ ถัดไปเป็นห้องแถวยายจู เจ๊กย้ง เจ้ส่ึง เป็นโรงแรมมีร้านอาหารอยู่ชั้นล่าง    โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง  โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงเหล้ากำแพงเพชร มาหยุดที่บ้านยายมดแดง ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
           ไฟไหม้ทั้งหมด เหตุการณ์ผ่านมา กว่า 50 ปี ความทรงจำเหล่านี้ สมควรได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ เพราะผู้คนที่เกิดทันพากันเลือนรางภาพเหล่านี้สิ้น วันที่ 26 เมษายน 2506 ผู้เขียนอายุ 15 ปี กำลังขึ้น ม.ศ.3 ที่โรงเรียนกำแพงเพชรวัชรราษฎร์วิทยาลัย บ้านอยู่ห่างจากไฟไหม้ เล็กน้อย (เยื้องโรงพยาบาลแพทย์บัณฑิตในปัจจุบัน) ความร้อนจากเปลวไฟมาถึงที่บ้านด้วย และได้อพยพผู้คน ข้าวของลงไปหาดทราย เช่นกัน มีโอกาสได้ขี่จักรยานไปดูไฟไหม้อย่างละเอียด ไหม้อยู่ทั้งวันทั้งคืน จนมอดสนิท ในวันที่ 28 เมษายน นับเป็นหายนะครั้งใหญ่สุดในเมืองกำแพงเพชร บริเวณไฟไหม้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางราชการห้ามมิให้ปลูกอาคารบ้านเรือน ต่อมามีการฟ้องร้องกัน ศาลตัดสินให้เจ้าของเดิมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเริ่มปลูกอาคารบ้านเรือนกันอีกครั้ง (ความจริง เมื่อขยายถนนเทศาออกมานั้นทับที่ดินบ้านเรือนไฟไหม้ไปหมดแล้ว เพราะใต้ถุนบ้านทุกหลัง เสาแช่อยู่ในแม่น้ำปิง ดูแนวเดิมของถนนเทศาได้บริเวณบ้านที่ไม่ถูกไฟไหม้)

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ไฟไหม้

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1298

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1298&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,426

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,536

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,999

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,110

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,508

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,458

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 15,181

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,720

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,090