บายศรีใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้ชม 1,508
[16.3858304, 99.5097984, บายศรีใหญ่]
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะ เป็นบายศรีที่มีขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชาม นิยมทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น และ 7 ชั้น หรือบางทีก็ทำถึง 9 ชั้น ด้วยเหตุว่านำคติเรื่องฉัตรมาเกี่ยวข้อง ซึ่งแท้จริงแล้วการทำบายศรีใหญ่หรือบายศรีต้นนี้ไม่มีการกำหนดชั้นตายตัว สุดแต่ผู้ทำจะเห็นว่าสวยงาม ถ้าทำชั้นมากก็ถือว่าเป็นเกียรติมากและในแต่ละชั้นของบายศรีมักใส่อาหาร ขนม ดอกไม้ ธูปเทียน ลงไปด้วย ปัจจุบันทั้งบายศรีปากชามและบายศรีใหญ่อาจจะใช้วัสดุอื่นๆ แทนใบตองซึ่งหาได้ยากขึ้น เช่น ใช้ผ้า กระดาษหรือวัสดุเทียมอื่นๆ ที่คล้ายใบตองมาตกแต่ง แต่รูปแบบโดยทั่วไป ก็ยังคงลักษณะบายศรีอยู่
การใช้งาน บายศรีต้นจะใช้สำหรับผู้ที่มีศักดินาสูง ใช้ในพิธีสู่ขวัญโดย ครูบาอาจารย์ได้กำหนดไว้ดังนี้
---บายศรีต้น 3 ชั้น ใช้เป็นเครื่องสมโภช สังเวยในพิธีมงคลต่างๆ หรือสู่ขวัญในพิธีสมรส ของชั้นหลาน เจ้านายฝ่ายเหนือ ใช้ในพิธีสมรสของชั้นหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ
---บายศรีต้น 5 ชั้น ใช้ในพิธีต่าง ๆ สำหรับเจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี บายศรีต้นนี้เป็น บายศรีที่เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า บายศรีตองรองทองขาว ซึ่งแต่ละชั้นของบายศรีจะบรรจุด้วยขนมหวาน หรือดอกไม้ที่มีชื่อ เป็นมงคล
---บายศรีต้น 7 ชั้นใช้สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บายศรีต้นกลีบหน้านาคแต่ละชั้นจะประดับด้วยดอกบัวใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูป
---บายศรีต้น 9 ชั้น ใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในพิธี หรือพระราชพิธี
อุปกรณ์
1.โฟมหนา 2 นิ้ว ตัดเป็นขนาดต่าง ๆ 7
- ใบตองตานี ประมาณ 14 กิโลกรัม ช่วงขนาดกลาง
- ลวดเย็บตัว U ขนาด 2 นิ้ว 200 ตัว ใช้ลวดเบอร์ 16
- กาบกล้วย, กาบพลับพลึง, เนื้อมะละกอดิบ
- ดอกพุดและดอกไม้ตกแต่งตรงชั้นของบายศรี
- ด้าย เข็ม เข็มหมุด
- ขัน, ชาม, พานทำยอดบายศรี
วิธีทำ 1. ขนาดของหลักบายศรีควรสูงประมาณ 1.70 ม.
- ช่วงห่างของแต่ละชั้น ห่างประมาณ 8 นิ้ว
- ความกว้างของแต่ละชั้น ตัวรองช่องละ 3 ชิ้น เมื่อติดตัวบายศรีได้แล้ว จึงจะกำหนดการใช้ใบตอง ดูจากวิธีการทำตัวบายศรีในบายศรีปากชาม
- ควรลดหลั่นขนาดกันไปจนถึงยอด
- ทำตัวบายศรีเสร็จแล้วแช่น้ำให้อิ่ม แล้วนำขึ้นสลัดให้สะเด็ดน้ำ ใส่ไว้ในกาละมังคลุมด้วยผ้าขาวบาง จะอยู่ได้หลายวันจนกว่าจะเหลือง
- การทำตัวรอง ใบตองกว้าง 1.5 นิ้ว จีบใบตองด้านแข็งอยู่ทางขวามือด้านอ่อนอยู่ทางซ้ายมือ พับมาทางขวามือ 3 ทบ ให้เกินครึ่งไปทางขวามือทางด้านขวามือใช้ใบตองพับ 3 ทบซ้อนใบตองที่พับจากทางด้านซ้ายมือให้อยู่ตรงกลาง เมื่อพับได้เช่นนี้แล้ว 3 อัน ให้ห่อ 3 ชิ้นรวมกัน วิธีห่อห่อแบบห่อบายศรีจนครบ
- การเข้าตัวบายศรี อาจจะทำที่หลักบายศรีเลยหรือจะนำมาประกอบข้างนอกเสร็จแล้วจึงจะใส่ก็ได้ เพื่อสะดวกควรประกอบข้างนอก
- วิธีเข้าตัวบายศรี ให้เริ่มตั้งแต่ชั้นล่างก่อน ก่อนจะเข้าตัวบายศรีให้ตัดและตกแต่งบายศรีให้มีขนาดเท่ากันก่อนทุกตัว และนำไปติดกับแป้นโฟมที่ให้ตัดไว้แล้ว กะจังหวะให้ช่วงห่างเท่า ๆ กันแล้วนำบายศรีโดยใช้ลวดตัว U เสียบยึดให้แน่นจนครบรอบชั้นบนชั้นล่างก็ติดเช่นเดียวกันให้ตัวบายศรีตรงกันทั้งข้างล่างข้างบน แล้วจึงติดตัวรองระหว่างช่องของบายศรีจนครบ
- คาดเอว หรือสายรัด ระหว่างชั้นบนและชั้นล่างของตัวบายศรีจะใช้กาบกล้วย กาบพลับพลึง หรือใช้ใบตองรัดก็ได้ ถ้าใช้กาบกล้วย กาบพลับพลึงจะต้องสลักลวดลาย และอาจตกแต่งด้วยบานไม่รู้โรยหรือดอกไม้อื่น หรืออาจเย็บสวนคาดแทนก็ได้ ถ้าใช้ใบตองก็จะต้องเย็บแบบหรือตกแต่งดอกไม้ หรือจะใช้เป็นมาลัยแบนคาดก็ได้
10.ทำเช่นนี้ครบ 3 ชั้นแล้ว ชั้นบนสุดให้ใส่บายศรีปากชามจะใช้ชามหรือพานก็ได้วางอยู่บนยอดบายศรี
- แป้นบายศรีแต่ละชั้นจะเห็นโฟม ให้ตัดใบตองปิดทั้งข้างล่างและข้างบนแล้วประดับดอกไม้ปักเรียบ ๆ จะเป็นบานไม่รู้โรยหรือดอกรัก ฯลฯ ถ้าแต่งดอกไม้มากหรือปักให้แน่นจะทำให้บดบังความงามของบายศรีไป
คำสำคัญ : บายศรี
ที่มา : 253/1 หมู่ 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นักศึกาษา รหัส 5912206
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=943&code_db=DB0019&code_type=002
บายศรีนมแมว ขันผูกมือ หรือขันมัดมือ
บายศรีนมแมวเป็นบายศรีพิเศษ สำหรับใช้กับคนทุกชนชั้น นับแต่ชาวบ้านจนถึงพระราชวงศ์ ทางภาคเหนือจะเรียกบายศรีชนิดนี้ว่า บายศรีนมแมว ขันผูกมือหรือขันมัดมือ เครื่องสักการะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ด้ายหรือฝ้าย สำหรับผูกข้อมือ มักใช้ด้ายดิบ
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 126
บายศรีบัลลังก์
บายศรีบัลลังก์บรมครู บายศรีบัลลังก์ศิวะ บายศรีบัลลังก์นารายณ์ (ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปพญานาค มี ๕ - ๗ เศียรที่เรียกกันว่า บายศรีพญานาค) บายศรีบัลลังก์พระยาครุฑ บายศรีบัลลังก์ธรรมจักร บายศรีบัลลังก์พระพิฆเนศ บายศรีบัลลังก์จุฬามณี
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 149
บายศรีบัตรพลี
บัตรพลีจะมี 4 ลักษณะ 1.บัตรพลีเทวดามีชั้น 9 ชั้น 2.บัตรพลีเทพนพเคราะห์ 3.บัตรพลีเจ้ากรุงพาลี 4.บัตรพลีทั่วไปมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมี 3 ชั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 2,094
บายศรีเทพพนม1
บายศรีทำจากใบตองสดและริบบิ้นโทนสีชมพูประดับด้วยดอกบัว/ดาวเรือง กรวยใบตองจับจีบคาดดิ้นเงิน-ทอง
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 135
บายศรีพรนพัค
ตัวบายศรีพับด้วยกลีบหน้านาคประกอบด้วยตัวบายศรี 8 ชั้นเมื่อนำดอกจำปีศาลจัดลงชามแล้วนอกจากความสง่างามของบายศรีแล้วยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆของดอกจำปี
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 147
บายศรีพญานาค
บายศรีบัลลังก์บรมครู บายศรีบัลลังก์ศิวะ บายศรีบัลลังก์นารายณ์ (ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปพญานาค มี 5 - 7 เศียรที่เรียกกันว่า บายศรีพญานาค) บายศรีบัลลังก์พระยาครุฑ บายศรีบัลลังก์ธรรมจักร บายศรีบัลลังก์พระพิฆเนศ บายศรีบัลลังก์จุฬามณี
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 720
บายศรีปากชาม
บายศรีรองด้วยชามประดับไปด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ บายศรีปากชาม เป็นบายศรี ที่ใช้ในการ สักการบูชา เทพยดา ครูบาอาจารย์ ในการบวงสรวง เทพยดาในทุกๆ พิธีกรรม จะขาดบายศรีปากชามไม่ได้
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 223
บายศรีผ้า
บายศรีที่ทำมาจากผ้าดัดแปลมาจากทำบายศรีเทพที่ใช้ใบตองบายศรีผ้าเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 296
บายศรีอภัยทาน
งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 493
บายศรีเทพบูชา
บายศรีทำจากใบตองสดและริบบิ้นโทนสีชมพู-เขียวรองรับช่อบายศรีด้วยกลีบใบตองผสมริบบิ้น
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 443