แกรมมาโต
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้ชม 239
[16.270447, 99.7046403, แกรมมาโต]
กล้วยไม้ในสกุลนี้ส่วนใหญ่จะมีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ในประเทศไทยพบในธรรมชาติเพียงชนิดเดียคือGrammatophyllum speciosum ภาษาไทยเรียกว่า ว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ (Giant Orchid) และใช้กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นตัวแทนของกล้วยไม้ในสกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของว่านเพชรหึงคือ มักพบขึ้นเป็นกอตามต้นไม้ใหญ่หรือขึ้นเป็นกอบนคบไม้ เนื่องจากรากที่ยึดเกาะมีลักษณะแข็งและแตกย่อยเป็นแผงเหมือนตาข่าย จึงสามารถยึดเกาะและดูดซึมสารอาหารและความชื้นจากเปลือกไม้ที่เกาะได้ดี ว่านเพชรหึงเจริญเติบโตทางยอด ลำลูกกล้วยมีขนาดใหญ่ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ใบเป็นแถบยาว 30-60 เซนติเมตร ผิวมัน เรียงสลับซ้านขวา โคนใบหุ้มต้นตั้งแต่กลางต้นขึ้นไป ช่อดอกตั้ง ยาว 50-100 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองและมีจุดลายสีจุดลายสีน้ำตาลเข้มกระจายทั่วกลีบดอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grammatophyllum speciosum Blume
ชื่อพื้นเมือง ว่านเพชรหึงษ์ เอื้องเพชรหึงษ์ หางช้าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก เป็นแบบรากดิน (terrestrial) ลำต้น เจริญทางด้านข้าง ขนาดใหญ่คล้ายลำอ้อย สูงกว่า 3 เมตร ใบ ยาวประมาณ 50-60 ซม.กว้างประมาณ 3 ซม. ดอก เป็นช่อ ออกดอกที่โคนต้นมีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกแข็งยาวกว่า 2 เมตร กลีบดอกสีค่อนข้างเขียว จนถึงสีเหลืองทอง และมีแต้มสีน้ำตาลแกมม่วงจำนวนมาก ขนาดดอกประมาณ 10 ซม.
สถานที่พบ ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กล้วยไม้สกุลแกรมมาโตฟิลลั่มจัดอยู่ในประเภทไม้อิงอาศัย (epiphytic) พบอยู่ในป่าดิบชื้น ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงแถบตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบในธรรมชาติแล้ว 11 ชนิด
แหล่งที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/horti-asia/2012/12/17/entry-1
ที่มา : 23 หมู่ 6
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวปิยธิดา ก้อนจำปา
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=683&code_db=DB0013&code_type=F008
แกรมมาโต
คำว่า Grammatophyllum มาจากคำในภาษากรีกคือ "Gramma" หมายถึงตัวหนังสือ และคำว่า "phyllon" หมายถึง ใบ ซึ่งหมายความว่า เป็นกล้วยไม้ที่กลีบดอกมีลักษณะเป็นลวดลายคล้ายถูกพิมพ์ตัวหนังสือลงไป
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 239