ประวัติอำเภอสามเงา

ประวัติอำเภอสามเงา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 3,867

[17.4823192, 98.5792734, ประวัติอำเภอสามเงา]

 

คำขวัญจังหวัด            ธรรมชาติหน้ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ  พระธาตุลอยศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ผาสามเงา ขุนเขาเสียดฟ้า ตระการตาเขื่อนภูมิพล ยลพระธาตุแก่งสร้อย ดอยพระบาทเขาหนาม ลือนามลำใย กล้วยไข่เลิศรส

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ      ที่ว่าการอำเภอสามเงา หมู่ที่ 3 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตากหมายเลขโทรศัพท์            0-5559-9091

หมายเลขโทรสาร         0-5559-9091  

  ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา      

ประวัติความเป็นมาของอำเภอมีตำนานเล่ากันว่า ในอดีตกาลพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าเมืองละโว้ ได้เสด็จทางชลมารคจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) มาตามลำน้ำปิง เพื่อไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) พอเสด็จมาถึงหน้าผาแห่งหนึ่งได้เกิดอัศจรรย์พายุกระหน่ำอย่างหนักไม่สามารถเสด็จต่อไปได้ ต้องพาข้าราชบริพารหลบหนีภาวะวิปริตทางอากาศอยู่ ณ ที่นั้นถึงสามวันสามคืนยังไม่คลี่คลาย พระนางจึงได้เสด็จไปหน้าผาแห่งนั้น และทรงจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากพระนางมีบุญบารมีที่จะได้ครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ก็ขอให้ภาวะวิปริตของดินอากาศจงจางหายไป อย่าได้มีอุปสรรคแก่การเดินทางต่อไปเลย พออธิษฐานเสร็จ พายุฝนก็ได้จางหายไปดังปาฏิหาริย์ อากาศแจ่มใส และได้ครองเมืองหริภุญชัยสมดังอธิษฐาน หลังจากนั้นพระนางจึงได้เดินทางกลับมาสร้างะพุทธรูปสามองค์ไว้ ณ ที่ผา แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า  “ผาสามเงา”    

ปัจจุบัน หน้าผาแห่งนี้ตั้งอยู่เชิงเขาในบริเวณหน้าวัดป่าพระสามเงา บ้านหนองโสน หมู่ที่ 4  ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

เมื่อ พ.ศ. 2473 ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งมีที่ว่าการฯ อยู่ที่บ้านท่าปุย จึงได้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอท่าปุย” ขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กิ่งอำเภอสามเงา” เพื่อให้สอดคล้องกับปูชนียสถาน “ผาสามเงา” เมื่อประชาชนหนาแน่นขึ้น มีความเจริญมากขึ้นทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็น “อำเภอสามเงา”  เมื่อ พ.ศ. 2501 มาจนถึงทุกวันนี้

2.เนื้อที่/พื้นที่   2,771.927 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป    อากาศร้อน

 ข้อมูลการปกครอง

1.ตำบล.......6.... แห่ง   3.เทศบาล..1.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....46.... แห่ง 4.อบต........6 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1.อาชีพหลัก ได้แก่      1. เกษตรกรรม

  1. เลี้ยงสัตว์

2.อาชีพเสริม ได้แก่     1. ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

  1. รับจ้างทั่วไป

3.จำนวนธนาคาร

            มี 2 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารนครหลวง โทรศัพท์ 0-5559-004-5
  2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า        มี 2 แห่ง

 ด้านสังคม

     1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่            1. โรงเรียนสามเงาวิทยาคม          โทรศัพท์  0-5559-9026

  1. โรงเรียนยกกระบัตรวิทยาคม โทรศัพท์ 0-5559-7173

 

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  -มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาวิทยาเขตตาก     0555-15900

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

  1. แร่หินแกรนิต
  2. แร่หินประดับ

ด้านประชากร 

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น        รวม 27,124  คน

2.จำนวนประชากรชาย            รวม 13,431  คน

3.จำนวนประชากรหญิง          รวม 13,693 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร           11,465 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม        

1.ทางบก         - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 พหลโยธิน

- สถานีขนส่ง

2.ทางน้ำ          - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  0-5559-9093

- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  0-5559-9093

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม        

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่          

  1. กล้วยไข่
  2. ข้าวโพด , ข้าว
  3. ลำใย

4.ฝรั่ง

5.ปลา/โค

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)   1. อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล

  1. แม่น้ำปิง
  2. แม่น้ำวัง

4.หนองจระเข้

5.หนองตีนดอย

6.อ่างแม่ปุ่ย

7.อ่างปางปุ่ย

8.หนองชำ

9.คลองเย็น

10.ห้วยแม่ป้าก

11.อ่างเก็บน้ำห้วยทราย

12.แม่ตื่น

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอสามเงา

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอสามเงา. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=673&code_db=610001&code_type=TK006

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=673&code_db=610001&code_type=TK006

Google search

Mic

โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

การเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก ภายหลังการเกิดโครงการสร้างเขื่อนพระราชา อันเป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ของเมืองไทย เหตุการณ์ที่ชาวตากไม่เคยลืมคือ เมื่อมีโอกาสได้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จมาเปิดเขื่อนภูมิพล บริเวณอำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยมีนายกรัฐมนตรีลูกหลานชาวเมืองตาก(จอมพลถนอม กิติขจร) เป็นผู้กล่าวคำถวายรายงานโครงการสร้างเขื่อนที่เมืองตาก 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 356

"ยันฮี" มา "บ้านนา" หาย

 “เขื่อนภูมิพล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปีพ.ศ. 2500 เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี ส่วนที่มาของชื่อ มีหลากหลายเวอร์ชัน ทั้งที่บอกว่า เป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ย่านรี” ที่เป็นชื่อหุบเขาที่สร้างเขื่อน บ้างก็บอกว่ามาจากลักษณะของลำน้ำปิงในช่วงนี้ ที่มีลักษณะแคบ ยาว เวลาพายเรือ หรือแพ ต้องคอยใช้ไม้ยันขอบแกะแก่ง เพื่อไม่ให้เรือ/แพแตก หรือบางคนก็เชื่อตามตำนานของพระนางจามเทวี ที่เชื่อว่า ลำน้ำนี้เป็นที่อาบน้ำของพระนาง แล้วระดับน้ำในแม่น้ำก็สูงถึงของลับของพระนาง ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ส่วนจะเชื่อแบบไหน?? ก็สุดแต่ใจ...

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 452

ประวัติอำเภอสามเงา

ประวัติอำเภอสามเงา

เล่าสืบต่อกันว่า ในอดีตกาลครั้งกระโน้น พระนางจามเทวีได้เสด็จทางชลมารค ขึ้นมา ตามลำน้ำปิงจะไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)พอถึงหน้าผาริมน้ำแห่งหนึ่งก็เกิดอัศจรรย์ปั่นป่วนอากาศวิปริต พายุฝนโหมกระหน่ำหนัก พระนางไม่สามารถที่จะเสด็จต่อไปได้ ต้องพาข้าราชบริพารขึ้นไปประทับหลบภาวะวิปริตของดินฟ้าอยู่ ณ ที่นั้นถึง 3 วัน 3 คืน สภาพดินฟ้าอากาศก็ยังไม่คลี่คลายลง พระนางจึงเสด็จขึ้นไปบนหน้าผาและทรงจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าหากพระนางมีบุญญาบารมีที่จะได้ครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) จริงแล้ว ก็ขอให้อากาศวิปริตของดินฟ้าอากาศจึงหายไป อย่าได้เป็นอุปสรรคในการเดินทางของพระนางต่อไปอีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,867