ต้นกระบากใหญ่

ต้นกระบากใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,770

[16.7937805, 98.9180633, ต้นกระบากใหญ่ ]

       อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ตั้งอยู่ในท้องที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด ติดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (ตาก–แม่สอด) ห่างจากตัวอำเภอเมืองตากประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 954 (พ.ศ.2524) และประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ–ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 145 (พ.ศ.2509) มีพื้นที่ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวน 93,125 ไร่ แต่มีพื้นที่จริงจากการคำนวนเท่ากับ 163,750 ไร่ 

ประวัติความเป็นมา
       อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เดิมมีชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” เนื่องจากมีต้นกระบากที่ใหญ่สุดในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ โดยมีนายสวาท ณ น่าน ช่างอันดับ 2 สถานีโทรคมนาคม จังหวัดตาก ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากชาวเขาเผ่ามูเซอ ว่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ประมาณสิบคนโอบอยู่ต้นหนึ่ง และมีสะพานหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อได้ไปสำรวจพบเห็นว่าเป็นสภาพธรรม ชาติที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ จึงได้ทำหนังสือถึงกองอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2519 และวันที่ 6 มกราคม 2520 รายงานถึงลักษณะทางธรรมชาติซึ่งมีความโดดเด่น ได้แก่ ต้นกระบากใหญ่ สะพานหินธรรมชาติ น้ำตกห้วยหอย น้ำตกแม่ย่าป้า มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีสัตว์ป่าที่ชุกชุม 
       ทางกองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีคำสั่งให้ นายสมยศ สุขะพิบูลย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลานสางในขณะนั้น ออกไปตรวจสอบพบเห็นว่าเป็นจริงดังคำบอกเล่า มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ และไปดำเนินการสำรวจเพื่อกำหนดพื้นที่ป่าห้วยแม่ละเมา–ห้วยยะอุ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ–ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” นับเป็นอุทยานแห่งชาติอันดับที่ 40 ของประเทศไทย 
       ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ จังหวัดตาก เห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” เป็น “อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช” กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2529 ให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช” 
        นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางลักษณะภูมิประเทศแล้ว อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราชยังมีเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์อีกด้วย กล่าวคือ ในสมัยโบราณพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นเส้นทางการเดินทัพของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อำเภอแม่สอดในปัจจุบัน) เพื่อบุกเข้าตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของไทยในขณะนั้น นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า โดยพระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า คราวยกทัพกลับจากการล้อมกรุงศรีอยุธยาขณะเสด็จกลับระหว่างทางทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ในป่าแห่งนี้

คำสำคัญ : ต้นกระบากใหญ่ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช

ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1038

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ต้นกระบากใหญ่ . สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=668&code_db=610002&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=668&code_db=610002&code_type=TK001

Google search

Mic

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง เกิดจากลำห้วยผาขาว – ผาแดง ไหลเลาะลงถ้ำด้านล่าง ความลึกที่สำรวจได้ 100 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 32 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนทุกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,082

อุทยานแห่งชาติลานสาง

อุทยานแห่งชาติลานสาง

อุทยานแห่งชาติลานสาง ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของประเทศไทย สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนโดยมีเทือกเขาถนนธงชัยตั้งอยู่กึ่งกลางอุทยานฯ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ก่อให้เกิดเป็นน้ำตกลานสาง และน้ำตกอื่นอีกมากมาย สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเป็นน้ำตกและจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,025

น้ำตกปางอ้าใหญ่

น้ำตกปางอ้าใหญ่

น้ำตกปางอ้าใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ความสูงประมาณ 80 เมตร จำนวน 4 ชั้น อยู่ห่างจากจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 24 กิโลเมตร ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 772

น้ำตกปางอ้าน้อย

น้ำตกปางอ้าน้อย

น้ำตกปางอ้าน้อย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ กว้างประมาณ 8 เมตร สูง 20 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เดินต่อจากต้นกระบากใหญ่เลียบลำน้ำไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,071

สะพานหินธรรมชาติ

สะพานหินธรรมชาติ

สะพานหินธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่เชื่อมติดกับหน้าผาสองข้างเข้าด้วยกัน คล้ายสะพาน มีความกว้างและความสูงประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร เบื้องล่างมีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเขียวชะอุ่มร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ใกล้กับสะพานหินมีถ้ำหินงอกหินย้อยงดงาม สะพานหินธรรมชาติอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนเข้าไปเที่ยวชมทุกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,858

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช นอกจากเป็นจุดพักรถที่ดีเยี่ยมระหว่างการเดินทางแล้ว ศาลหลักเมืองสี่มหาราชยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะพาเรา ย้อนกลับไปสู่ความรุ่งเรืองแห่งตำนานมหาราชทั้งสี่ของดินแดนไทย อันสืบเนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เมืองตากเป็นเมืองที่มีพระมหาราชเข้าในอดีตเสด็จมาชุมนุมกองทัพถึง 4 พระองค์ด้วยกัน กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชในคราวศึกชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,273

ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ตั้งอยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตาก และชาวอำเภอแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบ จึงชอบเสียงปืน ทำให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะมักยิงปืนถวาย จุดประทัด หรือบีบแตรถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 948

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี หรือที่เรียกว่า "สะพานแขวน" สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยาว 700 เมตร ฐานรากและเสาเป็นคอนกรีต จำนวน 5 จุด พื้นทำด้วยไม้โยง ยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ซึ่งในอดีตสามารถใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์สัญจรไปมาได้แต่ปัจจุบันเป็นสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์แม่น้ำปิง และมีการประดับไฟสวยงามในยามค่ำคืน

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,089

วัดเขาถ้ำ

วัดเขาถ้ำ

วัดที่ตั้งอยู่ในถ้ำแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2437 โดยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2529 และปัจจุบันทางวัดได้เปิดสอน พระปริยัติธรรมแก่ประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาศึกษาพระธรรม หรือนั่งเจริญสติภาวนาเพื่อชำระจิตใจไปสู่ความสงบ นอกเหนือไปจากการชมและสักการะรอยพระพุทธบาท จำลองที่ประดิษฐานอยู่ในวัดแห่งนี้

 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 965

ต้นกระบากใหญ่

ต้นกระบากใหญ่

ต้นกระบากใหญ่ ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ มีขนาดความโตวัดโดยรอบได้ 16.10 เมตร ความสูง 50 เมตร ต้องใช้คนประมาณ 12 คน จึงจะโอบได้รอบลำต้น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งเป็นทางเดินลงเขาชันมาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้สนใจจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรเตรียมน้ำดื่มให้พร้อมสำหรับการเดินลงไปเที่ยวชมและเดินกลับขึ้นมา ระหว่างทางมีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติอยู่เป็นระยะ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,770