ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้ชม 2,627

[16.4705612, 99.5283865, ขนมเปี๊ยะ]

ขนมเปี๊ยะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว
ส่วนผสม : แป้งชั้นนอก
1. แป้งสาลีตราบัวแดง              190 กรัม
    แป้งสาลีเอนกประสงค์            95 กรัม
2. น้ำตาลทราย                           60 กรัม
3. น้ำมันพืช                                 75 กรัม
4. น้ำเย็นจัด                              110 กรัม
5. วิปผง                                       10 กรัม
6. เกลือ                                          3 กรัม
ส่วนผสม : แป้งชั้นใน
1. แป้งสาลีอเนกประสงค์         150 กรัม
2. น้ำมันพืช                                 50 กรัม
3. เนยขาวรำข้าว                        25 กรัม
การตกแต่งหน้าขนม :
* ไข่แดง ผสมสีส้ม สำหรับทาหน้าขนมก่อนเข้าอบ
* ถ้าใช้ไข่ทั้งฟองทาหน้าขนม….ต้องทาไข่ 2 รอบ คือ อบไปซัก 5 นาที ก็เปิดเตาเอาออกมาทาไข่ซ้ำอีกรอบ
* น้ำมันพืช และเนยขาว ควรเลือกชนิดที่ทำมาจาก.. รำข้าว เพื่อให้มีอายุการ เก็บรักษาได้นาน และปลอดภัยต่อสุขภาพ และน้ำมันรำข้าว ไม่มีกลิ่นที่รบกวนกับกลิ่นของการอบควันเทียนด้วย
ส่วนผสมไส้ : ถั่วกวน
1. ถั่วทองกวน และอบควันเทียนแล้ว
2. ไข่แดงเค็ม
( สำหรับไข่แดงเค็ม ควรนำเข้าอบให้สุกก่อน
ไฟ 180 องศาเซลเซียส นาน 10 -15 นาที
วิธีการทำแป้งชั้นนอก :
ผสมทุกอย่างใส่ในแป้ง
นวดให้เนียนเหนียวจนแผ่แป้งเป็นฟิล์มได้
(- หากแป้งแห้งเกินไป เพิ่มน้ำได้ครั้งละ 1 ชต.)
พักแป้งไว้ 10 นาที
วิธีการทำแป้งชั้นใน :
นวดแป้ง ผสมกับน้ำมันและเนยขาวนวดจนเนียนพักไว้
* ในกรณีที่แป้งแฉะเกินไป เราสามารถเพิ่มแป้งได้ แต่ต้องเพิ่มทั้งสูตรแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอก
วิธีการทำแป้งให้แยกเป็นชั้น :
1.แบ่งแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอกให้มีจำนวนชิ้นเท่าๆกัน 
เช่น ถ้าแบ่งแป้งชั้นนอก 12 ชิ้น ก็ต้องแบ่งแป้งชั้นใน ให้ได้ 12 ชิ้น เป็นจำนวนที่เท่าๆกัน 
ในสูตรนี้ แบ่ง: แป้งชั้นนอก…. 30-35 กรัม
และแป้งชั้นใน……  10-12 กรัม
2. เอาแป้งชั้นนอกห่อหุ้มแป้งชั้นในให้มิด
3. คลึงแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว × 5 นิ้ว แล้วม้วน ทำซ้ำๆแบบเดิมประมาณ 4-5 ครั้ง
4. ตัดแบ่งแป้ง เป็น 3 ชิ้นต่อแป้ง 1 ก้อน
คลึงแป้งให้เป็นแผ่นกลม ขอบบางตรงกลางหนา
5. นำแป้งมาห่อจับจีบหุ้มไส้ให้มิด วางด้านที่จับจีบลงด้านล่าง บนถาดที่รองแผ่นกระดาษรองอบ
*ควรอบไส้ถั่วกวน ด้วยควันเทียนก่อน
* และอบไข่แดงเค็มให้สุกก่อน
6. ทาไข่แดงที่หน้าขนม แล้วนำเข้าเตาอบ
ใช้ไฟบนล่าง 180 องศาเซลเซียส ไม่เปิดพัดลม  อบนาน 10 – 15 นาที
ดูว่าแป้งกลายเป็นสีขาวนิ่มก็สุกแล้ว
ถ้าอบนานขนมเปี๊ยะจะกรอบแห้ง และเหลืองกว่า ( ขึ้นอยู่กับความชอบ )
บางคนก็อบด้วยไฟ 150-160 องศาเซลเซียส
นาน 20 -25 นาที 
* ซึ่งการใช้ไฟในการอบนั้น ขึ้นอยู่กับเตาอบของแต่ละบ้าน มากกว่าการกำหนดตายตัวลงไป
7. อบขนมเปี๊ยะด้วยควันเทียนอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเก็บขนมไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท
ใช้น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น
ถั่วทองดิบ                      500 กรัม
น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น    110 กรัม
น้ำตาลทราย                  330 กรัม
เนยสดเค็ม                       80  กรัม
กลิ่นมะลิ                             2  ฝา
ภาพโดย : https://tuksirinyapat.wordpress.com

คำสำคัญ : ขนมเปี๊ยะ

ที่มา : ตลาดไนท์พลาซ่า

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมเปี๊ยะ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=602&code_db=DB0004&code_type=K0001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=602&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ข้าวเหนียวแดง

ข้าวเหนียวแดง

ข้าวเหนียวแดง หรือ ข้าวอีตู เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง จัดเป็นขนมกวนชนิดหนึ่งที่คนในชุมชนนิยมนำมาใช้ในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อถวายพระ ทำบุญและแจกจ่ายกันบริโภคในครัวเรือน  ส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียมดิบ ๑,๕๐๐ กรัม น้ำตาลปี๊บ ๑,๑๒๕ กรัม มะพร้าวขาวคั้นไม่ใส่น้ำ ๘ ถ้วย แบะแซะ ๓๗๕ กรัม ใบเตยหอม ๑๐ ใบ เกลือสำหรับซาวข้าวเหนียม ๑ ช้อนโต๊ะ งาขาวคั่วสำหรับโรยหน้า

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,983

ไอศครีมมะพร้าวอ่อน

ไอศครีมมะพร้าวอ่อน

ถ้ามีโอกาสแวะไปสวนสาธารณะเส้นเลียบแม่น้ำปิง ถ.เทศา1 จะเจอรถกระบะ จอดขายไอศครีมริมทาง เห็นโถท้อปปิ้งวางเรียงเป็นแถว เลี้ยวรถจอดได้เลย ร้านนี้ไอศครีมอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 1,501

เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปถึงแหล่งขายส่งกันมาแล้วครับ ที่นี่เขาขายให้กับพ่อค้า แม่ค้า นำไปต่อยอดจำหน่ายกันต่อเอง ไม่มีหน้าร้านแบบร้านอาหาร ขายส่งกันอย่างเดียว แต่แนะนำนักท่องเที่ยวมาซื้อกันเป็นของฝากได้ครับ มาถึงกำแพงเพชรทั้งที่ ก็ต้องกินเฉาก๊วยชากังราวของแท้ อยากรู้ว่าอยู่ที่ไหน เราตามไปดูกันครับว่าร้านเขาหน้าตาเป็นอย่างไร และขายกันยังไง

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 3,072

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง ๓ อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ส่วนแรกนำไปผสมกับน้ำหวานที่เคี่ยวด้วยน้ำกะทิ น้ำตาลปึก แบะแซ และมะพร้าวอ่อน จนเหนียวพอประมาณ แล้วทิ้งไว้จนเย็น หลังจากนั้น บางบ้านก็ปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดพอคำ หรือบางบ้านก็บรรจุลงในถาดหรือพิมพ์ แล้วจึงโรยด้วยข้าวตอกที่ตำละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกันหรือส่วนที่สองลงในพิมพ์ ชนิดที่ใส่พิมพ์แล้วนำไปตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ขนาดพอคำ เรียกว่า ข้าวตอกตัก” ส่วนที่ปั้นเป็นลูกกลมพอคำเรียก ข้าวตอก” หลังจากนั้น จึงนำส่วนที่สามมาโรยหน้า ขั้นตอนสุดท้าย จึงนำขนมไปอบด้วยเครื่องหอม เช่น เทียนกำยาน นานประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 8,809

ขนมเค้ก

ขนมเค้ก

แวะมาดื่มกาแฟแก้ง่วงก่อนไปน้ำตก กาแฟรสดีมากหอมไม่แพ้ร้านดังใน กทม เลย ขนมเค้กก็อร่อย เหมือนเจ้าของร้านใส่ใจในรายละเอียด ประทับใจมาก ทั้งคุณภาพ บรรยากาศ และราคา ลืมบอกไป ร้านติดแอร์เย็นดี ลูกค้าเข้าๆออกๆเยอะ ถ้าร้านใหญ่ขึ้นอีกจะดีไม่น้อย 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 743

ขนมครก

ขนมครก

ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 4,791

บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

บะหมี่เซี้ยงชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนามาจากสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพราะว่ามีการสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวโดยร้านที่มีชื่อเสียงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีร้านที่มีชื่อเสียง คือ ร้านเจ็กเท่ง ร้านเจ็กฮ้อ ร้านเจ็กเซี้ยง จากคำบอกเล่าของ อาจารย์สุมาลี หรั่งประเสริฐ บุตรนายตั้งหยงเซี้ยง (ร้านเจ๊กเซี้ยง) มาจากเมืองซัวเถาตั้งแต่ปี 2475 ได้ยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวมาตลอด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการขายก๋วยเตี๋ยวร่ำรวยมากเพราะขายให้ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 2,287

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา คือ ขนมชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเพราะสามารถทำได้ง่าย ราคาถูก และมีรสชาติติดปาก รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองอ่อน ทำด้วยแป้งมัน แล้วนำไปทอด รสชาติหอมหวานมัน ข้างนอกจะแข็ง ข้างในนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 6,532

แกงหยวกกล้วย

แกงหยวกกล้วย

หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,036

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงมัสมั่น เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทย ออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน เอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงชนิดนี้คือหอมเครื่องเทศนานาชนิด ได้แก่ ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น กานพลู อบเชย สามารถแกงกับเนื้อสัตว์หลายชนิด คนไทยนิยมแกงมัสมั่นไก่ เนื้อวัว และหมู แกงนี้มีไขมันค่อนข้างสูง จึงทำให้มีพลังงานสูง มีโปรตีนจากเนื้อไก่ ใยอาหารและสรรพคุณทางยา จากเครื่องแกง ได้แก่ อบเชย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หัวหอมแขกช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมะขามเปียกมีวิตามินซี และเป็นยาระบายอ่อนๆ ยี่หร่า กานพลู ช่วยขับลม ขับเสมหะ ส่วนขิงช่วยลดไขมันในเลือดได้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,034