ขนมถ้วยฟู

ขนมถ้วยฟู

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 4,926

[16.4704906, 99.5314415, ขนมถ้วยฟู]

        ขนมถ้วยฟู เป็นขนมโบราณที่นำเข้ามาในเมืองไทยเราโดยคนจีน และเป็นอีก 1 ใน 9 ของขนมมงคลของคนไทย ชาวจีนเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวดโก้ย หมายถึง มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู จึงเป็นอีกขนมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในงานมงคล ชาวจีนและชาวไทย นิยมนำไปไหว้เจ้า หรือประกอบพิธีงานมงคลต่างๆ ในงานแต่งงานนิยมทำขนมถ้วยฟูเป็นสีแดง ใช้ไหว้เจ้าหรืองานมงคลต่างๆนิยมใช้สีชมพู ใช้ในงานอวมงคล หรือไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนิยมใช้สีขาว ในปัจจุบันยังหาทานได้ง่าย มีหลากหลายสี เช่น ชมพู เขียว ขาว ฟ้า
        ขนมถ้วยฟู เป็นขนมนึ่งหน้าแตก ที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล น้ำ และหัวเชื้อ ส่วนผสมที่ลงตัวจะทำให้แป้งขนมถ้วยฟู ขยายตัวฟูขึ้นมา และความพอดีของปริมาณน้ำในลังถึงกับความร้อนสม่ำเสมอของไฟในเตา มีส่วนสำคัญช่วยให้ขนมถ้วยฟูหน้าแตกได้ 3 ถึง 4 แฉกทั่วถึงทุกถ้วย ไม่ว่จะเป็นถ้วยชาหรือถ้วยตะไลเล็ก ๆ

ส่วนผสมของขนมถ้วยฟู
        1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
        2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
        3. น้ำลอยดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง
        4. ยีสต์ 1 ช้อนชา
        5. ผงฟู 1 ช้อนชา
        6. ถ้วยตะไล
        7. รังถึงสำหรับนึ่ง

วิธีทำขนมถ้วยฟู
        1. น้ำตาลทรายมาผสมกับน้ำลอยดอกมะลิคนให้น้ำตาลละลาย
        2. นำแป้งข้าวเจ้าและยีสต์มาผสมกันคนให้เข้ากันทั่วๆ จากนั้นค่อยๆเทน้ำดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้วลงในแป้งนวดจนแป้งนิ่ม แล้วเทน้ำใส่จนหมด ใส่ผงฟู นวดต่อไปจนเข้ากัน ปิดผาทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง  เรียงถ้วยตะไลลงในรังถึงจากนั้นนำไปนึงประมาณ 5 นาที นำขนมที่ได้ใส่ลงในถ้วยตะไลจนเต็มจากนั้นนึ่งขนมต่อจนสุกใช้เวลาประมาณ 15 นาที วิธีดูว่าแป้งข้างในสุกหรือไม่ให้ใช้ไม้เล็กๆขนาดไม้เสียบลูกชิ้นแทงเข้าไปในขนม ถ้าขนมสุกเวลาดึงไม้ออกมาจะไม่มีแป้งติดไม้ออกมา

ภาพโดย : http://xn--22c8alhg4bij9ktgta.blogspot.com/2012/09/thai-dessert10.html

 

คำสำคัญ : ขนมถ้วยฟู

ที่มา : http://xn--22c8alhg4bij9ktgta.blogspot.com/2012/09/thai-dessert10.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมถ้วยฟู. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=574&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=574&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงมัสมั่น เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทย ออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน เอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงชนิดนี้คือหอมเครื่องเทศนานาชนิด ได้แก่ ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น กานพลู อบเชย สามารถแกงกับเนื้อสัตว์หลายชนิด คนไทยนิยมแกงมัสมั่นไก่ เนื้อวัว และหมู แกงนี้มีไขมันค่อนข้างสูง จึงทำให้มีพลังงานสูง มีโปรตีนจากเนื้อไก่ ใยอาหารและสรรพคุณทางยา จากเครื่องแกง ได้แก่ อบเชย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หัวหอมแขกช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมะขามเปียกมีวิตามินซี และเป็นยาระบายอ่อนๆ ยี่หร่า กานพลู ช่วยขับลม ขับเสมหะ ส่วนขิงช่วยลดไขมันในเลือดได้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,786

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 906

แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 23,007

ไส้กรอกถั่ว

ไส้กรอกถั่ว

ไส้กรอกถั่ว ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยล้างไส้หมูให้สะอาด และใส่เกลือเพื่อดับความคาวของไส้ นำหมูสับ ถั่วเขียวต้มสุก พริกแกงเผ็ด ผสมให้เข้ากัน เติมน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใบมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าใส่ไส้หมูที่จัดเตรียมไว้ให้เต็มและมัดหัวและท้ายของไส้ นำไส้กรอกที่ได้ ย่างไฟอ่อนๆบนเตาถ่าน จนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานกับผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม แตงกวา พริกขี้หนู เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 4,702

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม ขนมพื้นบ้านนครชุม ทำจากกล้วยไข่ตัดหัวและท้ายผลกล้วย จากนั้นก็ปอกเปลือกและผ่าครึ่งแช่น้ำไว้ เทน้ำเปล่าลงไปในกระทะ ใส่เกลือและใบเตยมัดปม แล้วตามด้วยกล้วย เทใส่ลงไป ต้ม 15 นาที ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตาลมะพร้าว ต้มจนน้ำตาลละลาย บีบมะนาวลงไป ต้มจนน้ำแห้งลดลงครึ่งนึง เสร็จแล้วปิดไฟแล้ววางพักไว้ พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,430

แกงพันงู

แกงพันงู

กำแพงเพชรมีอาหารอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวกำแพงเพชรในอดีต คือแกงพันงู พันงูเป็นชื่อพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสถานที่หัวไร่ปลายนา ตามเชิงเขาและป่าโปร่ง จะขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเดี่ยว เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างคล้ายงู ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พันงู จะขึ้นเฉพาะในฤดูร้อน ต่อฤดูฝน ใต้ดินจะมีหัวขนาดใหญ่ ในปีหนึ่งจะขึ้นเพียงครั้งเดียว ชาวบ้านจะนิยมนำพันงูมาทำอาหาร ประเภทผักจิ้ม แกงส้มใส่ชะอม ชาวกำแพงเพชร เอาพันงูมา ลอก เปลือกออกหั่น ยาวประมาณ 2นิ้ว เอาไว้แกงส้ม พันงู เป็นอาหารยอดนิยมที่คนกำแพงเพชรนิยมรับประทานกัน เกือบทุกครัวเรือน อาจกลายเป็นอาหารจานเด็ด ของคนกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,107

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

“แกงขี้เหล็กปลาย่าง” อาหารไทยโบราณ ที่มีสรรพคุณตอบสนองปัญหาสุขภาพในสังคมยุคใหม่ ด้วยขี้เหล็กเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้คนท้องผูกถ่ายคล่องขึ้น และมีสารช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้นอนหลับสบายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารเบต้า-แคโรทีนเป็นสารที่ร่างกายจะนำไปใช้สร้างเป็นวิตามินเอซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสายตา โดยการดูดซึมวิตามินเอจะมีประสิทธิภาพเมื่อทานร่วมกับไขมันที่อยู่ในกะทินั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,559

ข้าวต้มลูกโยน

ข้าวต้มลูกโยน

"ข้าวต้มลูกโยน” หรือ "ข้าวต้มหาง” เป็นเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการห่อข้าวต้มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ถั่วดำ ผสมน้ำตาลทรายและเกลือ แล้วนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน (คล้ายกับข้ามต้มมัด) โดยจะทำเป็นกรวยห่อหุ้มข้าวเหนียว และเหลือใบไว้เป็นหางยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใส่บาตร

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 6,822

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,286

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาลในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,955