มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 3,409

[16.4534229, 99.4908215, มะกล่ำตาช้าง]

ลักษณะทั่วไป
               ต้น  เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น
               ใบ   ออกใบรวม จะออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามก้านใบซึ่งมีลักษณะเป็นแผง ใบย่อยจะเป็นรูปไข่เล็ก ๆ มีสีเขียว
               ดอก  จะออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามปลายกิ่งหรือตรงส่วนยอดของต้นดอกมีสีเหลือง
               ผล   เมื่อดอกร่วงโรยไป ก็จะติดผลซึ่งเป็นฝักบิดงอ มีเมล็ดอยู่ด้านในเป็นไข่ เล็ก ๆ สีแดง มีสันสีดำอยู่ตรงกลางเม็ด

ประโยชน์สมุนไพร
               รสฝาดเฝื่อน ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด เมล็ดและใบ รสเฝื่อนเมา แก้ริดสีดวงทวาร เมล็ด รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ เมล็ดในรสเมาเบื่อ บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืดเนื้อไม้ รสเฝื่อน ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ราก รสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี           

ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). มะกล่ำตาช้าง. สืบค้น 4 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=37&code_db=DB0011&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=37&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,692

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,379

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,459

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,450

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,469

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,067

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,777

นนทรี

นนทรี

ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,650

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 15,282

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,657