พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,597
[16.4892727, 99.5174483,, พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม]
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่วางไว้คือ เพื่อให้คนตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น สังคม การละเล่นพื้นบ้าน ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง สนองปรัชญาโรงเรียน ที่มุ่งเน้นความกตัญญูต่อโรงเรียนและท้องถิ่น
เดิมอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารเรียนเก่าอายุเกือบ 100 ปี (ประมาณ 96 ปี ) ซึ่งแต่เดิมมีโครงการว่าจะรื้ออาคารทิ้ง แต่ ดร.สมปอง สมลักษณ์พงศ์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้น) เกิดความเสียดายเพราะเป็นอาคารที่ท่านเคยเรียนเมื่อตอนเด็ก จึงหาเงินมาซ่อมแซมและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดดำเนินการมา ตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2545 แต่เดิมโรงเรียนได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ข้าวของไว้ ตั้งแต่ปี 2536 เพราะตอนที่สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ได้ขุดพบโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชามสังคโลก ตุ๊กตาสังคโลก ฯลฯ และได้เก็บรวบรวมไว้ในห้องสมุด ต่อมามีนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในการส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาในโรงเรียน จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นอย่างจริงจัง โดยใช้งบประมาณดำเนินการของโรงเรียน และดูแลโดยหมวดศิลปะ
ข้าวของในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้มาจากการขอรับบริจาคจากชาวบ้านในละแวกนี้ และมีการลงทะเบียนวัตถุไว้ ทั้งนี้โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์เมืองร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร มาช่วยแนะนำการลงทะเบียน จัดทำข้อมูล รวมทั้งการจัดวางวัตถุสิ่งของ และจัดระบบทะเบียนวัตถุ โดยให้นักเรียนเป็นผู้ลงทะเบียนเอง ทั้งการลงในกระดาษและในระบบคอมพิวเตอร์
สำหรับพื้นที่จัดแสดง แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ การจัดแสดงในอาคาร และนอกอาคาร ตามลักษณะธรรมชาติของเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 หมวด
1. ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา และความเชื่อ รวบรวมการละเล่นที่กำลังจะสูญหาย และจำลองการละเล่นนั้นๆ ไว้เป็นโมเดล เช่นระบำ ก.ไก่ เป็นการนำอักษรกไก่ – ฮ.นกฮูก มาผูกเป็นเพลง ใช้ร้องเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่มสาว การเล่นแม่ศรี เป็นความเชื่อและการละเล่นเกี่ยวกับการเข้าทรงมักแสดงในช่วงสงกรานต์ การแสดงลิเกป่า มักแสดงในช่วงการลงแขกเกี่ยวข้าวและในงานบวชพระ ระบำคล้องช้าง เป็นการแสดงพื้นบ้านของนครชุมที่เลียนแบบการคล้องช้างป่ามาใช้ลากไม้ นำมาคิดเป็นระบำคล้องช้าง นอกจากนี้ยังมี ประเพณีนบพระเล่นเพลง ลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ ด้านความเชื่อ มีการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่ปรากฏอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ในลวดลายเครื่องปั้นดินเผา ตุ๊กตาเสียกบาล และความเชื่อทางศาสนา เช่นพระเครื่องดินเผา โดยมีพระซุ้มกอกำแพงที่เป็นหนึ่งในเบญจภาคีของพระเครื่องเมืองไทย
2. ภาษา และวรรณกรรม
3. ศิลปกรรมและโบราณคดี กล่าวถึงประวัติเมืองกำแพงเพชร ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวและสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย จึงมีรูปแบบศิลปะคล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องลายครามที่มีรูปแบบเฉพาะของสุโขทัยคือการรับอิทธิพลจากจีน
4. การละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เครื่องดนตรีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและหาได้ในท้องถิ่น
5. ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการจัดแสดงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปิ่นโต จาน ชาม ช้อน เครื่องโม่แป้ง ฯลฯ ภูมิปัญญาในการเก็บรักษาอาหาร และเครื่องมือช่างและเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพท้องถิ่น เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เช่น แอก คันไถ ลูกคุบ เครื่องมือการเก็บเกี่ยว เช่น พายสาดข้าว ใช้คัดเลือกข้าวลีบออกจากข้าวดี และเครื่องมือหาอยู่หากิน เช่นข้องจับปลา สุ่ม ซึ่งสัมพันธ์ไปกับวิถีการทำนา นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื้องใช้อื่นๆ เช่น กบไสไม้ เลื่อย กระดึง ตาชั่งจีน เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ในการบอกเล่าประวัติของโรงเรียนกำแพงเพชรวิทยาคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งประวัติความเป็นมาของโรงเรียนที่เกิดจากการรวมสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน ครูใหญ่คนแรก ครูเก่า ศิษย์เก่า นักเรียนปัจจุบัน ศิษย์เก่าที่กลับมาทำคุณประโยชน์ให้โรงเรียนสมดังปรัชญาของโรงเรียนที่เน้นการกตัญญู และจัดแสดงผลิตภัณฑ์ดีเด่นของชุมชนและโรงเรียน เช่นงานหินอ่อน งานแกะสลัก งานหัตถกรรม งานเป่าแก้ว เครื่องเบญจรงค์ เครื่องเขิน และเครื่องเงิน
นอกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนแล้ว ยังแสดงการบูรณาการความรู้ ตามสาระการเรียนรู้และความสนใจของครู นักเรียน เช่น มุมสะสมพันธุ์พืช จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืช ที่มีและหายากในท้องถิ่น ซึ่งเด็กนักเรียนและครูช่วยกันเก็บและรวบรวม และมีวิธีการอบพืชเพื่อนำเก็บไว้ศึกษา นอกจากนี้มีการอบรมนักเรียนเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในดูแลรักษาพิพิธภัณฑ์ เช่น การดูแลรักษาวัตถุ การทำทะเบียน การจัดทำใบความรู้ การจัดนิทรรศการหมุนเวียนตามเทศกาล วันสำคัญ และมีการจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยนักเรียนจะไปรวบรวมทำรายงานเป็นรูปเล่ม เช่นหัตถกรรมท้องถิ่น พันธุกรรมพืชท้องถิ่น การทำคำบรรยายภาษาอังกฤษ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีนักเรียนทำหน้าที่เป็นมัคุเทศก์น้อยคอยนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย
คำสำคัญ : พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มา : http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=490&CID=45988
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=230&code_db=DB0012&code_type=0012
Google search
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดจันทาราม หมู่ที่ 1 ตำบลลวังแขม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,303
จากประวัติที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานต่อ ๆ กันมา เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมามีองค์ของเจ้าแม่ ซึ่งเป็นองค์ไม้แกะสลักลอยตามน้ำมาโผล่ขึ้นที่บ้านศาลเจ้าแม่ ชาวบ้านได้ร่วมใจกันอัญเชิญองค์เจ้าแม่ขึ้นไว้ที่ศาลเจ้าที่ชาวบ้านช่วยสร้างขึ้นที่ริมฝังแม่น้ำปิงฝั่งบ้านแม่ลาดน้อย ครั้งแรกไม่รู้จะตั้งชื่ออะไร เหตุที่เรียกเจ้าแม่ทอฮูกนั้น จากคำเล่าขานต่อกันมามาเมื่อถึงวันดีคืนดีชาวบ้านในละแวกนั้นได้ยินการทอผ้า ซึ่งดังมาจากทางศาลเจ้า ชาวบ้านจึงตั้งชื่อศาลเจ้านั้นว่า "เจ้าแม่ทอฮูก" นั่นเอง
เผยแพร่เมื่อ 24-05-2022 ผู้เช้าชม 12,968
พิพิธภัณฑ์เรือนไทย หรือ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในประกอบด้วยหมู่เรือนไทยไม้สักทองขนาดใหญ่ หลายหลัง บรรยากาศภายในร่มรื่น ที่สำคัญด้านหลังอาคารเรือนไทย มีกล้วยสายพันธุ์แปลกๆ ให้ชมกว่า 200สายพันธุ์ทีเดียว เรียกว่าเป็นศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,451
พิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดปราสาท ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านโคนใต้ ตำบลคณฑี ระยะห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 22 กิโลเมตร ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ เก็บรวบรวมพระพุทธรูปปางต่างๆ สมัยสุโขทัย อยุธยา และเครื่องสังคโลกจำพวก ถ้วย ชาม เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอาคารสำหรับเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องมือหาปลา เครื่องจักสาน ตำรายาสมุนไพรไทย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 927
สวนกล้วยไม้ภัสนันท์ เป็นฟาร์มกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ผลิตและจำหน่ายกล้วยไม้ตัดดอก กล้วยไม้หายาก เป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนล่าง และเป็นศูนย์รวมพันธุ์กล้วยไม้กว่า 50 สายพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,317
ผ้าทอไทครั่ง คือ ผลผลิตที่เกิดจากการรังสรรค์ของช่างทอผ้า ที่ได้อาศัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน โดยแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน ผ้าซิ่นของชาวไทครั่งมักต่อตีนซิ่นด้วยฝ้ายหรือไหม ตีนซิ่นทอเป็นพื้นสีแดงใช้เทคนิคการจกด้วยฝ้ายหรือไหม สีเหลือง ส้ม น้ำเงิน ขาว เขียว ให้เกิดลวดลายโดยทิ้งพื้นสีแดงไว้ด้านล่างของตีนซิ่น การทอตัวซิ่นนิยมทอด้วยเทคนิคมัดหมี่เส้นพุ่ง ด้วยการย้อมสีเดียวและใช้วิธีการแต้มสีอื่นๆเพิ่มเติม หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “แจะ” เป็นการให้ลวดลายหมี่มีสีสันเพิ่มขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 962
พระที่ศักดิ์สิทธิ์และประชาชนให้ความเคารพศรัทธาเป็นที่เลื่องลือทั้งใกล้และไกล ชาวบ้านเล่าขานกันมามากต่อมากว่าท่านศักดิ์สิทธิ์
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,034
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่วางไว้คือ เพื่อให้คนตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น สังคม การละเล่นพื้นบ้าน ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง สนองปรัชญาโรงเรียน ที่มุ่งเน้นความกตัญญูต่อโรงเรียนและท้องถิ่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,597
ริมฝั่งแม่น้ำสองสี เป็นบริเวณที่เกิดจากแม่น้ำปิงและลำคลองขลุงไหลมาบรรจบกันทำให้เกิดเป็นแม่น้ำสองสี และมีเกาะเป็นแหลมยื่นออกมาในแม่น้ำ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 873
บ้านปางมะนาว (โครงการคลองลาน 2) หมู่ 11 ตำบลปางมะค่า ห่างจากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร 25 กิโลเมตร ประกอบด้วย ชนเผ่าที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างจากคนพื้นราบ มีพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดบ้านพักแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,467