ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้ชม 7,190

[16.2851021, 98.9325563, ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ]

บทนำ
         พิธีเสนเรือน หรือเสนเรือนคือ พิธีเซ่นไหว้ผีเรือนของผู้ไทยดำ ผีเรือนก็คือ ผีบรรพบุรุษ ที่ได้เชิญมาไว้บนเรือน และจัดให้อยู่ ณ มุมห้องหนึ่งที่จัดไว้โดยเฉพาะเรียกว่า “กะล้อห่อง” ซึ่งแปลว่า “มุมห้อง” ซึ่งถือเป็นกลาโหมของบ้าน (ถนอม คงยิ้มละมัย, 2544, น.11)
         ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือญาติสืบสายโลหิตจะแต่งกายแบบธรรมดา และญาติจากการแต่งงานได้แก่ฝ่ายเขยหรือสะใภ้ จะแต่งกายพิเศษด้วยชุด “เสื้อฮี” หรือเสื้อยาวเพื่อเป็น การเคารพผีเรือนและเป็นที่สังเกตให้ผู้มาร่วมงานรู้ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้ ก่อนทำพิธีเสนเรือนจะจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เหล้า หมู 1 ตัว พิธีเสนเรือน เริ่มตั้งแต่ในตอนเช้า โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในห้อง ผีเรือน ผู้เข้าร่วมพิธีได้แก่ญาติที่อยู่ในสิงหรือตระกูลผีเดียวกัน (ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์, 2559, น.40)
         พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็น การกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน 
         มนู สิงห์เรือง (2550, น.48) ได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงประเพณีไทยทรงดำ:กรณีศึกษาประเพณีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำ หมู่ที่ 4 ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงประเพณีเสนเรือน และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงประเพณีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำ หมู่ที่ 4 ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านหนองเต่าดำเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทของจังหวัดพิษณุโลก จากคำบอกเล่าและเอกสารหลักฐานแสดงถึงหมู่บ้านหนองเต่าดำก่อตั้งมาเกือบ 100 ปี ในอดีตและปัจจุบันหมู่บ้านหนองเต่าดำมีสภาพเศรษฐกิจแบบสังคมเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำนาเป็นหลัก ชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำมีความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่เหนือธรรมชาติมาก เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ตนเองและเกิดความสบายใจ ความเชื่อที่มีมาตั้งแต่อดีตจะแฝงไปด้วยคุณค่าและความหมายและจะออกมาในรูปแบบการประกอบพิธีกรรม ปัจจุบันนี้รูปแบบการปฏิบัติพิธีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและให้ความสำคัญกับประเพณีเสนเรือนน้อยลง เพราะว่าชาวไทยทรงดำในปัจจุบันไม่ทราบถึงคุณค่าและความหมายของประเพณีเสนเรือน เพียงแต่ยึดถือและปฏิบัติตามบรรพบุรุษที่เคยประกอบพิธีเท่านั้น สาเหตุเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ปัจจัยที่ทำให้ประเพณีเสนเรือนเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยทางด้านการศึกษา ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านประชากร นอกจากนี้ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
         ในพิธีเสนเรือน ของชาวไทยดำนั้น อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นทั้งเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่แสดงถึงความเคารพและระลึกถึง อีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมด้วย และใช้เลี้ยงแขกที่มาร่วมงานด้วย พิธีเสนเรือนของชาวไทยดำนั้นจะขาดอาหารไม่ได้ 
         ผู้วิจัยเห็นความสำคัญและต้องการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ด้านความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไทยทรงดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรเพราะอาหารของชาวไทยทรงดำในยามภาวะปกติจะไม่แตกต่างจากชาวไทยทั่วไป แต่หากมีพิธีกรรม อาทิ พิธีเสนเรือน เสนเรียกขวัญ เสนผีขึ้นเรือน ฯลฯ จำเป็นต้องมีอาหารพิเศษซึ่งจัดเป็นอาหาร สำหรับงานพิธีดังกล่าวโดยเฉพาะ
         อาหารในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จะต้องมีดังต่อไปนี้
         1. หมู 1 ตัว
         2. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่)
         3. แกงบอน
         4. จุ๊บผัก (ยำผัก)
         5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู)
         6. ไก่ซ้อง (ไก่ที่ต้มในน้ำแกงหน่อส้ม)
         7. เลือดต้า (ลาบเลือดดิบ)
         โดยในการประกอบพิธีเสนเรือนดังกล่าวจะต้องประกอบจากหมู 1 ตัว หากไม่มีอาหารดังที่กล่าวมา จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้  ซึ่งจะขอกล่าวถึงส่วนประกอบและวิธีทำของอาหารดังกล่าว ดังนี้
         1. แกงหน่อส้ม หรือ แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่ (ไก่ซ้อง) ในการแกงหน่อส้มของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของแกงหน่อส้ม ประกอบด้วย
             1. หน่อส้ม (หน่อไม้ดอง)
             2. กะทิ
             3. ไก่ (พร้อมเครื่องใน)
             4. เครื่องแกง ประกอบด้วย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ
             5. น้ำปลา
         วิธีทำ
             1. ต้มหน่อไม้ดองในน้ำเปล่าให้หายกลิ่นหืนและลดความเปรี้ยวลง
             2. ตำเครื่องแกงให้แหลก และใส่กะปิหลังสุด
             3. นำหน่อไม้ดองที่ต้มในข้อที่ 1 ต้มใส่กับกะทิ (หางกะทิ)
             4. หั่นไก่โดยแยกชิ้นส่วนโดยแยกดังนี้ ส่วนหัวและลำคอติดกัน ปีกถึงอก น่อง 2 ข้าง ขา 2 ขา ออกจากตัว มัดร้อยด้วยตอกเป็นพวง ร้อยเครื่องในให้เป็นพวง
             5. ผัดเครื่องแกงกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อไก่ผัดกับเครื่องแกงให้สุก
             6. นำหน่อไม้ที่ต้มกับกะทิใส่ลงไปผัด และเติมน้ำกะทิที่เหลือให้น้ำท่วม เคี่ยวต่อไปจนน้ำเดือด
             7. นำพวงไก่และเครื่องใน ใส่ลงไปในหม้อแกงที่เดือด
             8. ปรุงรสด้วยน้ำปลา
             9. เมื่อพวงไก่และเครื่องในสุกให้นำออกจากหม้อแกงแยกไว้ต่างหากเพื่อทำไก่ซ้องต่อไป
         แกงหน่อส้มที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ความเชื่อของแกงหน่อส้มจะทำให้บ้านนั้นอยู่ดีมีสุข เพราะบ้านของชาวไทยดำในหนึ่งปีต้องมีการดองหน่อไม้ดองไว้กิน หากบ้านใดไม่มีการดองหน่อไม้ดองไว้จะทำให้บ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุข ไม่เจริญ เป็นกุศโลบายที่สั่งสอนลูกหลานของชาวไทยดำให้รู้จักเตรียมตัวไว้สำหรับยามขาดแคลนอาหารในฤดูกาลอื่น เพราะหน่อไม้จะมีเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ชาวไทยดำมีคำเปรียบเทียบว่า “แกงหน่อส้มคือแกงผู้ใหญ่ ต้มฟักคือกำนัน” หากกระทำงานใดจะขาดแกงหน่อส้มไม่ได้ แกงหน่อส้มนี้จึงจะต้องแกงทุกงานที่ชาวไทยดำประกอบขึ้นยกเว้น งานแต่งงานของชาวไทยดำ
         2. ไก่ซ้อง เป็นไก่เสียงทายดูที่ตีนไก่ ถ้าแบออกหรือเกยกัน จะไม่ดี ต้องโค้งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบจะดีหากินขึ้น หากตีนไก่ขยุ้มเนื้อติดมาด้วยแสดงว่าจะเกิดลางร้าย คือ คนในครอบครัวจะเสียชีวิต “ซ้ายผู้มา ขวาผู้อยู่” คือ ซ้ายเป็นตัวแทนของหมอประกอบพิธี ขวาคือบ้านของคนที่เสนเรือน
         3. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู)
         ส่วนประกอบของต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู ประกอบด้วย
             1. ฟักเขียว
             2. กระดูกหมู
             3. ต้มหอม ผักชี
             4. เกลือ
         วิธีทำ
             1. นำกระดูกหมูหั่นเป็นชิ้นแล้วนำไปต้มเพื่อนำไขมันออกแล้วตักพักไว้
             2. ตั้งหม้อต้มน้ำจนเดือด ใส่เกลือลงไป
             3. นำหมูที่ต้มแล้ว ใส่หม้อต้มเคี่ยวจนสุก
             4. นำฟักใส่ลงไปต้มกับหมูจนสุก
             5. นำหอม ผักชี หั่นแล้วโรยในหม้อต้มเพื่อเพิ่มความหอม
         การต้มมะแฟงใส่กระดูกหมูที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้การทำมาหากินดีขึ้น ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         3. แกงบอน แกงบอนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของแกงบอน ประกอบด้วย
             1. บอนหวาน
             2. หมูสามชั้น
             3. เครื่องแกง ประกอบด้วย พริก หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ กะปิ มะแข่น
             4. กะทิ (หัวกะทิ)
             5. น้ำปลา หรือเกลือ
             6. น้ำตาลปี๊บ
             7. มะขามเปียก
         วิธีทำ
             1. ปอกบอนแล้วหั่น ล้างให้สะอาดแล้วนึ่งให้สุก
             2. นำเครื่องแกงที่โขลกแล้วผัดกับหัวกะทิขลุกขลิก นำหมูที่หั่นแล้วลงไปผัดกับเครื่องแกง
             3. แล้วเติมกะทิพอท่วมเนื้อหมูจนเดือดแล้วใส่บอนที่นึ่งลงไป
             4. ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก
             แกงบอนที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้ชีวิตราบรื่น ไม่มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดแกงบอน จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         4. จุ๊บผัก ของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของจุ๊บผัก ประกอบด้วย
             1. ผักหวาน
             2. ถั่วฝักยาว
             3. เห็ดลม
             4. เครื่องยำ ประกอบด้วย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม มะแข่น ข่า ตะไคร้
             5. น้ำปลาร้า
         วิธีทำ
             1. คั่วเครื่องยำให้หอม
             2. ตำเครื่องยำที่คั่วแล้วให้ละเอียด
             3. นึ่งผักหวาน ถั่วฝักยาว และเห็ดลมให้สุก
             4. นำผักที่นึ่งสุกแล้วมาหั่นให้ละเอียด
             5. นำผักที่หั่นคลุกเล้ากับเครื่องยำ และปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าต้มสุก
         จุ๊บผักมีความเชื่อว่า เป็นตัวแทนของอาหารทุกอย่าง อาหารในการเซ่นบรรพบุรุษแต่ละคน จะเป็นจุ๊บที่ทำจากหมูเป็นชิ้น แต่คนร่วมงานกินจุ๊บที่เป็นหมูสับ

บทสรุป
         อาหารของชาวไทยดำในพิธีเสนเรือน จะต้องประกอบจากหมูหนึ่งตัว โดยมีรายการอาหารที่ต้องกระทำทุกครั้งที่กระทำพิธีเสนเรือนคือ 1. หมู 1 ตัว 2. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) 3. แกงบอน  4. จุ๊บผัก (ยำผัก) 5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู) 6. ไก่ซ้อง (ไก่ที่ต้มในน้ำแกงหน่อส้ม) 7. เลือดต้า (ลาบเลือดดิบ)   
         ความเชื่อที่ปรากฏในอาหารของชาวไทยดำมีดังนี้
         1. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) แกงหน่อส้มที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ความเชื่อของแกงหน่อส้มจะทำให้บ้านนั้นอยู่ดีมีสุข เพราะบ้านของชาวไทยดำในหนึ่งปีต้องมีการดองหน่อไม้ดองไว้กิน หากบ้านใดไม่มีการดองหน่อไม้ดองไว้จะทำให้บ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุข ไม่เจริญ เป็นกุศโลบายที่สั่งสอนลูกหลานของชาวไทยดำให้รู้จักเตรียมตัวไว้สำหรับยามขาดแคลนอาหารในฤดูกาลอื่น เพราะหน่อไม้จะมีเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ชาวไทยดำมีคำเปรียบเทียบว่า “แกงหน่อส้มคือแกงผู้ใหญ่ ต้มฟักคือกำนัน” หากกระทำงานใดจะขาดแกงหน่อส้มไม่ได้ แกงหน่อส้มนี้จึงจะต้องแกงทุกงานที่ชาวไทยดำประกอบขึ้นยกเว้น งานแต่งงานของชาวไทยดำ
         2. แกงบอน ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้ชีวิตราบรื่น ไม่มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดแกงบอนจะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         3. จุ๊บผัก (ยำผัก) ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน  บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ จุ๊บผักมีความเชื่อว่า เป็นตัวแทนของอาหารทุกอย่าง อาหารในการเซ่นบรรพบุรุษแต่ละคน จะเป็นจุ๊บที่ทำจากหมูเป็นชิ้น แต่คนร่วมงานกินจุ๊บที่เป็นหมูสับ
         4. ไก่ซ้อง ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ เป็นไก่เสียงทายดูที่ตีนไก่ ถ้าแบออกหรือเกยกัน จะไม่ดี ต้องโค้งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบจะดีหากินขึ้น หากตีนไก่ขยุ้มเนื้อติดมาด้วยแสดงว่าจะเกิดลางร้าย คือ คนในครอบครัวจะเสียชีวิต “ซ้ายผู้มา ขวาผู้อยู่” คือ ซ้ายเป็นตัวแทนของหมอประกอบพิธี ขวาคือบ้านของคนที่เสนเรือน
         5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู) ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้การทำมาหากินดีขึ้น ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         จากการลงเก็บข้อมูลเรื่องความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำนั้น มีรูปแบบการทำที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง คือต้องประกอบอาหารจากหมูที่ทำพิธีเสนเรือนเท่านั้น อาหารที่ใช้พิธีเสนเรือนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ หากไม่มีหรือไม่ครบก็ไม่สามารถกระทำพิธีเสนเรือนได้ ได้แก่ แกงหน่อส้มใส่ไก่ (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) ไก่ซ้อง ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู แกงบอน จุ๊บผักและเลือดต้า
         จะเห็นได้ว่าอาหารของชาวไทยดำ บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร มีลักษณะคล้ายกับอาหารของคนภาคกลาง แต่อาหารของชาวไทยทรงดำมีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งส่วนประกอบและวิธีทำ ชาวไทยทรงดำยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ และยังคงความภาคภูมิในความเป็นชาติพันธุ์ไทยดำ เราสามารถเห็นอาหารของชาวไทยดำได้ในงานพิธีกรรมหรืองานทางการต่าง ๆ ของชาวไทยดำ ที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้น ในฐานะที่เราเป็นคนนอกที่มองเห็นวัฒนธรรมของชาวไทยดำ มิควรที่จะปรับเปลี่ยน แต่ควรช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริม เพราะเป็นภูมิปัญญาและคติคำสอนที่ดีของแต่ละสังคมให้ดำรงอยู่บนรากเหง้าที่แท้จริง

คำสำคัญ : ความเชื่อ พิธีกรรมเสนเรือน ชาวไททรงดำ

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2097&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2097&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 49

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 16,980

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,834

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,058

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 14,600

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 8,219

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,558

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 62

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,267

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,190