ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 1,833

[16.4789144, 98.4479731, ฮ้านน้ำ]

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ด้วยว่าในอดีตนั้นการสัญจรเดินทางนั้น มักจะเดินด้วยเท้าไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ นั้นไหลรื่นสะดวกขึ้น จากที่เคยติดขัดก็จะราบรื่น จากที่เคยมาแบบกระเซ็นกระสายก็จะไหลมาเทมาไม่หยุดยั้ง

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเจ้าของฮ้านน้ำหม้อจะคอยดุแลขัดถูทำความสะอาดสวยงาม ตักน้ำสะอาดใส่จนเต็มและคอยเต็ม มิให้พร่องลงไปมากหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก ๆ วัน เพื่อให้น้ำสะอาดน่าดื่มอยู่เสมอ เพราะการดูแลฮ้านน้าหม้อให้สะอาดและมีน้ำเต็มอยู่เสมอ ถือเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้าน และในยามศึกสงครามฮ้านน้ำหม้อนั้นยังทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับแสดงฝ่ายหรือส่งข่าวสำหรับทหารไทยด้วย โดยจะสังเกตที่ด้ามน้ำบวย (กระบวยน้ำ) จะมีการแกะสลักเป็นรูปสัตว์หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกว่าบ้านหลังนี้เป็นทหารฝ่ายไทย     

วัฒนธรรมการให้ทานน้ำนั้นได้เริ่มจางหายไปจากสังคมไทยที่ละนิด เพราะบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เดี๋ยวนี้กระหากหิวน้ำก็จะต้องซื้อเอา หรือไปไหนก็ต้องพกขวดน้ำติดตัวไปด้วย อีกอย่างมีโรคภัยเกิดขึ้นมากมายหลายชนิดเกิดจากการใช้ภาชนะร่วมกัน ทำให้ไม่มีใครกล้าใช้กระบวยหรือแก้วซ้ำ ๆ กัน และน้ำที่มีอยู่ในหม้อคนมักไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือไม่ เนื่องจากน้ำบ่อหรือน้ำฝนไม่สะอาดเหมือนแต่ก่อน แม้วัฒนธรรมฮ้านน้ำหม้อหายไปจากสังคมไทย คงเหลือแต่ชั้นวางหม้อน้ำประดับหน้าบ้านเพียงเท่านั้น แต่คนไทยยังคงมีน้ำใจบริการน้ำอยู่ด้วยว่า “อานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ของการทำบุญด้วยน้ำ”

 

คำสำคัญ : หม้อน้ำดื่ม

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ฮ้านน้ำ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2037&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2037&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 903

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองปู่จา, กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,603

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,189

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 718

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,182

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,833

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 968

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,088

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 686

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 9,496