วัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพระนารายณ์มหาราช

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 922

[16.4478644, 99.5117436, วัดพระนารายณ์มหาราช]

      วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ใจกลางเมือง ติดกับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเสกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ
      พ.ศ.2478 พระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ได้ทำรายงานเสนอ พระยากำธรพายัพทิศ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา ให้ขอพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานยกฐานะเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2478 ในสมัยรัชกาลที่ 8 มีนามเต็มว่า "วัดกลางนคร วรวิหาร" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
      วัดนี้เคยเป็นที่ตั้ง โรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา (โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สมัยเมื่อเริ่มตั้งใหม่ๆ) เคยเป็นที่พำนักของเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ในอดีตหลายรูป เคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้ และในปัจจุบันวัดพระนารายณ์ ยังมีศิลปะวัตถุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยา และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด พระวิหารหลวงและเทวรูปพระนารายณ์สี่กร เป็นเทวรูปยืนสูงสิบเจ็ดนิ้ว จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด

 

คำสำคัญ : วัดพระนารายณ์มหาราช, บุคคลสำคัญ

ที่มา : https://sites.google.com/site/hiwphranimeuxngkhorach/4-wad-rxb-meuxng/wad-phra-narayn-mharach

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดพระนารายณ์มหาราช. สืบค้น 28 มีนาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1840&code_db=610009&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1840&code_db=610009&code_type=TK001

Google search

Mic

เจดีย์คู่

เจดีย์คู่

เป็นเจดีย์คู่กัน 2 องค์นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมเห็นจะมีเจดีย์คู่สร้างไว้แต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวร มหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อคราวตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทย ชะรอย ของเดิมคงจะชํารุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดให้บูรณะขึ้นใหม่ แล้วทํา ช่องตามประทีปไว้ที่ฐานเจดีย์ตามแบบอย่างที่พระองค์โปรด

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 641

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,559

 วัดโพธาราม

วัดโพธาราม

ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๒ บ้านปากคลองน้อย ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓๙.๕๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๙ เป็นหลักฐาน และมีที่ ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๕ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๗๑

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 823

วัดโป่งแดง

วัดโป่งแดง

วัดโป่งแดง ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งแดง หมู่ที่ ๒ ตำบลโป่งแดง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗๒ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินนายจวน ทิศใต้ติดต่อกับถนนไปยังบ้านน้ำดิบ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนายแอ๊ว

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 725

วัดมะเขือแจ้

วัดมะเขือแจ้

วัดมะเขือแจ้ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๑ บ้านเสาสูง ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๘ ไร่ ๓ งาน ๒๑ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับถนนท่าเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนเทศบาลไปเกาะลอย ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๘๖๕ เป็นหลักฐาน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,626

วัดดงปู

วัดดงปู

วัดดงปู ตั้งอยู่ที่บ้านดงปู หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 70 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 52 วา ติดต่อกับถนนสายตาก – แม่สอด ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับที่ดินของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด ทิศตะวันออกยาว 66 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 56 วา ติดต่อกับที่นาของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด โดยมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 136 เป็นหลักฐาน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,143

 วัดบ้านเด่น

วัดบ้านเด่น

วัดบ้านเด่น ตั้งอยู่ที่บ้านเด่น ถนนยุทธหัตถี หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบัวเหนือ อ.เมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตาราวาง อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของนายเคลื่อน ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของนายจันทร์ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนยุทธหัตถี ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนางย่น แก้วมหาวงษ์

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 750

วัดเขาถ้ำ

วัดเขาถ้ำ

วัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่ที่บ้านแพะ ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 6 ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 82 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 304 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนางอมรา และนายธรรม ทิศใต้ยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันออกยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันตกยาว 505เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายชัยไชย์ โคติบุลโล

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 387

วัดสวนกลางดอกไม้

วัดสวนกลางดอกไม้

วัดกลางสวนดอกไม้ ตั้งอยู่ บ้านปากห้วยแม่ท้อ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พศ. 2459 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดกลางสวนดอก” บ้างก็เรียกว่า “วัดสวนดอกไม้” พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบต่ำจึงมักถูกน้ำท่วมประจำ สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาหมู่บ้านและภูเขา อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 ชั้น กุฎีสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ หอฉัน วิหาร และมีหอระฆัง สำหรับ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปปางสมาธิจำนวน 7 องค์ อยู่ในวิหาร เจดีย์ 2 องค์

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 669

วัดท่านา

วัดท่านา

วัดท่านา ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านหนองบัวใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๖๐ วา ติดต่อกับที่ธรณีสงฆ์ ทิศใต้ยาว ๖๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัดสายตาก – บ้านตาก ทิศตะวันออกยาว ๒๔๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด ทิศตะวันตกยาว ๒๔๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๖๓๙,๒๔๔๓

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 790