เพกา

เพกา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 4,970

[16.4258401, 99.2157273, เพกา]

เพกา ชื่อสามัญ Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower

เพกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

สมุนไพรเพกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน) เป็นต้น

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก)

ฝักอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินซีถึง 484 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ และยังประกอบไปด้วยมีวิตามินเอสูงถึง 8,300 มิลลิกรัม (ซึ่งพอ ๆ กับตำลึงเลยทีเดียว), ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, โปรตีน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, เส้นใย 4 กรัม

ยอดอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.7 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.4 มิลลิกรัม, โปรตีน 6.4 กรัม, ไขมัน 2.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม และให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี

เพกา มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก !

ตามความเชื่อของคนโบราณนั้นห้ามปลูกเพกาไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากฝักของเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจเลือกตกยางออกได้ และเพกายังเป็นชื่อเรียกของเหล็กประดับยอดพระปรางค์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายฝักของเพกา จึงถือว่าเป็นของสูงไม่คู่ควรแก่การนำมาปลูกไว้ในบ้าน แต่ถ้าจะไปปลูกไว้ตามไร่ตามสวน หรือรั้วบ้านก็คงจะไม่เป็นไร

สรรพคุณของเพกา

  1. สมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่าง ๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
  2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
  5. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก, ฝักอ่อน, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
  8. การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก, ยอดอ่อน)
  9. ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  11. ช่วยขับเลือด ดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
  12. การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
  13. ใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
  14. ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
  15. ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
  16. ช่วยแก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด (เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  17. ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  18. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 - 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เมล็ด)
  19. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 - 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เปลือกต้น, เมล็ด)
  20. ช่วยแก้อาการอาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)
  21. ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก)
  22. ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
  23. ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด (เมล็ด)
  24. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
  25. ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น)
  26. ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น, ราก)
  27. ช่วยรักษาท้องร่วง (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  28. ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น, ใบ)
  29. ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง (เมล็ด)
  30. ช่วยในการขับผายลม (ฝักอ่อน)
  31. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  32. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  33. ช่วยลดการอักเสบ อาการแพ้ต่าง ๆ (เปลือกต้น)
  34. ใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  35. ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  36. ช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบ ๆบริเวณที่เป็นฝี (เปลือกต้น)
  37. ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  38. ใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (เปลือกต้น)
  39. ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  40. เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูทดลอง (เปลือกต้น)
  41. เปลือกต้นผสมกับสุราใช้กวาดปากเด็ก ช่วยแก้พิษซางได้ (เปลือกต้น)
  42. แก้โรคไส้เลื่อน (ลูกอัณฑะลง) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนำไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง (เปลือกต้น)
  43. ช่วยแก้องคสูตร (โรคที่เกิดเฉพาะในบุรุษ มีอาการเจ็บที่องคชาตและลูกอัณฑะ) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  44. ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  45. เปลือกต้นตำผสมกับสุราใช้ฉีดพ่นตามตัวหญิงคลอดบุตรที่ทนอาการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา (เปลือกต้น)
  46. ช่วยแก้ละอองขึ้นในปาก คอ และลิ้น หรืออาการฝ้าขาวที่ขึ้นในปาก (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  47. ช่วยขับน้ำคาวปลา (เปลือกต้น)
  48. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  49. ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก (ฝักอ่อน)
  50. เชื่อว่าการกินเพกาจะไม่ทำให้เจ็บป่วย มีเรี่ยวมีแรงและช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย (ฝัก)
  51. ผงเปลือกผสมกับขมิ้นชัน ใช้เป็นยาแก้ปวดหลังของม้าได้ (เปลือก)
  52. ใช้เมล็ดเพกาผสมกับน้ำจับเลี้ยงดื่ม จะช่วยทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมน่าดื่มมากขึ้น และจะช่วยทำให้ชุ่มคอและรู้สึกสดชื่น (เมล็ด)
  53. การใส่เปลือกต้นเพกาลงไปในอาหารจะช่วยแก้เผ็ด แก้เปรี้ยวได้ (ใส่เปลือกต้นผสมกับมะนาว มะนาวก็ไม่เปรี้ยว) (เปลือกต้น)
  54. เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน (เปลือกต้น)
  55. เนื้อไม้ของเพกามีสีขาวละเอียด มีความเหนียว เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำงานแกะสลักต่างๆ
  56. นิยมรับประทานฝักอ่อนหรือยอดอ่อนของเพกาเป็นผัก ส่วนดอกนิยมนำมาต้มหรือลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ หรือจะนำฝักอ่อนไปหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ ทำเป็นแกง ผัด (ฝักมีรสขม ต้องนำไปเผาไฟให้สุกจนผิวนอกไหม้เกรียม และขูดผิวที่ไหม้ไฟออกจะช่วยลดรสขมได้)
  57. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของยาสมุนไพรสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่าแคปซูลเพกาก็สะดวกไปอีกแบบสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก

คำสำคัญ : เพกา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เพกา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1760&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1760&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,162

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,601

นนทรี

นนทรี

ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,325

ม่อนไข่

ม่อนไข่

ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,535

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,767

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,449

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,542

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 6,290

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,189

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,138