ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 3,880

[16.4258401, 99.2157273, ผักเป็ดน้ำ]

ผักเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Alligator weed

ผักเป็ดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera philoxeroides (Mart.) Griseb. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ผักเป็ดน้ํา ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า ผักเป็ด (ทั่วไป), คงซิมเกี่ยง (จีน-แต้จิ๋ว), คงซินเจี้ยน คงซินเหลี่ยนจื่อเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผักเป็ดน้ำ

  • ต้นผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อ ๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ 
  • ใบผักเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ โดยจะออกตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตามขอบใบทั้งสองด้าน เส้นกลางใบนูน แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น 
  • ดอกผักเป็ดน้ำ ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามส่วนยอดของลำต้นหรือตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกจะกลมคล้ายถ้วย กลีบดอกเป็นสีขาวเรียงซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน และเกสรเพศเมีย 1 ก้าน 
  • ผลผักเป็ดน้ำ ผลมีลักษณะแบนกลมรี ขอบหนาและเป็นหนาม ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด 

สรรพคุณของผักเป็ดน้ำ

  1. ช่วยรักษาวัณโรค ชนิดที่ไอเป็นเลือด ให้ใช้ต้นสดผสมกับน้ำตาลกรวดแล้วตุ๋นกับน้ำรับประทาน ซึ่งจะใช้ประมาณ 120 กรัมและ 15 กรัม (ต้น)
  2. ช่วยแก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบี (ทั้งต้น) หรือหากนำมาปรุงเป็นยาฉีดก็จะใช้รักษาโรคไข้สมองอักเสบและไข้เลือดออกในระยะแรกได้ (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้หัด ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
  4. ช่วยแก้ไข้หวัดระบาดตัวร้อน ด้วยการใช้ต้นสด 40-75 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ต้น)
  5. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น) ใช้แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 75-100 กรัมนำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วนำมารับประทาน (ต้น)
  6. ช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  7. ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)
  8. ช่วยแก้ตับอักเสบชนิดเอ (ทั้งต้น)
  9. ช่วยแก้อีสุกอีใส (ทั้งต้น)
  10. ใช้ภายนอกแก้งูสวัด ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
  11. ใช้รักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปตุ๋นกับน้ำรับประทาน (ต้น)
  12. ช่วยรักษาโรคผิวหนังผดผื่นคัน ฝีหนอง (ทั้งต้น)
  13. ใช้รักษาแผลมีน้ำเหลืองหรือเป็นผดผื่นคัน ให้ใช้ต้นสดผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาตำให้เข้ากัน คั้นเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
  14. หากเป็นฝี ให้ใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับน้ำผึ้งทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
  15. ใช้แก้พิษงูหรือถูกงูกัด ให้ใช้ต้นสดประมาณ 150-250 กรัมนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือนั้นให้เอามาพอกบริเวณที่ถูกงูกัด (ต้น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเป็ดน้ำ

  • ทั้งต้นจะมีสาร 7α-L-rhamnosyl-6-methoxyluteolin และมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อพวกปลา โดยซาโปนิน ถ้าทำการย่อยแล้วจะได้น้ำตาล 3 ชนิด ได้แก่ กลูโคส แรมโนส และไรโบส นอกจากนี้ยังพบว่ามีกรดโอลีอะโนลิค (Oleanolic acid) ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตได้
  • ถ้านำสารที่สกัดได้จากผักเป็ดน้ำมาทำเป็นยาฉีดชนิด จะมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ Enecphalitis virus type B, Hepatitis virus type A, Rabies virus และเป็นยาฉีดที่มีพิษน้อยมาก
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่ามีพิษน้อยมาก เพราะเมื่อนำมาทดสอบกับหนูในขนาดที่เกินกว่า 455.4 กรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าทางเส้นเลือด จะทำให้หนูทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตาย (สรุปก็คือ หากใช้ในปริมาณที่เกินกว่า 455.5 ซีซีต่อหนึ่งกิโลกรัม ถึงจะทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย)
  • เมื่อใช้ยาสดในขนาด 20 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมมาสกัดทำเป็นยาฉีด โดยแบ่งฉีดวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน 1-4 เดือน พบว่าจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 613 คน พบว่าผู้ป่วย 596 คน หายดีเป็นปกติ และอีก 17 คน มีอาการดีขึ้น

ประโยชน์ของผักเป็ดน้ำ

  • ยอดอ่อนของผักเป็ดน้ำสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ เช่น การนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือนำไปชุบแป้งทอดกับไข่

ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรผักเป็ดน้ำ

  • หากต้นผักเป็ดน้ําเจริญเติบโตในแหล่งน้ำที่เป็นพิษ ห้ามนำมาใช้เด็ดขาด เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 

คำสำคัญ : ผักเป็ดน้ำ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักเป็ดน้ำ. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1712&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1712&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,493

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 20,720

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,434

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 9,461

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,168

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,718

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,324

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,826

ชะพลู

ชะพลู

ชะพลู (Wildbetal Leafbush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก นมวา ส่วนภาคอีสานเรียก ผักอีไร หรือช้าพลูต้น และภาคเหนือเรียก ผักปูนก, พลูนก หรือพลูลิง เป็นต้น ซึ่งต้นชะพลูนี้หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นพลูที่ไว้รับประทานกับหมาก ด้วยชื่อและลักษณะที่คล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน ต้นชะพลูนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าต้นพลู ส่วนใบพลูจะมีรสจัดกว่าชะพลู โดยต้นชะพลูนี้มักชอบขึ้นในพื้นที่ลุ่มที่มีความชื้น และขยายพันธุ์โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,381

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 13,354