การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 811
[16.2844429, 9325649, การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา]
.jpg)
ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม
วันที่ 1 ผู้หญิงก็จะออกไปตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาประกอบพิธีกรรมในบ้านของตน น้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อ่าข่าเรียกว่า “อี้จุ อีซ้อ” หมายถึงน้ำบริสุทธิ์ และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก ข้าวปุ๊กหรือห่อถ่องคือข้าวที่ได้จากการตำอย่างละเอียด โดยก่อน ที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จ หรือได้ที่แล้วก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็นึ่งต่อระหว่างที่รอข้าวสุก ก็จะมีการตำงาดำผสมเกลือไปด้วยเพื่อไม่ให้ ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้น ข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำพิธีเช่นกัน วันนี้ทั้งวันจะเป็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งนั้น ซึ่งสถานที่ในการทำพิธีกรรมก็จะเป็นทางฝั่งผู้หญิง ที่หิ้งผีบรรพบุรุษ “เปาะเลาะเปาะทุ”
วันที่ 2 วันนี้เป็นวันที่เด็กๆ จะทำเครื่องมือที่ใช้ในการไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านหรือชุมชน หลังจากที่ทำเครื่องมือเสร็จ เด็กๆ ก็จะพากันไปตะโกนไล่ตามบ้านต่างๆ ในวันนี้เด็กๆ ก็จะไล่กันจนถึงเย็น ส่วนทางผู้นำศาสนาก็จะมีการทำพิธี “โจ่ว ยอง ล้อ” คือเป็นการไหว้ครูในตำแหน่ง และมีการเลี้ยงอาหารแขก ซึ่งตำแหน่ง “โจ่วมา” จะประกอบพิธีไหว้ครูในพิธีนี้เท่านั้น ในพิธีก็จะมีการฆ่าหมู และผู้เฒ่าผู้แก่อวยพรให้กัน และกัน เมื่อถึงตอนเย็น เด็ก และผู้ใหญ่ก็จะมารวมตัวกันที่บ้านของผู้นำศาสนา “โจ่วมา” และนำดาบที่แกะสลักทั้งหลาย แล้วเดินออกไปปักไว้ทางเข้าประตูหมู่บ้าน โดยก่อนทีจะมีการปัก ก็จะมีการยิงปืนครั้งใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “ค้องแย๊จู่เออ” คือการรวมตัวยิงปืน เป็นการส่งท้าย
เมื่อยิงปืนสร็จก็จะนำดาบใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “เตาะมา” ที่เป็นคู่ใหญ่ทำเสาพาด สิ่งนี้จะเป็นตัวที่ป้องกัน ไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในหมู่บ้านอีก ส่วนดาบเล็กๆ ก็ปักไว้ข้างๆ เสาประตูหมู่บ้าน เสร็จจากนี้ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน พอตกเย็น ก็จะมีการทำพิธี “ อ่าเผ่ว ล้อก่องอุเออ” คือการทำความสะอาด เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ และเก็บเข้าตู้บรรจุ เป็นอันว่าเสร็จพิธีไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน “ค้องแย๊อ่าเผ่ว”
คำสำคัญ : เทศกาลค๊องแย๊อ่าเผ่ว
ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/1461
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=170&code_db=DB0011&code_type=F001
Google search
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,495
นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 3,354
กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,207
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 2,047
ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,180
ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 6,585
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,251
ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,611
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 576
พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 178