พระท่ามะปราง
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 1,681
[17.1592708, 98.7931567, พระท่ามะปราง]
ชื่อ :
ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปี พ.ศ.1805 รัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชโอรส ยกทัพไปกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงมหา ราชทรงมีชัยในการกระทำยุทธหัตถี จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "เจดีย์ยุทธหัตถี" บนดอยสูง ข้างวัดพระบรมธาตุ (เมืองตากเก่า ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านตาก) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
ประวัติความเป็นมา :
ในสมัยกรุง ศรีอยุธยาเป็นราชธานี รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อพม่า ณ เมืองแครง แล้วทรงยกทัพเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา ซึ่งเป็นด่านสำคัญในดินแดนเมืองตาก (ปัจจุบันคือ อำเภอแม่สอด) จากนั้นทรงย้ายเมืองตากจากที่ตั้งเดิมลงมาทางใต้ตามลำน้ำปิงประมาณ 25 กิโลเมตร มาตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองตากในปัจจุบัน ส่วนเมืองตากเก่ายังคงมีซากเมือง วัดเก่า และพระเจดีย์ยุทธหัตถี ปรากฏเป็นร่องรอยความทรงจำแห่งประวัติศาสตร์อยู่จนถึงปัจจุบัน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯ ให้ยกทัพไปชุมนุมไพร่พลที่เมืองตาก เพื่อเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมือง ยังคงปรากฏหลักฐานให้เห็น ณ ปัจจุบัน คือ วัดพระนารายณ์ เชิงสะพานกิตติขจร
ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระนั่งสุริยาศน์อมรินทร์) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ "สิน" (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) มหาดเล็กในกรมมหาดไทยสมัยนั้น เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลับมามีความดีความชอบ จึงพระราชทานตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ขึ้นไปรับราชการที่เมืองตาก และเมื่อพระยาตากถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตากปกครองเมืองตากสืบต่อ และต่อมาเมื่อพระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรถึงแก่อนิจกรรม ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาตาก (สิน) ขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ ปกครองเมืองกำแพงเพชร จนถึงปี พ.ศ.2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า พระยาวชิรปราการได้รวบรวมไพร่พล กอบกู้เอกราช และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี
จากเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า "เมืองตาก" นั้น มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังนั้น นอกจากเหนือจากซากปรักหักพังของโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังคงอยู่ให้เห็น เป็นอนุสรณ์แล้ว เป็นที่แน่แท้ว่าจะต้องมี "พระเครื่อง" ที่มีการสร้างกันมาตั้งแต่อดีตอย่างแน่นอน โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านตาก ซึ่งเป็นเมืองตากดั้งเดิม มีการแตกกรุออกมามากมายหลายพิมพ์ทรง ส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา มีทั้งเนื้อชินเงิน และเนื้อตะกั่วสนิมแดง ซึ่งขนานนามตามชื่ออำเภอกันว่า "พระกรุบ้านตาก" อันนับพระกรุเก่าที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และทรงพุทธคุณเป็นเลิศเน้นไป ทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด มีอาทิ พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน, พระซุ้มยอ เนื้อชินเงิน, พระซุ้มยอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง, พระพิจิตร เนื้อชินเงิน, พระพิจิตร เนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระงบน้ำอ้อย ฯลฯ
คำสำคัญ : พระ พระท่ามะปราง โบราณวัตถุ
ที่มา : https://www2.g-pra.com/auctionc/view.php?aid=19996109
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). พระท่ามะปราง. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=848&code_db=610012&code_type=TK005
Google search
จังหวัดตาก จังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งของไทย ที่มีชื่อระบุในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านตาก ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองตากในสมัยโบราณ บางตอนของประวัติศาสตร์ชาติไทยในหลายยุคสมัย ที่เกี่ยวข้องกับเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,681