ภาษาถิ่นลานกระบือ
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้ชม 7,363
[16.6172991, 99.7389869, ภาษาถิ่นลานกระบือ]
ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นหนึ่งของประเทศไทย ในประเทศไทยมีภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นเหนือ ที่เรียกกันว่าภาษาล้านนา ภาษาถิ่นเป็นภาษาเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างผิดเพี้ยนไปจากภาษากลาง และความแตกต่างนั้น มักเป็นระบบ เช่น คำที่ใช้ภาษากรุงเทพฯใช้ ร ภาษาเหนือจะเป็น ฮ เช่นคำว่า รัก เป็นฮัก คำว่า เรือน เป็นเฮือน คำว่า ร้อง เป็น ฮ้อง เป็นต้น ในแต่ละภาษาถิ่น จะมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในภาษาไทย เพราะเป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราวประสบการณ์ และวัฒนธรรม ทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อเป็นมรดกของชาติสืบไป
ลานกระบือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มี น้ำมันอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน มีหัตถกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่มีความเหมือนและคล้ายกับภาษาถิ่นทั้งของพรานกระต่ายและสุโขทัย จากหนังสือที่ระลึกวันเปิดอาคารเทศบาลตำบลพรานกระต่าย ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นว่า ภาษาไทยบนถนนพระร่วง หมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างสองข้างทางบนถนนนี้ และมีวิวัฒนาการทางภาษาจนเป็นเอกลักษณ์ มีสำเนียงแตกต่างกันบ้างตามสภาพของท้องถิ่นนั้น จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ที่ใช้ภาษา พรานกระต่ายจะมีอยู่ทั่วไปบริเวณอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย อำเภอ ลานกระบือ อำเภอเมืองตาก อำเภอกงไกรลาศ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอ บ้านด่านลานหอย
ดังนั้นภาษาถิ่นลานกระบือ จึงมีลักษณะคล้ายและเหมือนกับภาษาถิ่นของอำเภอต่างๆ ตามที่คณะสำรวจกล่าวถึง แต่ภาษาถิ่นลานกระบือจะมีพยัญชนะบางคำที่ออกเสียงเพี้ยนไป เช่น พยัญชนะ ซ จะออกเสียง เป็น ช เช่น
ช่วย
|
ออกเสียงเป็น
|
ซ่วย
|
โซ่
|
“
|
โช่
|
ผู้ชาย
|
“
|
ผู้ซาย
|
ซ้าย
|
“
|
ช้าย
|
ลักษณะของภาษาถิ่นลานกระบือ จะเป็นลักษณะคล้ายกับภาษาถิ่นของสุโขทัยมากกว่าภาษาถิ่นพรานกระต่าย แต่ก็ไม่แตกต่างจากภาษาถิ่นพรานกระต่ายมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความใกล้ชิดกันทางด้านภูมิประเทศ และเครือญาติใกล้ชิดกัน
ตัวอย่างคำภาษาถิ่นลานกระบือ เช่น
ล้มกลิ้งลงกับพื้น
|
ภาษาถิ่นพรานกระต่าย คือ
|
กลิ้งขะหลุน
|
ล้มกลิ้งลงกับพื้น
|
ภาษาถิ่นลานกระบือ คือ
|
คว่ำข้าวเม่า
|
ก้อนดินในทุ่งนา
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
ก้อนขี้แต้
|
รถมอเตอร์ไซด์
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
รถเครื่อง
|
เล่นหมากเก็บ
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
เล่นหมากเก้บ
|
ตรงโน้น
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
โด๋น่ะ
|
ใกล้
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
โด๋นิ
|
จอบขุดดิน
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
กระบ๊ก
|
ตุ๊กแก
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
ตอดตอ
|
ลูกน้ำ
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
ตุ๊กกะเดี้ย
|
เป็นหลุมบ่อหลุมใหญ่
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
กระบวก
|
เป็นหลุมบ่อเล็ก
|
ภาษาถิ่นลานกระบือคือ
|
กระบั๋ว
|
ลักษณะของภาษาถิ่นลานกระบือ คือ
1. เป็นวัฒนาธรรมทางภาษา ใกล้เคียงกับภาษากลาง มีแตกต่างและเพี้ยนไปจากภาษากลาง เช่นเดียวกับภาษาถิ่นของอำเภอพรานกระต่าย เช่น
เสื่อ |
เพี้ยนเป็น
|
เสือ
|
เสือ |
เพี้ยนเป็น
|
เสื่อ
|
ข้าวสาร |
เพี้ยนเป็น
|
ข้าวส่าน
|
หนังสือ |
เพี้ยนเป็น
|
นั้งสื่อ
|
คนสวย |
เพี้ยนเป็น
|
คนส่วย
|
มั่งซิ |
เพี้ยนเป็น
|
มั่งฮิ
|
ไปซิวะ |
เพี้ยนเป็น
|
ไปซิ
|
ไปไหนเล่า |
เพี้ยนเป็น
|
ไปไหน่หลา
|
มังซิ |
เพี้ยนเป็น
|
มั่งฮิ
|
2. เป็นภาษาถิ่นที่ใช้แพร่หลายในหมู่คนพื้นบ้านลานกระบือ และยังใช้อยู่จนปัจจุบันนี้
ฝรั๋ง |
ความหมายคือ
|
ฝรั่ง(ผลไม้) |
น้ำแหน๋ |
“
|
น้อยหน่า |
ยู้ |
“
|
ผลัก,ดัน |
พัก |
“
|
ผลักให้ล้ม |
โด๋ |
“
|
สิ่งของที่อยู่ใกล้ |
ตรงโน้น |
“
|
สิ่งของที่อยู่ไกล |
เนี๊ยะ |
“
|
ตรงนี้ |
ยั้ง |
“
|
หยุด |
ตะพัด |
“
|
กั้นไว้,กักไว้ |
ไม้แง่ม |
“
|
ไม้สอยผลไม้ |
งวม |
“
|
ครอบ,สวม |
แงะ |
“
|
เหลียวหน้ามาดู |
กะบก |
“
|
จอบ |
กะจอบ |
“
|
เสียม |
คุโยน |
“
|
ภาชนะชนิดหนึ่งสาน ด้วยไม้ไผ่ยาด้วย ชันใช้ตักน้ำจากบ่อขุด |
กะต๋าง |
“
|
ถังน้ำ |
อีมุย |
“
|
ขวาน |
ตุ๊กแก้ม |
“
|
จิ้งจก |
ลูกแอ |
“
|
ลูกกระบือ |
แมงกะบี้ |
“
|
ผีเสื้อ |
ตุ๊กกะเดี้ย |
“
|
ลูกน้ำ |
ลูกโจ๋ |
ความหมายคือ
|
ลูกสุนัข |
หยูด |
“
|
ไม่กรอบ |
กากหมู่ |
“
|
หนังหมูทอดพอง |
แมงอี้หนีด |
“
|
จิ้งหรีด |
3. คำสร้อย ใช้เสียงดนตรีในการขึ้น หรือจบประโยคในการสนทนา
ภาษากลาง | ภาษาลานกระบือ |
ซิเรา | ฮิหล่าว |
นั่น | ฮ่าน |
ไปไหนมา | ไปไหนมาหล่า,ไปไหนมาเล๊า |
เถอะ | เฮอะ ( ไปกันเฮอะ) |
เอาซิ | เอาฮิ |
ก้าย | คำลงท้ายจบประโยคในการพูด |
หล่า | สร้อยคำพูดหลังจบประโยคคำถาม |
4. ภาษาเปลี่ยนไป
อยู่ที่นี่ | โด๋นิ |
อยู่โน่น | โด๋น่ะ |
ภาษาถิ่นลานกระบือ
|
||
ภาษาถิ่น
|
คำอ่าน
|
ภาษากลาง/ความหมาย
|
กงล้อ,กงรถ | กง – ล้อ, กง - รถ | ล้อรถ |
กงแน๋ว | กง - แหนว | ตรงไป |
กระเจิง | กะ – เจิง | กระจาย |
กะต้า | กะ – ต้า | ตะกร้า |
กะลุ้ง | กะ – ลุ้ง | ลังใส่ของ |
กะบวย | กะ – บวย | ที่ตักน้ำ |
กะบ๊ก | กะ – บ๊ก | จอบ |
กะปี๊บ | กะ – ปี๊ป | ปีปน้ำ |
กะมัง | กะ – มัง | กาละมัง |
คว่ำข้าวเม่า | คว่ำ- ข้าว –เม่า | ล้ม กลิ้งไป |
ก๊วยติ๊งนง | ก๊วย – ติ้ง – หนง | นั่งไขว่ห้าง |
ก้อนเซ่า | ก้อน – เซ่า | ก้อนดินวางเป็นเส้า 3 ก้อนใช้หุงข้าว |
กระบวย | กะ – บวย | กะบวยตักน้ำ |
กะจ้อน | กะ – จ้อน | กระแต |
กะชุก | กะ – ชุก | เสื่อหักมุม(เสื่อชนิดหนึ่งเหมือนบุ้งกี๋ชนกัน |
กะเดียด | กะ – เดียด | เอาของวางที่เอวแล้วเดินๆไป |
กะต้อ | กะ – ต้อ | กระโชงโลงวิดน้ำ |
กะด๋อนกะแด๋น | กะ – ด๋อน - กะ – แด๋น | ไม่เรียบ ไม่สม่ำเสมอ |
กะต๋อนกะแต๋น | กะ – ต๋อน – กะ – แต๋น | ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน |
กะต๋าย | กะ – ต๋าย | กระต่าย |
กะเทิ๊ด | กะ – เทิ๊ด | เลื่อน ,เคลื่อนที่ |
กะทุนล้อ | กะ – ทุน – ล้อ | หลังคาล้อเกวียนสานด้วยไม้ ไผ่กุด้วยใบตอง |
กะบ๊ก | กะ – บ๊ก | จอบ |
กะบวกกะบั๋ว | กะ – บวก – กะ บั๋ว | เป็นหลุมเป็นบ่อ |
กะบั่ว | กะ – บั๋ว | ยุบเป็นรอยควาย |
กะบ๊ะ | กะ – บ๊ะ | ถาดใส่ข้าว |
กะเบ๊อะ | กะ – เบ๊อะ | เป็นก้อนใหญ่ |
กะพือ | กะ – พือ | พัด |
กะเล็นเต | กะ – เล็น – เต | กระแตตัวเล็กๆ |
กะโล่ | กะ – โล่ | ไม้สานสำหรับใส่ข้าว |
กะโหลกกะลา | กะ –โหลก – กะ – ลา | กะลามะพร้าว |
กิ้งก๋า | กิ้ง – ก๋า | กิ้งก่า |
กินจุ๊จริงๆ | กิน – จุ๊ - จิง – จิง | กินกับข้าวมาก |
กินเติบ | กิน – เติบ | กิน ข้าวได้มากๆ |
กุ๊กๆ | กุ๊ก – กุ๊ก | เรียกไก่ให้มา |
แกวนไฟ | แกวน – ไฟ | จุดไฟสกัดกั้นไม่ให้ไปลามมา |
โกรกไม้ | โกรก – ไม้ | เลื่อยไม้ |
โก๊กๆ | โก๊ก – โก๊ก | เรียกไก่ |
ไก๋ | ไก๋ | ไก่ |
ไก๋ตักกะต๊าก | ไก่ – ตัก – กะ – ต๊าก | ไก่ตัวเมียตกใจร้อง |
ก๋อไฟ | ก๋อ – ไฟ | ก่อกองไฟ |
กล๋าวโทษ | กล๋าว – โทด | โทษ |
ขนมคู่ | ขะ- หนม – คู๋ | ปาท่องโก๋ |
ข้าวเกียบโป๋ง | ข้าว – เกียบ – โป๋ง | ข้าวเกรียบว่าว |
ขี้โก๊ะ | ขี้ – โก๊ะ | ขี้หัว |
ขี้เท่อ | ขี้ – เท่อ | คนสมองไม่ดี – มีดไม่คม |
ขี้ตะเก๊ด | ขี้ – ตะ – เก๊ด | ไม้เชื้อไฟ |
ขึ้นกะปุ่มกะปิ๋ม | ขึ้น – กะ – ปุ๋ม – กะ – ปิ๋ม | ขึ้นปริ,พุ่งจะแตกปริ |
ไขว | ไขว | ไขว่ห้าง |
เขยิ้บ | ขะ – เยิ้บ | การเคลื่อนตัวเข้า – ออกโดย ไม่ยกก้น |
ควายฮึด | ควาย – ฮึด | ควายขวิด |
คว่ำข้าเม่า | คว่ำ – ข้าว – เม่า | ล้มคว่ำ |
คุย | คุย | เป็นเนินชายทุ่งนา |
คุ่ยช่าย | คุ่ย – ช่าย | ต้นกุ๊ยช่าย |
งบน้ำอ้อย | งบ – น้ำ – อ้อย | น้ำอ้อยที่หยอดเป็นแผ่นทรง |
งัว | งัว | วัว |
แงะ | แงะ | หันไปมอง |
เงิง | เงิง | ทับกันไม่สนิท |
โงนเงน | โงน – เงน | จะล้มลง -ฐานไม่แน่น |
จ๊กดิน | จ๊ก – ดิน | ขุดดิน |
จริงไม๊ | จิง – ไม๊ | จริงหรือไม่จริง |
จัง | จัง | ถูก เจอ |
จิ้งจัง | จิ้ง – จัง | มากมาย |
จิ๊งเหล่น | จิ้ง – เหล่น | จิ้งเหลน |
จุ๊กกะจี๋ | จุ๊ก – กะ – จี๋ | ตัวด้วงหรือแมลงที่เกิดจาก |
เจิ๋งเลิ้ง | เจิ๋ง – เลิ้ง | น้ำมากเกินไป |
เจิ๋นทาง | เจิ๋น – ทาง | หลงทางเดิน |
โจ๋ๆ | โจ๋ – โจ๋ | เรียกลูกหมา |
ซะมุก | ซะ – มุก | กินมูมมาม ไม่เรียบร้อย |
ชะโลกโกกเกก | ชะ – โลก – ก๊ก - เก๊ก | หุบเขาที่มีหินมาก |
ซุหั่ว | ซุ – หั่ว | สระผม |
ซ๊กม๊ก | ซ๊ก – ม๊ก | สกปรก |
ดอกกระดาษ | ดอก – กระ –ดาด | ดอกเฟื่องฟ้า |
ดั๊กตุ้ม | ดั๊ก – ตู้ม | การจับปลาด้วย เครื่องจักสาน |
ดั้งกางเกง | ดั้ง – กาง – เกง | เป้า กางเกง |
เดี๊ยะๆ | เดี๊ยะ – เดี๊ยะ | ดุให้หยุดการกระทำ |
เดินโดกเดก | เดิน – โดก – เดก | เดินไปเดินมา |
โด๋ยนิ | โด๋ย – นิ | ใกล้ๆนี่ |
ตรงโน้น | ตรง – โน๊น | ตรงนั้น |
ตะงุดๆ | ตะ - งุด - ตะ – งุด | โมโหตะหงุดตะหงิด |
ต๊กใจ | ต๊ก – ใจ | ตกใจ |
ตอดตอ | ตอด – ตอ | ตุ๊กแก |
ตะไก | ตะ – ไก | กรรไกร |
ตุ๊กแก้ม | ตุ๊ก – แก้ม | จิ้งจก |
ตะคั่นตะครอ | ตะ – คั่น – ตะ - คอ | อาการครั่นเนื้อครั่น ตัวเหมือนจะเป็นไข้ |
ตะปิ้ง | ตะ – ปิ้ง | เครื่องเงินสำหรับปิด อวัยวะเพศเด็กผู้หญิง |
ตะรูน | ตะ – รูน | พุ่งตัวออกไป, รีบร้อน |
ตะวัก | ตะ – วัก | กะลามาทำเป็น รูปช้อนตักข้าว |
ตุ๊กกะเดียม | ตุ๊ก – กะ – เดียม | จั๊กกะจี้ |
ต๊กกะเด๋ง | ต๊ก – กะ – เด๋ง | กระดานหก |
ติ๋น | ติ๋น | เนื้องอก |
ตกกะเดี้ย | ตก – กะ – เดี้ย | ลูกน้ำ |
แตกระแห่ง | แตก – ระ – แห่ง | ผิวแตก |
ถะร้อง | ถะ – ร้อง | ป่าที่ต่ำ |
ถั๋วไก่ | ถั่ว – ไก๋ | ถั่วเขียว |
ถาด | ถาด | กระทกให้ ควายไปทางขวา |
ถุ่ง | ถุงยาง | ถุงพลาสติกใส่ของ |
ทด | ทด | ทำนบ |
ท้องเปาะ | ท้อง – เปาะ | ท้องเสีย |
ถ่อยลงมา | ถ่อย – ลง – มา | เลื่อนของ ลงมาจากที่สูง เทิน เทิน วางของซ้อนกัน |
แทงคอน | แทง – คอน | ไปเช้ามืด |
นกก๊อด | นก – ก๊อด | นกประหลอด |
นกอีตุ้ม | นก – อี้ – ตุ้ม | นกตะลุ่ม |
นอนแอ้งแม้ง | นอน – แอ้ง –แม้ง | นอนหมดเรี่ยว หมดแรง |
นอนไขว๋ห้าง | นอน – ไขว๋ – ห้าง | นอนยกเข่า ขาทับซ้อนกัน |
นอนแผ๋หล๋า | นอน – แผ๋ – หลา | นอนหงายหมดอาลัย |
นอนเอกขะเน๊ก | นอน – เอก – ขะ – เน๊ก | นอนหงายอย่างสบายใจ |
หน๋อไม้ | หน๋อ – ไม้ | หน่อไม้ไผ่ |
น้ำแหน๋ | น้ำ – แหน๋ | น้อยหน่า |
นุง | นุง | ชื่นไม่กรอบ |
โน้น | โน้น | ไกลลิบ |
บ้องหู่ | บ้อง – หู่ | ใบหู |
บะเล่อบะล่า | บะ – เล่อ – บะ – ล่า | ใหญ่โต |
ปลาต๊กคลั่ก | ปลา – ต๊ก – คลั่ก | ปลาที่อยู่ในหนองน้ำ ใกล้จะแห้ง |
ปลาบ้วน | ปลา – บ้วน | ปลาขึ้นมาหายใจ บนผิวน้ำ |
ปลาเฮ้ด | ปลา – เฮ้ด | ทอดมันปลา |
ปลาหง | ปลา – หง | ปลาตัวเล็กๆ,ลูกปลาตัวแดงๆ |
ปั๊กกะเดก | ปั๊ก – กะ – เดก | ขาหัก |
ปูก้ามเท่อ | ปู – ก้าม – เทอ | ปูก้ามใหญ่ |
ปูก้ามเทิ่ง | ปู – ก้าม –เทิ่ง | ปูตัวผู้ก้ามใหญ่ |
เป็นดุ้น | เป็น – ดุ้น | เป็นท่อน |
เปรียว | เปรียว | ไม่เชื่อง |
เปิดหน้าถัง | เปิด – หน้า – ถัง | เปิดประตูที่เป็นแผ่นพับ |
แป๊ะเข่ามา | แป๊ะ – เข่า – มา | อาศัยเขามาด้วย |
พักไห | พัก – ไห | มะระ |
ผ้าคะม้า | ผ้า – คะ – ม้า | ผ้าขาวม้า |
ผ้าห่มเช้า | ผ้า – ห่อ – เช้า | ผ้าขนหนู |
ผ้าอีเตี๋ยว | ผ้า – อี – เตี๋ยว | ผ้าที่พันหม้อนึ่งข้าวเหนียว |
โผเผ | โผ – เผ | เหนื่อยล้าแทบหมดแรง |
ฝนกุ๋ม | ฝน – กุ๋ม | ฝนตกนานมาก(เมฆครึ้ม) |
ฝนตกฉ่อฉ่อ | ฝน – ตก – ฉ่อ – ฉ่อ | ฝนตกพรำๆ |
ฝนมีด | ฝน – มีด | ลับมีด |
ฟ้าทะแหลบ | ฟ้า – ทะ – แหลบ | ฟ้าแลบ |
ฝรั๋ง | ฟะ – หรั๋ง | ฝรั่ง(ผลไม้) |
ม้วนกระลอก | ม้วน- กระ ลอก | อาการดิ้นยังไม่ตาย |
มอง | มอง | ครกกระเดื่องตำข้าว |
มะเขื่อรื่น | มะ – เขื่อ – รื่น | มะเขือรื่น |
พุดทรา | พุด – ซา | พุทรา |
มั่วอี้ตั้ว | มั่ว – อี้ – ตั้ว | ชุลมุนวุ่นวาย |
มาฮิ | มา - ฮิ | มาซิ |
แมงแสบ | แมง - แสบ | แมลงสาบ |
แมงอีทอง | แมง – อี – ทอง | แมลงทับ |
โม๋ | โม๋ | โผล่ขึ้นมา |
ไม้กระตาก | ไม้ – กระ - ตาก | ไม้ท่อนขนาดเหมาะมือ |
ไม้เท้าเอว | ไม้ – เท้า – เอว | ไม้ยันเรือนล้อ |
ไม้แง่ม | ไม้ – แง่ม | ไม้สอยผลไม้ |
ยุ่ย | ยุ่ย | ยุ่ยสลาย, เปื่อย |
หยูด | หยูด | เหี่ยวย่น |
รถเครื่อง | รถ – เครื่อง | รถมอเตอร์ไซด์ |
รถอีเล่อ | รถ – อี – เล่อ | รถไถนา |
ลอกควาย | ลอก – ควาย | กระดิ่งแขวนคอควาย |
ล้อกะแทะ | ล้อ – กะ – แทะ | ล้อที่มีเหล็กหุ้มหน้ากง |
ลอยกะเผ๋อเหล๋อ | ลอย – กะ – เผลอ – เหลอ | ของลอยอยู่ในน้ำ มากมาย |
ล้ออีแอ๋ว | ล้อ – อี้ – แอ๋ว | ล้อหมุน |
ลากแตกลากแตน | ลาก – แตก – ลาก – แตน | อาเจียนมากๆ |
ลิ้นเตา | ลิ้น – เตา | รังผึ้งสำหรับ ใส่ถ่านในเตา |
ลิว | ลิว | โยนหรือเหวี่ยง |
ลูกโจ๋ | ลูก – โจ๋ | ลูกหมา |
ลูกต๋อม | ลูก – ต๋อม | ลูกช้าง |
ลุมหลู่ | ลุม – หลู่ | ใกล้แจ้งใกล้สว่าง |
ลูกหนัง | ลุก – หนัง | ลูกกระสุนดินเหนียว |
ลูกอิฐ | ลูก – อิฐ | ลูกหิน |
ลูกแอ | ลูก – แอ | ลูกควาย |
แว้ง | แว้ง | เลี้ยวกลับ |
สลาง | สะ – หลาง | ที่นึ่งข้าวเหนียว |
เส้นนังร้อน | เส้น – นัง – ร้อน | วุ้นเส้น,เส้นแกงร้อน |
เสอิ๊ก | สะ – เอิ๊ก | อาหารชนิดหนึ่ง คล้ายๆกับห่อหมดใส่ไข่ |
เสือ | เสือ | เสื่อปูนอน |
เสือกกะดี๋ | เสือก – กะ – ดี๋ | ว่ายน้ำหงายหลัง |
เสือตบตูด | เสือ – ตบ – ตูด | ด้วงดักแด้ |
หญ้าก๋อน | หญ้า – ก๋อน | หญ้าเจ้าชู้ |
หนั๋งปะแด๋ะ | นั๊ง – ประ – แด๋ะ | เชือกที่ใช้หนังวัวหรือ นั่งควายมาทำเป็นเป็นเกลียว |
หม้อกา | หม้อ – กา | กาต้มน้ำร้อน |
หมากเก็บ | หมาก – เก็บ | หมากเก็บ |
หมู่ | หมู่ | หมู |
หมู๋บ้าน | หมู – บ้าน | หมู่บ้าน |
หยอดขิงขาง | หยอด – ขิง – ขาง | แมลงวันหยอดไข่ |
ยั้งก๋อน | ยั้ง – ก๋อน | หยุดก่อน |
หล๋าย | หล๋าย | คลองน้ำเล็ก |
หวานเห่ | หวาน – เห่ | ทอดเห |
หอบแฮกๆ | หอบ – แฮก – แฮก | เหนื่อยจนหอบมากๆ |
หอยแกลบ | หอย – แกลบ | หอยกาบ |
หางโกน | หาง – โกน | เชือกที่ร้อยอ้อมควายไถนา |
โหก | โหก | ไล่ควายกลับ |
เหียนไส้ | เหียนไส้ | อาการคลื่นไส้ |
อ้อม | อ้อม | สายรัดวัว – ควายไว้ ไถนา |
อัตตะวัด | อัด – ตะ – วัด | ควายวิ่งหรือคนไม่อยู่ ในกรอบ |
อี้จี๋ | อี้ – จี๋ | แมลงกุดจี่ |
อีซิว | อี้ – ซิว | ปลาซิว |
อี้ดุ๊ก | อี้ – ดุ๊ก | ปลาดุก |
อี้ดี๋ | อี้ – ดี๋ | ปลากระดี่ |
อี้โผง | อี้ – โผง | กระบอกไม้เล็กๆใส่ ลูกไม้กระทุ้งแล้วเกิดเสียงดัง |
อี่ข้อง | อี้ – ข้อง | ตะข้อง |
อี้บุ้ง | อี้ – บุ้ง | ตัวบุ้งของผีเสื้อ |
อี้โรย | อี้ – โรย | เครื่องโรยขนมจีน |
อี้หง | อี้ – หง | เครื่องช้อนปลา |
อี้หนีด | อี้ – หนีด | จิ้งหรีด |
อี้หมอ | อี้ – หมอ | ปลาหมอ |
อี้หวด | อี้ – หวด | มีดฟันหญ้า |
อีกหน | อิ้ก – หน | อีกครั้ง |
อี้ออดอี้แอด | อี้ – ออด –อี้ – แอด | การกระทำบ่อยครั้ง เพียงเล็กๆน้อยๆ |
อุงไป | อุง – ไป | หมุนไป (เช่น กงล้อมหมุนไป) |
เอ้น | เอิ้น | เรียก |
เอี้ยงไป | เอี้ยง – ไป | แอบไปมองดู |
แอบหมาก | แอบ – หมาก | กระไทหมาก |
ไอ้หนู่ | ไอ้ – หนู่ | ลูกผู้ชาย |
ฮุ้มฮุ้ม | ฮุ้ม – ฮุ้ม | ฝนตกน้ำไหล มาเร็วมาก |
ฮุน | ฮุน | ดึงเชือกให้ควายไปทางซ้าย |
คำสำคัญ : ภาษาถิ่น ภาษาพื้นบ้าน
ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NU.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ภาษาถิ่นลานกระบือ. สืบค้น 7 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1365&code_db=610006&code_type=11
Google search
ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นหนึ่งของประเทศไทย ในประเทศไทยมีภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นเหนือ ที่เรียกกันว่าภาษาล้านนา ภาษาถิ่นเป็นภาษาเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างผิดเพี้ยนไปจากภาษากลาง และความแตกต่างนั้น มักเป็นระบบ เช่น คำที่ใช้ภาษากรุงเทพฯใช้ ร ภาษาเหนือจะเป็น ฮ เช่นคำว่า รัก เป็นฮัก คำว่า เรือน เป็นเฮือน คำว่า ร้อง เป็น ฮ้อง เป็นต้น ในแต่ละภาษาถิ่น จะมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในภาษาไทย เพราะเป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราวประสบการณ์ และวัฒนธรรม ทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อเป็นมรดกของชาติสืบไป
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 7,363