แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน

แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน

เผยแพร่เมื่อ 04-09-2019 ผู้ชม 2,172

[16.0202541, 99.3790042, แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน]

ชื่อ : 
         
แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน

สถานที่ตั้ง :
       
 บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
         แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา เขากะล่อนเป็นเทือกดินและหินลูกรังที่ทอดยาวติดต่อกัน ประมาณ 3 ลูก อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงห่างจากลำน้ำประมาณ 2 กิโลเมตร จากการขุดพื้นที่เชิงเขา ได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น ขวานหินขัดหัวธนู กำไล ลูกปัดหิน ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ ทั้งที่มีลวดลาย หลักฐานโบราณคดีเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบบริเวณดงแม่นางเมือง เขตอำเภอบรรพตพิลัย จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้สันนิฐานได้ว่าบริเวณเทือกเขากะล่อนเป็นชุมชนโบราณท่ี่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มแรกของบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง
      เขากะล่อน แหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่ค้นพบ เมื่อปี 2529 ที่บ้านหาดชะอม อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ จากการที่จังหวัดได้ให้สัมปทานเขากะล่อนให้ผู้รับเหมาสร้างทางหลวงแผ่นดินสายขาณุ-เก้าเลี้ยว เมื่อไถหน้าดินลงไป 1-2 เมตร ก็พบขวานหินโบราณจำนวนมาก เขากะล่อนเป็นเขาดินลูกรังต่อกันสามลูกเรียงตัวในทางทิศเหนือ-ใต้ อยู่ห่างจากลำน้ำปิงราว 2 กิโลเมตร จากการไถขุดบริเวณเชิงเขา ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิขวานหินขัดขนาดต่างๆ รวมที่ยังทำไม่สำเร็จหลายร้อยอัน หัวธนูหิน กำไลหินที่ติดอยู่กับกระดูกท่อนแขน ได้ถูกรถแทรกเตอร์ดันขึ้นมา
      เขากะล่อนตามแผนที่ทหารมีชื่อว่าเขาการ้อง ภูมิประเทศและทำเลเหมาะกับเป็นที่ตั้งบ้านเรือน คืออยู่บริเวณริมน้ำปิงเชิงเขากะล่อนน้ำจะท่วมไม่ถึง เขากะล่อนเคยได้รับการใส่ใจจากเจ้าหน้าที่อยู่พักหนึ่ง แต่ไม่นานก็ไม่มีคนสนใจ ปัจจุบันกับถูกทอดทิ้งไร้คนดูแล ถูกลักลอบขุดลูกรังมาขาย ชุมชนโบราณแหล่งโบราณคดีเขากะล่อน เป็นแหล่งมนุษย์ยุคหินยุคแรกของกำแพงเพชร คือราว 10,000 ปี ที่ผ่านมา นับว่าน่าสนใจเป็นอันมาก สมควรที่กรมศิลปากรได้ขุดค้นอย่างจริงจัง เพื่อได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าเมืองกำแพงเพชรเก่าแก่ถึงขั้นยุคหิน เขากะล่อนจึงเป็นสถานที่สำคัญที่แสดงรากฐานความเป็นชุมชนโบราณที่ควรขุดค้นเพื่อหาความจริงแห่งความภูมิใจในความเป็นเมืองกำแพงเพชร เราอาจพบอะไรอีกมากมายในการขุดค้นอย่างใช้หลักวิชาโดยไม่ใช้รถขุดหรือแทรกเตอร์ก่อนที่หลักฐานทุกอย่างจะถูกทำลายไปด้วยมือของพวกเรา

คำสำคัญ : เขากะล่อน

ที่มา : ประวัติอำเภอขาณุวรลักบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. (2547). กำแพงเพชร : โรงพิมพ์ศรีสวัสดิ์การพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1234&code_db=610009&code_type=06

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1234&code_db=610009&code_type=06

Google search

Mic

วัดดอนแตง

วัดดอนแตง

วัดดอนแตง ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านดอนแตง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนแตง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีทีด่ิน 11 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย พระประธานที่ศาลาการเปรียญปางมารวิชัย 1 องค์ และหลวงพ่อปะขาวปางสมาธิ วัดดอนแตงสร้างเป็นวัด วันที่ 12 สิงหาคม 2463 มีนามตามชื่อบ้าน โดยมีพระภาวนาภิรามเถาะวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ริเร่ิมจัดตั้งวัด

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,679

แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน

แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน

แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา เขากะล่อนเป็นเทือกดินและหินลูกรังที่ทอดยาวติดต่อกัน ประมาณ 3 ลูก อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงห่างจากลำน้ำประมาณ 2 กิโลเมตร จากการขุดพื้นที่เชิงเขา ได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น ขวานหินขัดหัวธนู กำไล ลูกปัดหิน ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ ทั้งที่มีลวดลาย หลักฐานโบราณคดีเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบบริเวณดงแม่นางเมือง เขตอำเภอบรรพตพิลัย จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้สันนิฐานได้ว่าบริเวณเทือกเขากะล่อนเป็นชุมชนโบราณท่ี่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มแรกของบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 04-09-2019 ผู้เช้าชม 2,172

วัดเกาะฝ้าย

วัดเกาะฝ้าย

วัดเกาะฝ้าย ตั้งอยู่เลขที่ 64 บ้านเกาะฝ้าย หมู่ที่ 4 ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน 12 ไร่ มีพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัด ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2517 มีนามตามชื่อบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,433

ชุมชนบ้านโคกเลาะ

ชุมชนบ้านโคกเลาะ

ชุมชนบ้านโคกเลาะ พบบริเวณที่มีแนวคูน้ำและคันดินล้อมรอบขนาดเล็ก ห่างจากถนนพหลโยธินไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยุ่ใกล้กับร่องน้ำเก่า ชาวบ้านเรียกกันว่า เนินโคกวัด ได้พบเศษอิฐในบริเวณที่คาดว่าเคยเป็นศาสนสถานมาก่อน เป็นอิฐขนาดใหญ่แบบที่พบตามโบราณสถานในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 04-09-2019 ผู้เช้าชม 1,750

วัดโค้งไผ่

วัดโค้งไผ่

วัดโค้งไผ่ ตั้งอยู่เลขที่ 313 บ้านโค้งไผ่ หมู่ที่ 1 ตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน 12 ไร่ 3 งาน 76 ตารางวา พื้นท่ี่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ปูชนียวัตถุมีพระประธานองค์ใหญ่ประจำวัด

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,482

วัดคูหาสวรรค์

วัดคูหาสวรรค์

วัดคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 93 บ้านบ่อถ้ำ หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อถ้ำ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน 14 ไร่ 20 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นราบสูง สร้าขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2400 ชาวบ้านเรียกว่า วัดบ่อถ้ำ

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,960

วัดดอนเหียง

วัดดอนเหียง

วัดดอนเหียง ตั้งอยู่เลขที่ 34 บ้านดอนเหียง หมู่ที่ 5 ตำบลดอนแตง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน 10 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีถนนและหมู่บ้านล้อมรอบ สำหรับปุชนียวัตถุมีพระประธานประจำวัดปางมารวิชัย 1 องค์ เนื้อทองเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 1,564

วัดเกาะตาล

วัดเกาะตาล

วัดเกาะตาล ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านเกาะตาล หมุ่ที่ 1 ตำบลเกาะตาล อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน 12 ไร่ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันตก วัดเกาะตาลสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2484 มีนามตามชื่อบ้านเดิมวัดอยู่กลางเกาะตาลได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2499

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,266

วัดโนนปอแดง

วัดโนนปอแดง

วัดโนนปอแดง ตั้งอยู่เลขที่ 141 บ้านโนนปอแดง หมู่ที่ 3 ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด 10 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 มีโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในวัด

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 1,543

ชุมชนโบราณบ้านสระตาพรม

ชุมชนโบราณบ้านสระตาพรม

ชุมชนโบราณบ้านสระตาพรม ตำบลดอนแตง พบบริเวณที่มีคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่และเล็กสลับกันรวม 5 แห่ง พื้นที่ 2 ใน 3 ของแหล่งโบราณคดีเหล่านี้คือสระน้ำ ส่วนบริเวณที่เหลือคงเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกเพราะเป็นบริเวณที่ราบลุ่มต่ำ ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย บนเนินดินที่ชาวบ้าน เรียกว่า เนินศาลาได้พบเศษอิฐที่เป็นหลักฐานแสดงให้เป็นว่าเป็นซากเนื้อดินและแบบเผาแกร่งที่เป็นลักษณะเศษภาชนะดินเผาในสมัยลพบุรี แต่ไม่พบเศษภาชนะดินเผาเคลือบแบบสุโขทัยหรือแบบจีนแต่อย่างใด ชาวบ้านที่ทำไร่ในบริเวณนี้ได้เคยขุดพบพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะลพบุรีด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าเหล่าโบราณคดีบ้านสระตาพรมเป็นชุมชนโบราณที่อยู่ในช่วงสมัยลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 04-09-2019 ผู้เช้าชม 1,252