ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 6,292

[16.4258401, 99.2157273, ฟักแม้ว]

ฟักแม้ว หรือ มะระหวาน ภาษาอังกฤษ ชาโยเต้ (Chayote)

ฟักแม้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule (Jacq) Swartz. จัดเป็นไม้เถาที่อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE

ฟักแม้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะระแม้ว มะระหวาน มะเขือเครือ มะเขือฝรั่ง มะระญี่ปุ่น ฟักญี่ปุ่น มะเขือนายก บ่าเขือเครือ ฟักม้ง แตงกะเหรี่ยง เป็นต้น

ลักษณะของฟักแม้ว

  • ต้นฟักแม้ว หรือ ต้นมะระหวาน มีถิ่นกำเนิดในทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วโลก โดยสันนิษฐานกันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทยโดยหมอสอนศาสนา และให้ชาวบ้านปลูกครั้งแรกที่จังหวัดแพร่ แต่ในปัจจุบันจะเพาะปลูกฟักแม้วกันมากในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และจังหวัดทางภาคเหนืออย่างเชียงราย โดยจัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ
  • ใบฟักแม้ว หรือ ใบมะระหวาน ขอบใบมีลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายใบตำลึงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบมีขนระคายทั้งด้านบนและด้านล่าง
  • ดอกฟักแม้ว หรือ ดอกมะระหวาน มีสีขาวปนเขียว ดอกจะเกิดตามข้อระหว่างต้นกับก้านใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ หรือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน
  • ผลฟักแม้ว หรือ ผลมะระหวาน เป็นผลเดี่ยว ลักษณะเป็นทรงกลมยาว ผลมีสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ ผลมีความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร หนึ่งผลมีน้ำหนักราว 200-400 กรัม รสเย็น เนื้อผลมีรสหวาน รสคล้ายกับฝรั่งปนแตงกวา

สรรพคุณของฟักแม้ว

  1. ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน (ผล, ใบ)
  2. น้ำต้มใบและผลนำมาใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัวได้ (ผล, ใบ)
  3. มะระหวานช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการดื่มน้ำที่ต้มจากผลและใบฟักแม้ว (ผล, ใบ)
  4. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล, ใบ)
  5. ยอดฟักแม้วช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น จึงป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  6. ผลและใบฟักแม้วนำมาใช้ดองเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
  7. น้ำต้มใบและผลฟักแม้วช่วยสลายนิ่วในไต (ผล, ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการอักเสบด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน (ผล, ใบ)

ประโยชน์ของฟักแม้ว

  1. ฟักแม้วเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้
  2. ผลฟักแม้วมีโฟเลตสูง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับทารกในครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการของทารกแต่กำเนิด (ผล)
  3. ยอดอ่อนและผลอ่อนสามารถใช้รับประทานได้ แถมยังประกอบไปด้วยวิตามินและกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียมที่มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. ผลสามารถนำมาหั่นเป็นฝอยหรือสไลซ์เป็นแผ่นใช้ผัดกับไข่ได้ หรือใช้ผัดกับน้ำมัน หรือจะนำมาตำส้มตำใช้แทนมะละกอได้ เพราะมีเนื้อกรอบหวาน
  5. เมนูฟักแม้วยอดอ่อนฟักแม้วสามารถนำมาต้มกินกับน้ำพริก ใช้ทำต้มจืด แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ผัดกับหมู ผัดน้ำมันหอย ลาบ ยำยอดฟักแม้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วจะนำมาผัดน้ำมันหอย
  6. รากฟักแม้วส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยแป้ง สามารถนำมาใช้ต้มหรือผัดเพื่อรับประทานได้
  7. ปกติแล้วจะนิยมใช้ส่วนของผล ใบ และรากเพื่อประกอบอาหาร แต่ลำต้นและเมล็ดก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยม
  8. รากฟักแม้วสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

คำสำคัญ : ฟักแม้ว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฟักแม้ว. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1767

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1767&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,553

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,570

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,744

ปอผี

ปอผี

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,707

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,875

พุทรา

พุทรา

ลักษณะทั่วไป   ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม  ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน  ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,614

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,306

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,541

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,313

ระกำป่า

ระกำป่า

ระกำป่า จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี ส่วนในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง หรือมีน้ำท่วมในหน้าฝน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ถ้าขึ้นตามซอกหินของผา ลำต้นจะแคระแกร็น กิ่งจะแผ่รายไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนและเหง้าใหญ่แข็งแรง ยึดซอกหินได้อย่างมั่นคง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,344