ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้ชม 13,262

[16.4258401, 99.2157273, ใบเงิน ใบทอง ใบนาก]

ใบทอง มีชื่อสามัญว่า Gold leaves (บ้างก็เรียกว่า ใบรวยทอง ทองลงยา ทองนพคุณ) ส่วน ใบเงิน มีชื่อสามัญว่า Caricature plant (บ้างเรียกว่า ทองคำขาว) มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันว่า Graptophyllum pictum (L.) Griff.
ใบนาก มีชื่อสามัญว่า P. Kewense มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pseuderanthemum atropurpureum "Trycolor" และมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นากนอก เป็นต้น โดยทั้งสามชนิดนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันคือวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

ลักษณะของใบเงิน ใบทอง ใบนาก
         ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี[2] ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน[3] ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา[1],[2] และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน
          ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ใบเป็นลายมีหลายสีและจะเรียกตามลักษณะที่ด่าง เช่น ใบเงิน แผ่นใบเป็นสีเขียว ที่กลางใบจะมีด่างสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนจาง ๆ แทรกอยู่
          ใบทอง แผ่นใบเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ มีสีเหลืองเข้มแทรกตามขอบใบ
          ใบนาก แผ่นใบเป็นสีเขียวแกมน้ำตาลหรือสีเขียวอมม่วง และมีรอยด่างเป็นสีขาวและสีม่วงที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนขอบใบเป็นสีชมพูเข้ม
           ดอกใบเงิน , ดอกใบทอง , ดอกใบนาก ออกดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงแดงหรือสีแดงเข้ม โคนกลีบดอกเป็นหลอดรูปกรวย ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นปาก 2 ปาก แยกเป็นปากบนและปากล่าง ปากล่างห้อยหัวลงมี 3 กลีบ ส่วนปากบนจะงอนขึ้นด้านบน ด้านในกลีบดอกมีขนอ่อนเต็มไปหมด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 ก้านอยู่ข้างเกสรเพศเมีย และจะผลิดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน (ภาพแรกดอกใบเงิน ภาพสองดอกใบทอง และภาพสามดอกใบนาก)
           ผลใบเงินใบทอง ผลเป็นฝัก ลักษณะเป็นรูปทรงรี ปลายฝักเป็นติ่งแหลม เมื่อฝักแห้งจะแตกออกได้ และไม่ค่อยติดฝัก

สรรพคุณของใบเงิน ใบทอง ใบนาก
1. เกสรช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (เกสร)[1]ทุกส่วนของลำต้นใช้รักษาอาการอิดโรย อ่อนกำลัง (ทุกส่วนของลำต้น)
2. ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาลดไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษร้อน ถอนไข้พิษ แก้ไข้กำเดา ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ช่วยดับพิษปอดพิการ ล้อมตับดับพิษ (ช่วยป้องกันการทำลายของตับจากสารพิษและความร้อน) แก้กาฬตับ (ใบ) เกสรมีรสเย็นหวาน
    เล็กน้อย เป็นยาแก้ไข้ร้อน (เกสร)
3. ทุกส่วนของลำต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาอาการไข้ และยังใช้เข้ายารักษาไข้สำหรับเด็กในกรณีที่เป็นไข้หอม (ทุกส่วนของลำต้น)
4. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหูรักษาอาการปวดหู ขับแมลงเข้าหู หยอดหูแก้คัน (น้ำคั้นจากใบ)
5. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (ใบ)
6. น้ำคั้นจากใบใช้ปรุงเป็นยาดื่มรักษาอาการท้องผูก (น้ำคั้นจากใบ)
7. ใบมีสรรพคุณแก้บิดมูกเลือด ขับพยาธิ (ใบ)[4]ช่วยแก้ขัดเบา มูกเลือด พิษเบื่อเมา และพยาธิ (ทุกส่วนของลำต้น)
8. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ)
9. ดอกมีรสเฝื่อนเล็กน้อย ใช้ชงดื่มเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ดอก)
10. ใบนำมาตำแล้วเอามาใช้เป็นยาทารักษาอาการปวดบวม รักษาฝี และใช้ห้ามเลือดได้ โดยเฉพาะเมื่อถูกเงี่ยงปลาตำ (ใบ)
11. น้ำคั้นจากใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันได้ (น้ำคั้นจากใบ)
13. ทุกส่วนของลำต้นใช้ทำเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ (ทุกส่วนของลำต้น)

ประโยชน์ของใบเงิน ใบทอง ใบนาก
1. คนไทยนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากสีสันของใบมีความโดดเด่นและสวยงาม
2. ในด้านความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นใบเงินใบทองไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้มีเงินมีทอง เสริมความมั่งคั่ง ไม่ทำให้ขัดสน เนื่องจากเป็นไม้มงคลนาม และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นใบเงินใบทองไว้ทางทิศตะวัน
    ออกหรือทิศใต้ และควรปลูกในวันอังคาร เพราะเชื่อว่าต้นไม้ที่มีใบสวยงามมีเสน่ห์ดึงดูดใจนั้น ควรปลูกในวันอังคาร เพราะจะยิ่งทำให้เจริญงอกงามและเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับครอบครัว ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้นไปอีกก็ให้ปลูกต้นใบเงิน ต้นใบทอง
    และต้นใบนาก ไว้บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันก็จะยิ่งดีนัก นอกจากนี้ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ยังจัดอยู่ในสิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ ประการอีกด้วย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มงคล ๘ (ประกอบไปด้วย ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ใบมะตูม ใบพรหมจรรย์ ผิวมะกรูด ฝัก
    มป่อย และหญ้าแพรก)
3. คนไทยโบราณจะนำใบเงิน ใบทอง และใบนาคมาใช้ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาหลายพิธี เพราะเชื่อว่าเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การทำน้ำพุทธมนต์ งานขึ้นบ้านใหม่ พิธีลงเสาเอกเพื่อสร้างบ้าน งานแต่งงาน เป็นต้น

คำสำคัญ : ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ใบเงิน ใบทอง ใบนาก. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1657

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1657&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,543

มะขาม

มะขาม

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ใบเป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีอยู่ ประมาณ 10-18 คู่ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายกิ่งและโคนใบมนสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบสีเหลืองและมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว ผลเมื่อดอกล่วงแล้วจะติดผลซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาวซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งเปลือกนอกเปราะ เป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆเป็นสีเหลืองอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัดซึ่งจะหุ้มเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมผิวเปลือกเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,324

แครอท

แครอท

แครอทนับได้ว่าเป็นผักสารพัดประโยชน์ สามารถประทานได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ทั้งแบบอาหารคาวและอาหารหวาน ทั้งแบบเป็นชิ้นและแบบเป็นน้ำ แครอทเป็นผักคู่ครัวของของไทยไปแล้ว แครอทนอกจากมีรถชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากแครอท แต่ไม่รับประทานผัก น้ำแครอทน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะรสชาติดี รับประทานง่ายและจะทำให้ท่านได้รับประโยชน์จากแครอทอย่างเต็มที่

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,499

ผักชีลาว

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,648

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,157

ไมยราบ

ไมยราบ

ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,641

ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,647

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว หรือต้นมะระหวาน จัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,403

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 19,649

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,911