ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้ชม 2,505

[16.4737853, 99.6996718, ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า]

        พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น ตอนนี้โดนขโมยต้นไป 1 ต้น ลูกหลานพ่อมาอยู่ก็ได้บูชา กราบไหว้ บวงสรวงทุกบุญเดือน 6 ก่อนที่จะลงมือทำไร่นาทำการเกษตรกรรม เพราะว่าเป็นขวัญ เป็นกำลังใจ ให้พ่อปู่วังหว้าได้ดูแลพืชพรรณ ธัญหาร ให้พี่น้องชาวบ้านประชาชนอยู่ดีก่ินดี มีขวัญและกำลังใจ จึงมีการบวงสรวงในวันพุธ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ศาลพ่อปู่วังหว้าเรียกกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แตก่อนนี้คือวังหว้า เป็นหนองน้ำ (คลองวังหว้า หรือคลองวังกัน) เรียกตามชื่อคลอง ปัจจุบันได้มีการบูรณะหลังใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ให้กับสถานที่ทีคนไปบวงสรวง แต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นที่ของผู้ใหญ่แหลม ผู้ใหญ่ทา สีเห็ม ได้อุทิศให้เป็นที่สถิติ เป็นที่ส่วมรวม หมู่ 4 ศาลพ่อปู่วังหว้าเกิดก่อนประเพณีบุญบั้งไฟ แต่ก่อนสถานที่ตรงนี้ พม่าเคยมาตั้งทัพ รวบรวมเสบียงเพื่อจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

คำสำคัญ : ศาลพ่อปู่วังหว้า พ่อปู่วังหว้า

ที่มา : เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล. (2560). เส้นทางวัฒนธรรมไทยอีสาน. กำแพงเพชร: เทศบาลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1265

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1265&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,035

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

“ศรีวันนี้ก็วันลาภวันดี ศรีวันพระยาวัน ฉันจะเรียกมิ่งขวัญ ขวัญมาเกิดมาแม่มา ขวัญอย่าไปเป็นตะเข็บอยู่ใต้ขอน ขวัญอย่าไปเป็นแมงชอนอยู่ใต้ไม้ ขวัญอย่าไปอยู่ในน้ำเป็นเพื่อนปลา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ในนาเป็นเพื่อนข้าว ขวัญแม่อย่าไปเอาพุ่มไม้ต่างเรือน ขวัญแม่อย่าไปเอาแสงเดือนต่างไต้  ขวัญแม่อย่าไปเอาเรไรต่างมโหรี มาเถิดมาแม่มาขวัญเอยขวัญแม่อย่าไปเที่ยวชมเขาลำเนาไพร ให้แม่กลับมา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ที่เชิงตะกอน ขวัญแม่อย่าไปนอนอยู่ป่าช้า มาเถิดแม่มา

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,893

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 10,899

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

มีพ่อกับลูกเขยอยูํบ้านด้วยกัน วันหนึ่งลูกเขยไปหาปลามาได้ เอาไปปิ้ง แล้วก็กินแต่หนังปลา เหลือเนื้อปลาไว้ให้พ่อตา พอพ่อตากลับมาก็ถามวำ “ทำไมเหลือแต่เนื้อปลาไม่มีหนัง ”ลูกเขยบอกวำ “กินหนังหมดแล้ว ” พ่อตาก็เลยบอกว่า “วันหลังอย่ากินหนังนะเดี๋ยวพ่อมากิน” วันต่อมาลูกเขยได้เผือกมา จึงเอามาต้ม แล้วกินเนื้อหมด เหลือแต่หนังไว้ให้พ่อตากิน

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 5,880

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,669

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 8,891

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,235

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,003

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 860

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,322