พระเชตุพน

พระเชตุพน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 14,113

[16.4913535, 99.4868828, พระเชตุพน]

                พระร่วงนั่งพิมพ์นี้พบครั้งแรกจาก "วัดเชตุพน เมืองสุโขทัย" จึงนำชื่อวัดและลักษณะพระพักตร์ขององค์พระมาตั้งรวมเป็นชื่อพิมพ์พระนี้ว่า “หน้าโหนก” หรือ "พระเชตุพนหน้าโหนก" เพราะองค์พระมีพระนลาฏ (หน้าผาก) ที่กว้างและโหนกนูนให้เห็นอย่างเด่นชัด นั่นเองต่อมามีการขุดพบพระพิมพ์นี้ที่เมืองกำแพงเพชร ลักษณะคล้ายกับของเมืองสุโขทัย ชาวเมืองกำแพงเพชรจึงได้นำชื่อเมืองของตนเรียกแทนชื่อของวัดที่ขุดพบครั้งแรก โดยนำมาเรียกรวมเข้ากับคำว่า ”หน้าโหนก” เป็นชื่อ "พระกำแพงหน้าโหนก"ดังนั้นพระร่วงนั่งพิมพ์ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามกรุพระของต่างเมืองที่ขุดพบได้นั่นเองพระกำแพงหน้าโหนกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่ขุดพบเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าเป็นวัดที่ไหน จะพบพระกำแพงหน้าโหนก เสมอความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกับพระเมืองอื่นคือ มีพระพักตร์ที่คมชัดมาก พระเนตรขององค์พระมีเปลือกตาให้เห็นอย่างชัดเจน เม็ดพระศกลึกคมกว่าของพระกรุเมืองอื่นๆขุดพบจากแทบทุกกรุของเมืองกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระแก้ว ฯลฯพระพิมพ์นี้มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อชินเงิน เนื้อดิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง โดยเฉพาะที่ขุดพบจากกรุวัดบรมธาตุ เป็นพระกรุเก่า ผิวจะเป็นสนิมดำ บางองค์ปรากฏสนิมเกล็ดกระดี่ บางองค์มีคราบปรอทน้ำทอง (ผิวสีเหลืองทอง) ส่วนพระกรุใหม่จะเป็นเพียงคราบผิวปรอทขาวธรรมดาพระกำแพงหน้าโหนก มีขนาดเล็ก คือ กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. สูงประมาณ ๒ ซม. บูชาพกติดตัวง่าย มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับบูชาติดตัวทั้งชายและหญิงพุทธคุณ ดีทางแคล้วคลาดปลอดภัยจากสรรพสิ่งทั้งปวง และเพียบพร้อมด้วยเมตตามหานิยมเป็นเลิศ

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=116&code_db=DB0003&code_type=P001

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระเชตุพน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=206

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=206&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,557

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 13,138

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,673

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,876

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,561

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,047

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระโลหะ เรียกว่า พระเนื้อชิน คำว่า พระเครื่อง คือเรียก พระชนิดที่สร้างโดยไม่มีแท่นฐานพระหรือขาตั้งพระทั่วๆ ไป จึงขอเขียนบรรยายพอสังเขปไว้ดังนี้ พระเครื่องรูปพิมพ์พุทธรูปลักษณะและเนื้อจะเป็นหัวใจในการศึกษาของ คำว่า พระเครื่อง พระพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ละกรุพระจะแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องจดจำพุทธลักษณะพิมพ์พระต่างๆ ของแต่ละกรุพระให้มาก พระเครื่องเนื้อชินใน 100 ส่วน เราได้ทราบมาแล้วว่าสร้างด้วยเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วแล้วเป็นผิวปรอทเสีย 99 ส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,177

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว เป็นพระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า พระกำแพงขาว เพราะว่าตอนขึ้นจากกรุใหม่ ๆ มีคราบฝ้าของกรุและปรอทจับตามองค์พระ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า พระกำแพงขาวพระกำแพงขาว จัดว่าเป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรทีเดียว เพราะนอกจากเป็นฝีมือของช่างสกุลกำแพงเพชรแล้ว ในด้านพุทธคุณ พระกำแพงเพชรมีชื่อเสียงกระฉ่อนและโด่งดัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแคล้วคลาด เมตตา และด้านโภคทรัพย์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,562

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,897

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,730