กระยาสารท

กระยาสารท

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 2,524

[16.5894478, 99.44933, กระยาสารท]

        กระยาสารท เป็นขนมหวานที่รู้จักกันกว้างขวางในชุมชน กระยา หมายถึง เครื่อง สิ่งของ เครื่องกิน สารท หมายถึง เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือนสิบ โดยการนำพืชพรรณธัญญาหารที่แรกเก็บเกี่ยวมาได้ มาปรุงเป็นขนมและอาหาร กิจกรรมการกวนกระยาสารท เป็นกิจกรรมหนึ่งที่คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยนิยมทำในงานบุญเดือน ๑๐ ในอดีต ทุกบ้านจะกวนกระยาสารทเอง ไม่มีจำหน่าย แต่ในปัจจุบัน มีการทำจำหน่าย ความนิยมในการกวนกระยาสารทจึงค่อยๆลดลง จนเมื่อมีการกระตุ้นและประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางจากเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และจังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นงานประจำปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กิจกรรมการกวนกระยาสารทจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

ส่วนผสม
          1. ข้าวตอก 
          2. ถั่วลิสง 
          3. งาขาวคั่ว
          4. ข้าวเม่า 
          5. แบะแซ 
          6. น้ำตาลปี๊บ
          7. กะทิ 

วิธีปรุง
          1. นำถั่วลิสง งา ข้าวเม่า มาคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วพักไว
          2. นำกะทิมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่แบะแซลงไปผสม เคี่ยวให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หรือจนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม
          3. ใส่ถั่วลิสง ข้าวตอก ข้าวเม่า งาขาวที่คั่วเตรียมไว้ลงไปผสมในน้ำกะทิ เคี่ยวไปเรื่อยๆโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ30 นาที
          4. ตักใส่ถาดสี่เหลี่ยม พักไว้พออุ่น ตัดเป็นสี่เหลี่ยม พักไว้ให้เย็น


ภาพโดย : http://www.thaitambon.com/shop/0722613291

คำสำคัญ : กระยาสารท

ที่มา : http://www.thaitambon.com/shop/0722613291

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กระยาสารท. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=576&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=576&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมถั่วกวน

ขนมถั่วกวน

"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,489

ผลไม้เชื่่อม

ผลไม้เชื่่อม

เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 9,306

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,467

ขนมครก

ขนมครก

ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 5,628

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด เป็นขนมไทยพื้นบ้าน นิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุ ในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันในหมู่ญาติมิตรในเทศกาลออกพรรษาเช่นเดียวกัน และยังเป็นขนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการรับประทานก่อนถึงเวลาอาหารมื้อเย็น หรือใช้เป็นเสบียงสำรอง เพื่อรับประทานระหว่างการเดินทางข้ามวันข้ามคืนยข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,592

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ เป็นอาหารแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย ได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น ตอนแรกใช้ชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด กะหรี่ปั๊ปไส้ไก่เป็นที่นิยมมาก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 4,041

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,728

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา เมนูขนมไทยแสนอร่อย ที่หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี เป็นที่ชื่นชอบของหลายท่านด้วย เมนูนี้ได้นำเอาเมนูสองเมนูมาเสิร์ฟ รับประทานด้วยกันคือ ข้าวเหนียวมูนกับสังขยาไข่ ซึ่งเมื่อนำมารับประทานคู่กันแล้ว ยิ่งเพิ่มรสชาติความหอมหวาน มันอร่อยยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ข้าวเหนียวมูนสามารถเสิร์ฟ รับประทานกับขนมไทยและผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด และอร่อยเข้ากันได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 2,469

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,021

แกงก้านคูน

แกงก้านคูน

แกงก้านคูน หรือแกงคูน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้และเครื่องปรุงส่วนใหญ่ เป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก ในชุมชน ส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย คูนก้านอ่อน เนื้อปลาช่อนสด หรือปลาช่อนย่าง หรือกุ้งฝอย มะเขือเทศลูกเล็ก มะนาว ใบแมงลัก เริ่มจากการแกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน คลุกกับเกลือและน้ำ แล้วจึงบีบน้ำออกเพื่อให้ก้านคูนนิ่ม โขลกเครื่องแกงรวมกันจนละเอียด ต้มน้ำสะอาดจนเดือด ละลายเครื่องแกงลงในน้ำเดือด ใส่ก้านคูนที่เตรียมไว้ลงในหม้อ หลังจากนั้น จึงใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือดใส่เนื้อปลาช่อน พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนจนเข้ากัน ปิดไฟ เป็นอันเสร็จ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,980