เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้ชม 3,266

[16.5088786, 99.5216493, เฉาก๊วยชากังราว]

 
        “ครับ สำหรับท่านที่เดินผ่านไปผ่านมานะครับ วันนี้ เฉาก๊วยชากังราวของเรานะครับ ก็ได้มาบริการท่านพ่อแม่พี่น้องกันอีกแล้วครับ อากาศร้อนๆ อย่างนี้นะครับ สำหรับท่านที่เดินผ่านไปผ่านมา ลองมาแวะชิมเฉาก๊วยแท้ๆ กันก่อนนะครับ เฉาก๊วยชากังราวของเราเป็นที่รู้จักไปทั่ว” ช่วงนี้คุณอาจจะเคยเห็นข้อความเหล่านี้ในช่องความคิดเห็นของทุกแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube หรือ TikTok แล้วสงสัยว่าข้อความเหล่านี้คืออะไร ใครเป็นคนเริ่มเทรนด์การเอาบทพูดขายเฉาก๊วยนี้ไปคอมเมนต์ตามโพสต์ต่างๆ
         เฉาก๊วยชากังราวเป็นของดีเมืองกำแพงเพชรที่โด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะความแตกต่างจากเฉาก๊วยทั่วไป ด้วยความนุ่มหนึบไม่เหมือนใครที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ส่วนคำว่าชากังราวนั้นมาจากคำเรียกชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีตที่ยังเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ต้องเคยได้ยินเสียงเรียกที่ถูกอัดแล้วเล่นซ้ำด้วยโทรโข่งของร้านเฉาก๊วยชากังราว
         เฉาก๊วยชากังราวนั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักกันที่ความอร่อยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นที่รู้จักด้วยเสียงพูดของ เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เจ้าของเฉาก๊วยชากังราว ที่อัดไว้แล้วเปิดออกจากโทรโข่งทุกครั้งที่ไปออกร้านตามสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงการนำต้นเฉาก๊วยจริงไปทำเฉาก๊วยให้ดูกันสดๆ ที่ร้านเลย
         “และสำหรับท่านที่ไม่เคยเห็นต้นเฉาก๊วย วันนี้โอกาสดีนะครับ เรามีต้นเฉาก๊วยมาให้พ่อแม่พี่น้องได้ดูได้ชมกันด้วยนะครับ โอกาสหน้าอย่าลืมนะครับ เฉาก๊วยชากังราวแท้ๆ เราทำจากยางเฉาก๊วยจริงๆ นะครับ” ต้นเฉาก๊วยเป็นพืชในตระกูลเดียวกับสะระแหน่ กะเพรา และโหระพา คุณอาจสงสัยว่าพี่น้องในตระกูลเดียวกันของเฉาก๊วยนั้นล้วนเป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน แต่ทำไมต้นเฉาก๊วยจึงไม่มีกลิ่นเหล่านั้นเลย นั่นเป็นเพราะปริมาณน้ำมันหอมระเหยในต้นเฉาก๊วยนั้นมีน้อยกว่าพี่น้องในตระกูลเดียวกันนั่นเอง แม้ต้นเฉาก๊วยจะมีรูปร่างหน้าตาดูห่างไกลจากเฉาก๊วยที่เรากินกัน จนคุณอาจไม่เชื่อว่าวุ้นสีดำเด้งดึ๋งนี้เคยเป็นพืชมาก่อนจริงหรือ แต่นี่คือเรื่องจริง
         การทำเฉาก๊วยคือการนำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้มในน้ำจนยางไม้ละลายออกมาเป็นน้ำสีดำ แล้วจึงเอาน้ำสีดำนั้นไปกรองและนำไปผสมแป้ง ซึ่งจะเป็นแป้งเท้ายายม่อมหรือแป้งมันก็ได้ จนได้ออกมาเป็นเฉาก๊วยเนื้อเด้งดึ๋งสีดำ ด้วยความเป็นพืชก็ต้องมีสรรพคุณดีๆ ติดตัวมาด้วย เฉาก๊วยนั้นนอกจากจะเป็นของหวานที่อร่อยแล้วยังมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดความดันโลหิต เหมาะกับการกินเป็นของหวานในวันที่อากาศร้อน
         ความพิเศษไม่เหมือนใครของเฉาก๊วยชากังราวคือเนื้อเฉาก๊วยที่นุ่มหนึบ ไม่ได้เหนียวจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ขาดง่าย ชนิดที่หาจากเฉาก๊วยเจ้าอื่นไม่ได้ เฉาก๊วยชากังราวเลือกใช้ต้นเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์จาก 3 ประเทศมารวมกัน แม้ในวันนี้จะมีการปลูกต้นเฉาก๊วยอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สูตรลับความนุ่มหนึบของเฉาก๊วยชากังราวนั้นเป็นการรวมกันของต้นเฉาก๊วยจากเวียดนามที่โดดเด่นในเรื่องของความหวาน ต้นเฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความนุ่มหนึบ และต้นเฉาก๊วยจีนที่มีรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดยต้นเฉาก๊วยจาก 3 ประเทศนี้จะปลูกในที่สูงและอากาศเย็น ทำให้เป็นต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดีกว่าต้นเฉาก๊วยที่ปลูกในประเทศไทย
 
 
ภาพโดย : http://sadoodtakamphaengphet.com 

คำสำคัญ : เฉาก๊วยชากังราว

ที่มา : http://sadoodtakamphaengphet.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เฉาก๊วยชากังราว. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=568&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=568&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร ขนมอร่อยขึ้นชื่อประจำจังหวัดกำแพงเพชร อร่อย ใส เหนียว นุ่ม พอดีคำ ทานเพลิน กินเล่นก็ดี เป็นของฝากก็เลิศ ควรค่าแก่การซื้อมาก แนะนำให้โทรสั่งล่วงหน้าไม่มีหน้าร้านทำตาม order มีจำหน่ายแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สวยงามที่ปั๊ม ปตท.นครชุม (สี่แยกกำแพงเพชร ขาขึ้นเหนือ) และปั๊ม ปตท.โค้งวิลัยไทยเสรี (ในร้านเจ้าสัว ขาล่องเจ้า กทม.) ขนนเทียนแก้วเอี่ยมจิตรเป็นขนมที่ให้รสชาติอร่อย หารับประทานได้ยาก มีจำหน่ายเฉพาะบางจุดเท่านั้นได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,522

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,132

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,406

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว ขนมพื้นบ้านนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยการนำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างรวมกันแล้วนวดแป้งให้เข้ากันเติมน้ำให้แป้งละลาย พอได้ที่ นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน พอร้อนนำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในกระทะแล้วใช้ช้อนตักน้ำมันลาดตรงแป้งที่กำลังทอด แป้งก็จะฟูตรงกลาง ทำให้เหมือน ฝักบัว (แต่จะทอดได้ครั้งละ 1 ชิ้น เท่านั้น )

 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,537

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม ขนมพื้นบ้านนครชุม ทำจากกล้วยไข่ตัดหัวและท้ายผลกล้วย จากนั้นก็ปอกเปลือกและผ่าครึ่งแช่น้ำไว้ เทน้ำเปล่าลงไปในกระทะ ใส่เกลือและใบเตยมัดปม แล้วตามด้วยกล้วย เทใส่ลงไป ต้ม 15 นาที ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตาลมะพร้าว ต้มจนน้ำตาลละลาย บีบมะนาวลงไป ต้มจนน้ำแห้งลดลงครึ่งนึง เสร็จแล้วปิดไฟแล้ววางพักไว้ พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,299

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย

 

เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 2,140

แมงอีนูน

แมงอีนูน

ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,200

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,377

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงมัสมั่น เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทย ออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน เอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงชนิดนี้คือหอมเครื่องเทศนานาชนิด ได้แก่ ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น กานพลู อบเชย สามารถแกงกับเนื้อสัตว์หลายชนิด คนไทยนิยมแกงมัสมั่นไก่ เนื้อวัว และหมู แกงนี้มีไขมันค่อนข้างสูง จึงทำให้มีพลังงานสูง มีโปรตีนจากเนื้อไก่ ใยอาหารและสรรพคุณทางยา จากเครื่องแกง ได้แก่ อบเชย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หัวหอมแขกช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมะขามเปียกมีวิตามินซี และเป็นยาระบายอ่อนๆ ยี่หร่า กานพลู ช่วยขับลม ขับเสมหะ ส่วนขิงช่วยลดไขมันในเลือดได้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,524

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,071