ลายน้ําเต้า

ลายน้ําเต้า

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 657

[16.121008, 99.3294759, ลายน้ําเต้า ]

ความหมายในภาษาไทย หมายถึง น้ําเต้า เป็นชื่อเรียกลวดลายปักที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณนับหลายร้อยปีของชาวมูเซอ เหลือง ลักษณะของการเรียกชื่อลวดลายเป็นไปตามรูปร่างของลวดลายที่เป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน นํามา เรียงต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนด้านบนสุดมียอดแหลม เมื่อดูลักษณะลวดลาย โดยรวมที่มีความเว้าด้านบนจึงดูคล้ายความโค้งมนของผลน้ําเต้า โดยที่มาของลวดลายนี้บรรพบุรุษชาวมูเซอ ได้จินตนาการมาจากรูปร่างของลูกน้ําเต้า ที่เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มีผลที่มีลักษณะโค้งมน ตรงส่วนบนจะมีขนาด เล็ก ส่วนล่างจะมีขนาดใหญ่ มนกลมในสมัยโบราณนิยมนํามาใส่น้ํา ลูกน้ําเต้าที่มีความแห้งแล้วมีคุณสมบัติ พิเศษคือลอยน้ําได้โดยชนเผ่ามูเซอเหลืองที่นับถือศาสนาคริสต์มีความเชื่อที่เล่าขานสืบต่อกันมาจากบรรพ บุรุษซึ่งเชื่อว่าในครั้งที่น้ําท่วมโลก น้ําเต้าก็เปรียบได้เสมือนกับเรือโนอาห์ที่หญิงชายชาวมูเซอคู่แรกที่พระเจ้า สร้าง ได้เข้าไปหลบภัยในน้ําเต้ายักษ์จนรอดชีวิตมาได้และก่อกําเนิดเป็นชนเผ่ามูเซอเหลืองสืบต่อมา ลายอ่าพู้ หรือลายน้ําเต้าจึงเป็นหนึ่งในลวดลายเอกลักษณ์โบราณดั้งเดิมที่มีความชัดเจนที่บรรพบุรุษชนเผ่ามูเซอได้ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

 

คำสำคัญ : ลายปัก ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายน้ําเต้า . สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=464&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=464&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายขิด

ลายขิด

ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,407

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,738

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 715

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,157

ลายเรียบ สายย้อย

ลายเรียบ สายย้อย

ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 794

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,144

ลายน้ําเต้า

ลายน้ําเต้า

บรรพบุรุษของชนเผ่ามูเซอนั้นมีทั้งกลุ่มที่นับถือผีและกลุ่มที่นับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นในการ สร้างสรรค์ศิลปะเอกลักษณ์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวมูเซอจึงมักสะท้อนออกมาถึงเรื่องราวที่ความเกี่ยวพันกับ ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ และลวดลายที่มีความสอดคล้องกับความเชื่อในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาผสม รวมเข้าอยู่ด้วยกัน ดังเช่น ลายน้ําเต้า หรือในภาษาชนเผ่ามูเซอเรียกว่า อ่าพู้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 657

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 950

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,502

เสื้อลวดลายสลับสี

เสื้อลวดลายสลับสี

เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 635