ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 899

[16.4264988, 99.2157188, ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี]

บทนำ
         การดำเนินการทำงานการสร้างสรรค์ ชุด ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา วิธีดำเนินการใช้หลักการสร้างสรรค์ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ที่มีองค์ประกอบของการแสดงระบำ การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การทำเพลงและดนตรีประกอบกการแสดง การแปรรูปแบบแถว อุปกรณ์ประกอบการแสดง การคัดเลือกนักแสดง ในการดำเนินการได้ศึกษาท่าหลักจากท่ารำพื้นฐาน รำแม่บท รำเพลงช้าเพลงเร็ว และมีท่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นท่าเฉพาะในชุดการแสดงเช่น ท่ารำบูชาไหว้พระโดยเลียนแบบท่ามาจากภาพรูปปั้นนางรำที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องแต่งกายได้เลียนแบบมาจากภาพแกะสลักของรูปปั้นนางรำบางส่วน การแปรรูปแถวให้เกิดความงามและเปลี่ยนแปลงสายตาผู้ชม ในการแสดงชุดนี้ได้แบ่งการแสดงออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นการเกริ่นนำเพื่อบูชาพระไตรรัตน์มีบทร้องกำกับในการแสดงและตีภาษาท่าตามบทร้อง ช่วงที่สองเป็นการแสดงตามทำนองเพลงที่กำหนดไว้มีท่อนช้าและเร็วตามลำดับลักษณะการแสดงของกระบวนท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับทำนองเพลงและมีความหมายของท่ารำในการบูชาพระรัตนตรัย
        การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการแสดงในพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง และสามารถนำไปใช้แสดงในโอกาสต่างๆ ได้และยังเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
         ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรจัดขึ้นทุกปีในวันเพ็ญเดือนสาม เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของกำแพงเพชรไว้ให้ชนรุ่นหลัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงพิธีเปิดงานและได้รับมอบหมายจากจังหวัดกำแพงเพชรให้จัดการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเพณี จึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดและในการแสดงเวทีกลางในงานนี้ โดยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น สร้างสรรค์เพลง ท่ารำ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบในระบำชุด ระบำพุทธบูชา “นบพระ – มาฆปุรณมี” เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลงของจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
         “พุทธบูชา” หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้า, เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
         “นบพระ” หมายถึง ไหว้พระ 
         “มาฆปุรณมี” ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม กล่าวกันว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง มีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส มีการทำบุญ ตักบาตร การฟังธรรมเทศนา การเวียนเทียน เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวถึง หลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา การไม่ทำความชั่วทั้งปวง เป็นการบำเพ็ญความดี ทำให้จิตใจผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อเป็นการสร้างระบำชุดเฉพาะใช้ในพิธีเปิดงานประเพณี นบพระ-เล่นเพลง
         2. เพื่อเป็นการสืบสาน ส่งเสริม เผยแพร่งานด้านนาฏศิลป์เพิ่มมากขึ้น

วิธีดำเนินงาน
         ในการค้นคว้าข้อมูล
         1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และวารสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
         2. การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น
         3. สร้างสรรค์เพลง
         4. ออกแบบท่ารำ การแปรแถว
         5. ออกแบบเครื่องแต่งกาย
         6. ออกแบบอุปกรณ์การแสดง
         7. ฝึกซ้อม
         8. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
         9. บันทึกเทป
        10. อธิบายท่ารำ ทำรูปเล่ม

การศึกษาและกระบวนการสร้างสรรค์
         ท่ารำ
         ประดิษฐ์ท่ารำโดยใช้ท่ารำในท่ารำแม่บท และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ มาร้อยเรียงให้สอดคล้องและมีความหมายในการสักการบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความงามตามลักษณะนาฏศิลป์ไทย  
         ท่ารำพิเศษ โดยแกะท่ารำมาจากรูปปั้นที่ปรากฏในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร ท่าไหว้ ท่าภมรเคล้า

แนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกาย
         เนื่องจากการแสดงเป็นการบูชาพระรัตนตรัย จึงมีความสงบ การออกแบบจึงเลือกให้มีสีนวลตา เย็นตา ลักษณะคล้ายชุดไทยจีบหน้านาง แต่ตกแต่งให้ดูแปลกตา ห้อยด้วยชายผ้าจีบหนึ่งชิ้น ใส่เสื้อสีครีม คอปิดมิดชิด มีแขนเพื่อให้เกิดความสุภาพเรียบร้อย เพราะแสดงที่วัดวาอาราม ประดับด้วยเครื่องประดับพองาม

อุปกรณ์ประกอบการแสดง
         ใช้พานพุ่มดอกบัวบูชา การบูชาพระพุทธเจ้ามีอยู่ 2 วิธี คือ   
         1. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ อันได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ภัตตาหาร คาว หวาน สิ่งที่เป็นวัตถุทั้งปวง เป็นการเสียสละ ฝึกตนให้ รู้จักการแบ่งปัน การบริจาค และการให้ทาน
         2. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการกระทำ ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทั้งทางกาย วาจา และที่สำคัญที่สุด คือ ทางใจ ทางจิตวิญญาณ

เพลง
         แต่งขึ้นใหม่โดยใช้เพลงสาธุการ (สาธุการเปิดโลก) เป็นโครงสร้างของเพลง 

แนวคิดในการประพันธ์เพลง
         ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
         จากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชัย  พวกดี ได้เล่าให้ฟังว่า การต่อเพลงสาธุการอย่างถูกต้อง จะทราบว่า ในเพลงสาธุการจะมีวรรคพิเศษอยู่วรรคหนึ่งเรียกว่า “พระเจ้าเปิดโลก” วรรคพระเจ้าเปิดโลกนี้ได้นำมาประพันธ์เพลง ระบำพุทธบูชาเป็นโครงสร้างของเพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
         อัตราจังหวะเพลง เป็น 2 ชั้น ท่อน 1 และท่อน 2
         อัตราจังหวะเพลงชั้นเดียว ท่อน 1 และท่อน 2

คำร้อง เพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
                         นบพระมาฆะฤกษ์      อมรเบิกทุกสถาน
             โบราณเก่าเล่าตำนาน             น้อมสักการพระศาสดา
             ถึงพร้อมพระไตรรัตน์              เจิดจำรัสพระพุทธา
             เป็นเอกพระศาสดา                ทั่วโลกาสรรเสริญคุณ
             ด้วยเดชสักการะ                   พลวะช่วยนำหนุน
             นบพระบูชาคุณ                     จงถึงพร้อมบูชาเทอญฯ 

                                                                          อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้
                                                                             13 กุมภาพันธ์ 2559

โน้ตเพลงพุทธบูชา “นบพระ – มาฆ-ปุรณมี”
ประพันธ์โดย ชัชชัย พวกดี

2 ชั้น/ท่อน 1

---ท

---รํ

-ล-ท

-รํ--

ซํมํรํท

-รํ--

-ทรํล

ทลซม

----

-ท-ล

-ซ-ล

-ท-รํ

-ททท

รํมํ-รํ

-ร-ม

-ซ-ล

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

---ร

---รํ

--ซํมํ

รํท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(รํรํมํรํ

ทรํมํล)

ลลทล

ซลทม

(ลลทล

ซลทม)

--มม

ซมนทฺ

--ซซ

ลซมร

--ลล

ทลซม

มํรํทล

----

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

--รํรํ

รํรํ-ดํ

ดํดํ-ท

ทท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ชั้นเดียว/ท่อน 1

-รรร

-มํ-รํ

-ทรํล

ทลซม

-มมม

-ซ-ม

-ล-ม

-ซ-ล

-ลลล

ซลทรํ

-มํ-รํ

-ท-ล

ทลซม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(ลลทล

ซลทม)

ลลทล

ซลทม

(มมซม

รมซล)

--ลล

ทลซม

--มม

รมซล

--รม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

เครื่องดนตรีประกอบด้วยใช้วงโบราณ

         ปี่ใน                1        เลา

         ฆ้องใหญ่          1        วง

         ซอสามสาย        1        คัน

         ตะโพน             1        ใบ

         ฉิ่ง                  1        คู่

         กระจับปี่           1        ตัว

         กรับพวง           1        คู่

จำนวนผู้แสดงและเวลาที่ใช้ในการแสดง
         ผู้แสดงจำนวน 8, 10, 12 หรือขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมของงาน
         เวลาที่ใช้ในการแสดง  8.20  นาที

สรุปผล
         สรุปการสร้างสรรค์
         1. ได้สร้างสรรค์ระบำชุดพุทธบูชานบพระ-มาฆ-ปุรณมี เป็นการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด
         2. ผลของการศึกษาการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่เพื่อนำไปใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง ในรูปแบบระบำสร้างสรรค์ขึ้นใหม่มีองค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
             - การออกแบบท่ารำ
             - การออกแบบเครื่องแต่งกาย
             - การสร้างสรรค์แต่งเพลงประกอบชุดการแสดง
             - การแปรรูปแถว
             - การคัดเลือกนักแสดง
             - อุปกรณ์ประกอบการแสดง

ข้อเสนอแนะ
         เนื่องจากการทำการวิจัยงานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์มีองค์ประกอบมากจึงมีความจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้มีงานวิจัยในลักษณะนี้มากขึ้นและยังเป็นการช่วยกันและพัฒนางานด้านนาฏศิลป์ให้คงอยู่ต่อไปและนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาศาสตร์ด้านนาฏศิลป์ไทยต่อไป

คำสำคัญ : ระบำพุทธบูชา กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,727

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,331

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,291

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,619

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 6,398

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง 

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 2,706

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,306

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 24,613

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,467

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,673