ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 2,242

[16.2844429, 98.9325522, ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี
         ซึ่งในปัจจุบัน ประเพณีไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้งก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เนื่องจากประเพณีตำข้าวเหนียวของชาวม้ง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการบอกเล่าที่นิยมทำสืบต่อกันมาตามความเชื่อของคนในชนเผ่าว่า ถ้าทำแล้วจะเกิดสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิต เนื่องจากข้าวเหนียวที่ได้ในประเพณีดังกล่าวจะนำไปไหว้ผีป่า ผีเขาและผีบรรพบุรุษที่ตนเองนับถือ นั้นเอง (Thu Hoa, 2559)

ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นประชากรชาวม้งที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรหรือชนชาวม้งที่อาศัยอยู่ในที่ใดๆ ก็ตาม อาทิ ชาวม้งจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่นิยมทำ “ขนมต้วนหยัว” หรือขนมที่ทำจากการตำข้าวเหนียวจนละเอียดและนำไปปิ้งพร้อมทานกับน้ำผึ้งกลายเป็นขนมหวานเลิศรส ซึ่งรายละเอียดของการทำขนมต้วนหยัวนั้น เหมือนกับประเพณีตำข้าวเหนียวของชาวม้ง เพื่อใช้ในการไหว้บรรพบุรุษ ช่วงเทศกาลปีใหม่นั้นเอง นอกจากชาวม้งในจังหวัดเพชรบูรณ์แล้วนั้น ประเพณี  ตำข้าวเหนียวชาวม้งยังปรากฏในพื้นที่อื่นนอกจากประเทศไทย อาทิ อำเภอเดียนเบียน จังหวัดเดียนเบียน ประเทศเวียดนาม ซึ่งเรียกโจวป่าว่า “ขนมแบ็งใหญ่” นั้นเอง (Thu Hoa, 2557)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตลาดม้ง
         บ้านตลาดม้งเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร อาชีพหลักของประชากรในหมู่บ้านตลาดม้งคือ ปลูกมัน ปลูกข้าวโพด โดยประชากรส่วนมากเป็นชนเผ่าม้งและหมู่บ้านตลาดม้ง มีประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ผู้ศึกษาสนใจศึกษา ค้นคว้า เรื่องประวัติศาสตร์การตำข้าวของชนเผ่าม้ง เพราะอยากทราบว่าประวัติความเป็นมาของการตำข้าว วิธีการทำที่ถูกต้องของชนเผ่าม้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพชนรุ่นหลัง ควรร่วมอนุรักษ์ เนื่องด้วยการตำข้าวของคนในอดีตจนถึงปัจจุบันค่อยๆหายไปทีละอย่างพร้อมกับการจากไปของคนเฒ่า คนแก่ โดยไม่มีการสืบทอดให้คนรุ่นหลัง ทำให้ความรู้ ภูมิปัญญาหายไปตามกาลเวลา (นนทวัฒน์ จิตชัยเจริญกุล, 2561, ธันวาคม 10) 

ประวัติความเป็นมาของการตำข้าว
         การตำข้าวของชนเผ่าม้ง ซึ่งเป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุกๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ประเพณีฉลองปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติ จะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย (เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่างๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้งและหนึ่งในนั้นคือการตำข้าวหรือที่ชาวม้งเรียกว่า “โจวป่า” ซึ่งเป็นการทำขนมเพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ทำการปกปักรักษาครอบครัวมาตลอดปี ขนมโจวป่าทำจากข้าวเหนียวตำอย่างละเอียดและนิ่มเหนียวที่ปั้นเป็นรูปกลมและวางบนใบตอง ขนมโจวป่าเป็นอาหารที่จำเป็นในเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงเวลาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คนทั้งหมู่บ้านจะร่วมกันทำขนมนี้โดยจะนำข้าวเหนียวไปแช่-นึ่ง-ตำ แล้วปั้นเป็นขนม รูปกลม ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องใช้เวลาเป็นวัน “เพื่อให้ขนมโจวป่าหอมและอร่อยก่อนอื่นต้องเลือกข้าวสารให้ดี แช่ไว้ 1 วัน หลังจากนั้นจะนำไปนึ่งประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้สุกนิ่มก่อนตำข้าวเหนียวก็ให้คั่วงาตำก่อน นอกจากนั้นจะเอาไข่แดงที่สุกแล้วบดละเอียดเพื่อใช้ในระหว่างการปั้นขนมไม่ให้ติดมือ ต้องตำข้าวเหนียวตอนร้อนๆจะได้ขนมที่เนียนนิ่มและเหนียวไม่แข็งแห้งหรือมีรอยแตกไม่สวยไม่อร่อย” (สุรศักดิ์ รุ่งคีรี, 2561, ธันวาคม 10) 

ความสำคัญของประเพณีตำข้าวชาวม้ง
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยทั่วไปมักจะจัดงานกันขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกปี ประเพณีตำข้าวเหนียวนี้เกิดขึ้นมาจากการที่ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฏิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฏิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง ฉะนั้นม้งจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเป็นการรักษาให้หายจากโรคเหล่านั้น ซึ่งพิธีกรรมในการรักษาโรคของม้งนั้นมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะรักษาโรคแตกต่างกันออกไป การที่จะทำพิธีกรรม การรักษาได้นั้นต้องดูอาการของผู้ป่วยว่าเป็นเช่นไร แล้วจึงจะเลือกวิธีการรักษา “ดังนั้นการตำข้าวของชนเผ่าม้ง จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกอย่างหนึ่งที่จำทำไว้สำหรับการบูชาบรรพบุรุษ” พิธีเข้ากรรมของม้งนั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษม้งเชื่อกันว่าเคราะห์กรรมมีจริง แต่ม้งนั้นก็จะสามารถหลีกเลี่ยงเคราะห์กรรมนี้ได้โดยการเข้ากรรม
         การเข้ากรรมของชนเผ่าม้ง ก็เหมือนกับการจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปไหนมาไหน ห้ามคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวเข้ามาในบ้าน ห้ามไม่ให้พูดคุยกับคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว ห้ามจับต้องของมีคม ห้ามขับขี่รถทุกชนิดจนกว่าพระอาทิตย์จะตกดิน ถ้าในระหว่างเข้ากรรมอยู่นั้น สมาชิกคนไหนฝ่าฝืนข้อห้าม มักจะเกิดอุบัติเหตุกับคนผู้นั้นหรือบางรายอาจถึงแก่ชีวิต ชนเผ่าม้งจึงถือเรื่องเข้ากรรมกันอย่างเคร่งครัด ถ้าสมาชิกคนใดไม่อยู่บ้าน ออกไปทำงานต่างจังหวัด ที่ไกลๆ คนในบ้านก็จะนำเอาเสื้อผ้าของคนนั้นมามัดไว้ที่เสากลางบ้าน แล้วจะบอกให้คนคนนั้นรับทราบ เพื่อขอหยุดงาน แต่ถ้านายจ้างไม่ให้หยุด คนๆนั้นก็จะเลี่ยงโดยการขอทำอย่างอื่นที่มีอันตรายน้อยที่สุดแทน สำหรับชาวม้งนั้นเชื่อว่า เคราะห์กรรมมีหลายแบบด้วยกันและสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการที่ต่างกันไป เมื่อเจ้าบ้านเกิดอาการไม่สบายใจ หรือฝันเป็นรางร้ายก็จะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดูให้ หากเสี่ยงทายแล้วว่ามีเคราะห์กรรม หมอผีจะเป็นคนบอกเองว่าเราควรแก้ด้วยวิธีการไหนบ้าง
         การเข้ากรรม จะทำพิธีเพื่อสะเดาะเคราะห์ หรืออาจจะปัดเป่าเคราะห์ร้ายให้หลุดพ้นไปจากตัวเองและครอบครัว อีกวิธีหนึ่งส่วนใหญ่ แล้วเจ้าบ้านจะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดู เมื่อหมอผีบอกว่าบ้านไหนมีเคราะห์ หมอผีจะบอกด้วยว่าบ้านนั้นควรจะหยุดอยู่กรรมกี่วัน ส่วนใหญ่ก็จะเข้ากันหนึ่งวัน ถ้าบ้านไหนมีเคราะห์มาก ก็จะเข้ากรรมสองถึงสามวันติดต่อกัน บางครั้งแม้ไม่ได้เสี่ยงทาย แต่หมอผีก็จะมาทักว่าบ้านนั้น บ้านนี่ควรเข้ากรรม บ้านนั้นก็ต้องเข้า หรือบางครั้งหมอผีจะเสียงทายดูแล้วจะบอกว่าวันนี้เดือนนี้ บ้านนี้ต้องเข้ากรรมทั้งตระกูล เช่น ถ้าคนไหนเป็นแซ่ย่าง ถึงวันนั้นทุกคนก็ต้องเข้ากรรมเหมือนกันหมด แต่จะเคร่งไม่เท่ากับการเข้าเป็นครอบครัว นานๆ ครั้งถึงจะมีสักครั้ง ต่างจากการเข้าเป็นครอบครัว เพราะจะเข้าปีละกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะมีเคราะห์กรรมมากหรือน้อย ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเข้าปีละครั้งสองครั้งต่อครอบครัว บางบ้านที่ไม่มีเคราะห์ก็จะไม่เข้ากรรมเลยก็ได้ วิธีการสังเกตว่าม้งมีการเข้ากรรมหรือไม่นั้นสามารถสังเกตได้จากในช่วงเวลานั้นจะมีไม้สานเป็นตาแหลวลักษณะเป็นหกตาเสียบไว้ หรือใบไม้ใบหญ้า ปักไว้ที่หน้าบ้าน และถ้าบ้านไหนเข้ากรรม คนในบ้านนั้นจะไม่ทักทายแขกหรือชักชวนแขกให้เข้าบ้าน บางครั้งเจ้าบ้านจะรีบปิดประตูเพื่อป้องกันไม่ให้แขกเข้าบ้าน    แต่เมื่อตะวันตกดินแล้วบ้านนั้นก็จะสามารถรับแขกได้เหมือนเดิม (เว็บสวัสดีจำกัด มหาชน, บริษัท. 2562) 

อุปกรณ์ในการตำข้าว ชาวม้ง
         อุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวนั้นประกอบไปด้วย 2 ชิ้น
         1. ครกสำหรับตำข้าว
         2. สาก/ไม้สำหรับตำข้าวเหนียว

วัตถุดิบในการตำข้าว
         วัตถุในประเพณีตำข้าวม้ง หรือ โจวป่า วัตถุดิบที่ขาดไม่ได้เลยคือ ข้าวเหนียว เนื่องจากข้าวเหนียวคือวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการประกอบพิธีตำข้าวม้งหรือโจวป่านั้นเอง นอกจากข้าวเหนียวนั้นยังต้องมีไข่แดงต้มและใบตองเพื่อใช้เป็นพาชนะในการห่อ ข้าวตำด้วย
         1. ข้าวเหนียว
         2. ไข่แดงต้ม
         3. ใบตอง

วิธีการตำข้าวเหนียว
         จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้านตลาดม้ง พบว่า กระบวนการวิธีการตำข้าวเหนียวเพื่อใช้ในงานประเพณีนั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อน แต่กลับยังคงรักษา เอกลักษณ์การดำรงชีวิตที่เรียบง่ายของชาวม้งไว้ได้เป็นอย่างดี (คู จันทร, 2562)
         1. นึ่งข้าวเหนียวตามปกติที่เราต้องการ
         2. นำข้าวเหนียวที่นึ่ง (ในขณะที่ยังร้อน เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่ม) ลงในครกที่ใช้ในงานประเพณีตำข้าวเหนียว
         3. ตำข้าวเหนียวในครกด้วยสากหรือไม้สำหรับตำข้าวเหนียวให้ละเอียด (โดยสาก/ไม้และครกนั้นจะต้องเป็นสาก/ไม้และครกที่ใช้สำหรับประเพณีตำข้าวเหนียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ปนกับครกหรือสากที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้)
         4. เมื่อข้าวเหนียวละเอียดแล้ว ชาวม้งจะปั้นข้าวเหนียวให้เป็นก้อนและห่อด้วยใบตองแล้วนำก้อนข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบตองไปไหว้บรรพบุรุษ
         5. เมื่อไหว้บรรพบุรุษเรียบร้อยแล้วจึงนำมาปิ้งเพื่อเก็บไว้บริโภคนานๆ

บทสรุป 
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่จัดขึ้นช่วงปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวม้งจะมีข้าวซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรรุ่นแรกใช้เป็นเครื่องเช่นแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ และเป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในชุมชน เนื่องจากประเพณีตำข้าวเหนียวนี้จะตำเพียงปีละครั้งเท่านั้น และเมื่อข้าวเหนียวที่ตำและเซ่นไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมาห่อใบตองและปิ้งเพื่อเป็นการยืดอายุของอาหารได้อีกด้วย การตำข้าวตามความเชื่อของชนเผ่าม้งหรือที่เรียกว่า ขนมโจวป่า โจวป่า คือ สัญลักษณ์แห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในโลกทำเพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่คอยปกปักรักษาครอบครัวของตน ซึ่งเมื่อถึงวันฉลองปีใหม่ทุกบ้านจะเตรียมข้าวทำขนมโจวป่าหรือประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เมื่อถึงเวลาตำข้าวเหนียวชาวม้งจะมารวมตัวกันเพื่อช่วยกันตำข้าวเหนียว โดยในการตำข้าวเหนียวนั้นจะชาวม้งจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวเหนียวโดยเฉพาะซึ่งชาวม้งจะถือว่า อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับประเพณีอื่นๆได้ ดังนั้น ใน 1 ปี ชาวม้งจะใช้ครกและสาก/ไม้สำหรับตำข้าวเหนียวเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

คำสำคัญ : ประเพณีตำข้าวเหนียว, ชาวม้ง

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ประเพณีตำข้าวเหนียว_ชาวม้ง_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2115&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2115&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,020

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,423

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,547

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 11,110

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,496

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 916

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,340

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,242

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 4,916

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,886