ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,930

[16.8784698, 98.8779104, ประวัติอำเภอเมืองตาก]

คำขวัญจังหวัด

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ                                                                                             

เมืองพระเจ้าตาก ต้านกระบากใหญ่ รวมชาวเขาเผ่าไทย ประทับใจริมปิง

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ                                                                                     

ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

หมายเลขโทรศัพท์                                                                                       0-5551-1007

หมายเลขโทรสาร                                                                                         0-5551-1007

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา                                                                                         

เมืองตากเป็นเมืองลูกหลวงประจำทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เมื่อกูขึ้นเป็นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบด้วยขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อเข้าไพร่ฟ้า หน้าใส" การศึกษาในครั้งนั้น ขุนสามชนพ่ายหนี เมืองตากจึงปลอดภัย

         ในอดีตเมืองตาก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองระแหง" ตั้งเมืองเดิม

อยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะตะเภา อ.บ้านตาก ทางทิศเหนือของตัวเมืองปัจจุบันขึ้นไปประมาณ 24 กิโลเมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานไว้ว่า สาเหตุที่มีการย้ายเพราะที่ตั้งเดิมไม่เหมาะสม เพราะในยามศึกไม่เหมาะสมในการตั้งรับหรือถอยทัพ เนื่องจากมีแนวแม่น้ำปิงขวางกั้นอยู่ โดยเฉพาะข้าศึกพม่าซึ่งมาทางทิศตะวันตก จะถึงตัวเมืองก่อน

          สำหรับที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ก็มีการย้ายสถานที่มาหลายครั้งแล้วเช่นกัน ครั้งแรกอยู่รวมกับศาลากลางจังหวัดต่อมา พ.ศ.2499 อาคารสถานที่คับแคบไม่เพียงพอกับความเจริญ จึงย้ายไปสร้างที่ริมถนนพหลโยธิน ซึ่งขณะนี้เป็นที่ตั้งด้านป่าไม้ตาก  เมื่อ พ.ศ.2508 เกิดเพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอเมืองตากเสียหายหนัก จึงย้ายไปเช่าบ้านของหลวงสรรค์บุรานุรักษ์ จนกระทั่ง     พ.ศ.2510 ได้สร้างและเปิดใช้ที่ว่าการอำเภอแห่งนี้นับตั้งแต่ได้ตั้งอำเภอเมื่อ

พ.ศ.2429 จนถึงขณะนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองตากมาแล้ว จำนวน 39 นาย ถึงปัจจุบัน

2.เนื้อที่/พื้นที่                                                                                               1,599.356 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป                                                                       

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง                                                                                      

1.ตำบล.......10.... แห่ง                                                                                 3.เทศบาล..2.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....104.... แห่ง                                                                               4.อบต........9 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                                                                                                   

1.อาชีพหลัก ได้แก่

เกษตรกรรม อ.เมืองตากมีพื้นที่การเกษตรกรรมทั้งสิ้น 890,409.25 ไร่ มีครัวเรือน ทั้งหมด 22,536 ครัวเรือน (รวมครัวเรือนในเทศบาล) เป็นครัวเรือนเกษตรกร 9,218 ครัวเรือน คิดเป็น 40% ของครัวเรือนทั้งหมด แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8,948 ครอบครัว                                   -

3.จำนวนธนาคาร

 มี 10 แห่ง ได้แก่

ธ.กรุงเทพ โทร.055-512390

ธ.กรุงศรีอยุธยา โทร.055-533781

ธ.ทหารไทย โทร.055-512097

ธ.ไทยพาณิชย์ โทร.055-541430

ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โทร.055-511286

ธ.กรุงไทย โทร.055-511116

ธ.กสิกรไทย โทร.055-511111

ธ.นครหลวง โทร.055-511275

ธ.ออมสิน โทร.055-511147

ธ.อาคารสงเคราะห์ โทร.055-515951

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า                                                                           

มี 3 แห่ง

ด้านสังคม                                                                                                   

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนตากพิทยาคมตาก โทร.055-511134

โรงเรียนผดุงปัญญาตาก โทร.055-511135

โรงเรียนถนอมราษฎร์บำรุง โทร.055-511762

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง โทร.055-515141

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก โทร.055-515900

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ                                               

  1. ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้าน คือ ดินเหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ การทำนาและการปลูกผลไม้ และดินที่ไม่เหมาะสมแก่การเกษตร คือ เนื้อดินเป็นทรายมีชั้นหินศิลาแลง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขา และเทือกเขาสูง
  2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านตลอดแนวอำเภอ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอเมืองตาก
  3. ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้กระยาเลย และไม้เบญจพรรณ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80%
  4. ทรัพยากรแร่ธาตุ อำเภอเมืองตากมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่เฟลด์สปาร์พบในตำบลวังประจบ แร่ผลูออไรด์ พบในตำบลวังหิน หินอ่อน พบในตำบลบัวเหนือ หินปูน พบในตำบลป่ามะม่วง และตำบลแม่ท้อ

ด้านประชากร                                                                                             

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น                                                                            รวม 99,977  คน

2.จำนวนประชากรชาย                                                                                รวม 49,770  คน

3.จำนวนประชากรหญิง                                                                              รวม 50,207 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร                                                                   62 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม                                                                                        

1.ทางบก                                                                                                     - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)

- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2786

2.ทางน้ำ- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์       

3.ทางอากาศ- ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2603 , 0-5551-4057

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม                                                                

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่                                                      

ข้าว ลำไย ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)   แม่น้ำปิง

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่                                                       

โรงงานผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอเมืองจังหวัดตาก

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองตาก. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 768

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 492

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,930

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,037

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,828

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 728

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 407

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,057

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,011

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 673