มะตาด

มะตาด

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 8,655

[16.4258401, 99.2157273, มะตาด]

มะตาด ชื่อสามัญ Chulta, Chalta, Ouu, Elephant apple

มะตาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia indica L. จัดอยู่ในวงศ์ส้าน (DILLENIACEAE)

สมุนไพรมะตาด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ส้มปรุ ส้านกวาง ส้านท่า ส้านป้าว ส้านปรุ ส้านใหญ่ (เชียงใหม่), แส้น (นครศรีธรรมราช, ตรัง), สั้น บักสั้นใหญ่ (อีสาน), แอปเปิ้ลมอญ, ส้านมะตาด, ไม้ส้านหลวง (ไทใหญ่), ตึครือเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลำส้าน(ลั้วะ), เปียวกับ (เมี่ยน) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คาบสมุทรมลายู ไทย ลาว พม่า และอินโดจีน

ลักษณะของมะตาด

  • ต้นมะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี ในประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในป่าพรุ ป่าดิบชื้น และริมแม่น้ำลำธาร
  • ใบมะตาด ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับถี่ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกหรือเป็นรูปไข่กลับ ใบมีความกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ส่วนโคนใบเรียวสอบแคบและมน แผ่นใบหนา ใบเป็นคลื่นลอนตามเส้นแขนง ใบที่แยกขนานออกจากเส้นใบไปขอบใบ ขอบใบเป็นหยักและฟันเลื่อย มีหนามเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายสุดของเส้นแขนงตรงขอบใบ ส่วนท้องใบจะเห็นเส้นแขนงและมีขนขึ้นประปราย เส้นแขนงใบตรงประมาณ 30-40 คู่ และก้านใบมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นร่อง โคนก้านใบแบนและเป็นกาบห่อหุ้มกิ่ง
  • ดอกมะตาด ดอกมีสีขาวนวลและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดี่ยวๆ บริเวณง่ามใบและกิ่งบริเวณใกล้ปลาย ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีขนสากมือ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นแผ่นโค้งคล้ายช้อน มีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับบาง มีความกว้างประมาณ 15-18 เซนติเมตร กลีบดอกจะร่วงได้ง่ายเมื่อดอกบาน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่จำนวนมากล้อมรอบเกสรตัวเมีย โดยเกสรตัวเมียจะมีสีขาว ยอดเกสรตัวเมียจะแยกออกเป็นแฉก ๆ รังไข่มี 20 ช่อง เมื่อดอกตูมในระยะแรกจะมีลักษณะคล้ายกับผลมะตาด และเมื่อดอกมีขนาดเท่าผลมะนาวก็จะบานออก และเมื่อดอกบานและได้รับการผสมแล้ว กลีบเลี้ยงจะเริ่มห่อหุ้มเข้ามาใหม่จนมีลักษณะเป็นผลกลมๆ เมื่อเกาะอัดแน่นและเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นผลมะตาด
  • ผลมะตาด หรือ ลูกมะตาด ผลเป็นผลเดี่ยวสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลมใหญ่อวบ ซึ่งเป็นกาบที่เกิดขึ้นมาจากกลีบเลี้ยงที่อัดกันแน่นและแข็ง มีความกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ผลมีกลิ่นเฉพาะตัว มีเมือกเหนียวและมีรสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล มีความกว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร เมล็ดมีเมือกห่อหุ้ม และเมื่อแก่จัดเมล็ดจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนเกือบดำ โดยในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก

มะตาด แยกเป็นชนิดย่อยได้อีก คือ มะตาดข้าวเหนียวและมะตาดข้าวเจ้า ซึ่งแบ่งตามรสสัมผัสของเนื้อผล โดยผลมะตาดที่นิยมใช้คือมะตาดข้าวเหนียว เพราะมีเนื้อที่เหนียวนุ่มกว่ามะตาดข้าวเจ้า

สรรพคุณของมะตาด

  1. ผลมะตาดมีสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ผล)
  2. ผลมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล)
  3. เมล็ดมะตาดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  1. ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นยาเย็น (ผลสุก)
  2. ช่วยต้านอาการลมชัก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  3. ช่วยถอนพิษไข้ ระบายพิษไข้ (ใบ, เปลือกต้น)
  4. ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ (ผล, ใบ, เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้อาการไอ (ผลสุก)
  6. ช่วยขับเสมหะ (ผลสุก)
  7. เปลือกต้นนำมาเคี้ยวช่วยทำให้เหงือกและฟันกระชับแน่น (เปลือกต้น)
  8. ใบและเปลือกต้นมีรสฝาด ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ, เปลือกต้น)
  9. ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (ผล)
  10. ผลมีเมือกเหนียวคล้ายวุ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและในลำไส้ (เมือกผล)
  11. ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ทำให้ท้องไม่ผูก (ผล)
  12. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล, ใบ, เปลือกต้น)
  13. เปลือกและใบมีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล (ใบ, เปลือกต้น)
  14. รากมะตาดใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะตาด

  • สารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบมะตาดด้วยตัวทำละลาย คือ Ethanol 95 % และ Acetone จากการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อสารสกัดหยาบของมะตาดพบว่า สารสกัดหยาบจากผลเทียมที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ส่วนสารสกัดจากใบที่สกัดด้วย Acetone นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ส่วนสารสกัดหยาบจากใบที่สกัดด้วย Ethanol 95 % ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด และจากการทดสอบผลของอุณหภูมิและระยะเวลาต่อความเสถียรของสารสกัดหยาบจากมะตาดต่อการเจริญของเชื้อ Bacillus cereus โดยพบว่าสารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบที่เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุด รองลงมาคือ 4 องศาเซลเซียส, 60 องศาเซลเซียส และ 100 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนผลของระยะเวลาพบว่าในระยะเวลาตั้งแต่ 0, 2, 4 และ 6 สัปดาห์ที่สารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบยังคงเสถียรต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
  • สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ กดระบบประสาทส่วนกลาง และช่วยต้านการอักเสบ

ประโยชน์ของมะตาด

  1. ผลมะตาดใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ นำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อรับประทานมาตั้งแต่โบราณ เช่น การทำเป็นแกงส้มมะตาด แกงคั่วมะตาด หรือนำไปทำอาหารอื่น ๆ[1]หรือใช้ผลสดจิ้มกินกับน้ำพริก[3] กลีบชั้นในที่มีลักษณะอวบอุ้มน้ำ ใช้จิ้มกับเกลือกินได้ ให้รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอม
  2. เมล็ดมะตาดที่แก่แล้วสามารถนำมารับประทานสดได้ (มีรสชาติมัน)
  3. คนไทยโบราณนิยมปลูกต้นมะตาดไว้ในสวนบริเวณบ้าน หรือปลูกในพื้นที่กลางแจ้งและมีเนื้อที่มากพอสมควร เพื่อใช้เป็นร่มเงาให้ความร่มรื่น เพราะใบมะตาดมีใบขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่หนาแน่น จึงสามารถช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับบรรยากาศ จึงช่วยลดโลกร้อนไปได้ด้วย และที่สำคัญยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกที่มีความโดดเด่นสวยงาม และมีเส้นใบเป็นริ้วที่ดูสวยงามแปลกตา
  4. เนื้อไม้ของต้นมะตาดสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรหรือทำเครื่องเรือน ใช้ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้าน เช่น ทำเสาบ้าน หรือทำเป็นพานท้ายปืน และใช้ทำเป็นฟืน
  5. เปลือกและผลของมะตาดสามารถนำมาใช้ในการย้อมหนังสัตว์และทำหมึกได้
  6. จากภูมิปัญญาของชาวรามัญได้นำเปลือกด้านในของผลมะตาดมาใช้ทาท้องเรือ เพื่อทำให้เรือแล่นได้เร็วขึ้น เพราะเมือกมะตาดนั้นจะช่วยลดความเสียดทานของท้องเรือกับผิวน้ำได้
  7. น้ำยางจากผลดิบนำมาใช้สระผมได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นและดัดแปลงแปรรูปผลมะตาดทำเป็นผลิตภัณฑ์สระผม
  8. เมือกที่ห่อหุ้มเมล็ดอยู่สามารถนำมาใช้บำรุงเส้นผมและช่วยปกป้องเส้นผมจากแสงแดดและมลพิษได้ ด้วยการนำเมล็ดมะตาดที่มีเมือกผสมกับน้ำ 4-5 เท่า แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิท เขย่าแรง ๆ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอน แล้วใช้น้ำที่ได้นี้นำมาหมักเส้นผมประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จากนั้นก็สระผมตามปกติ

คำสำคัญ : มะตาด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะตาด. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1721&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1721&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 9,547

มะขาม

มะขาม

มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,439

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 5,721

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,597

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,558

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว

ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,846

นุ่น

นุ่น

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบอันดามัน และมีปลูกมากในเขตร้อนทั่วไปเพื่อใช้ปุยจากผลนำมาทำหมอนและที่นอน ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,076

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,678

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,010

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,837