โหราบอน

โหราบอน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,279

[16.4258401, 99.2157273, โหราบอน]

โหราบอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Typhonium giganteum Engl.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรโหราบอน มีชื่อเรียกอื่นว่า ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโหราบอน

  • ต้นโหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
  • ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
  • ดอกโหราบอน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวแทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีลักษณะกลมยาวคล้ายรูปทรงกระบอก มีเนื้อนิ่ม ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่ ภายในดอกจะพบผล
  • ผลโหราบอน ผลจะอยู่ภายในดอก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง 

สรรพคุณของโหราบอน

  1. หัวใต้ดินมีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้น (หัว)
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง (หัว)
  3. ใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรค (แผลที่ยังไม่แตก) โดยใช้หัวสด นำมาปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำให้แตก ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 ครั้ง (หัว)
  4. ใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอ (หัว)
  5. หัวใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก (หัว)
  6. หัวใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อ (หัว)
  7. หัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (หัว)
  8. ใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยว ให้ใช้หัวโหราบอนแห้งที่กำจัดพิษออกแล้ว 60 กรัม, แมงป่องตากแห้ง 30 กรัม และหนอนใบหม่อน 30 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ด เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)

ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
  • ไม่ควรนำหัวโหราบอนสด ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา

กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน

  • ให้นำหัวโหราบอนมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ โดยให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อแช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวโหราบอนมาแช่กับน้ำสารส้ม (ในอัตราส่วนหัวโหราบอน 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม) เป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง (ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12) หรือในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วนำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา

ขนาดและวิธีใช้โหราบอน

  • ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือหากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน

  • หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin เป็นต้น

คำสำคัญ : โหราบอน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). โหราบอน. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1775&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1775&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กะสัง

กะสัง

ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 7,581

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,175

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,247

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,947

บัวสาย

บัวสาย

บัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 15,513

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,856

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,171

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,433

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,196

ยางนา

ยางนา

ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,498