หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 1,780

[16.4258401, 99.2157273, หนูท้องขาว]

หนูท้องขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium styracifolium (Osbeck) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium capitatum (Burm.f.) DC., Desmodium retroflexum (L.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรหนูท้องขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง), อีเหนียว ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี), หนูท้องขาว (ตราด), รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา), กิมกี่เช่า (จีนแต้จิ๋ว), กว่างตงจินเฉียนเฉ่า จินเฉียนเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของหนูท้องขาว

  • ต้นหนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น 
  • ใบหนูท้องขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ และมีใบเดี่ยวขึ้นปะปน ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง เช่น แบบกลม กลมแต่ปลายใบมีรอยเว้าตื้น วงรีกว้าง รูปไข่กลับมียอดกว้างกว่าโคน แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจหรือเรียบ ขอบใบเรียบ ใบยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบล่างทั้งสอง ใบยอดมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-3.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.4-4.5 เซนติเมตร ส่วนใบด้านข้างมีขนยาวประมาณ 0.6-3.5 เซนติเมตร หน้าใบเรียบไม่มีขน ส่วนหลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมเป็นจำนวนมาก แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม มีเส้นใบเรียงแบบขนนกประมาณ 10 คู่ นูนขึ้นอยู่หน้าใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร หูใบเป็นสีน้ำตาลเข้ม 
  • ดอกหนูท้องขาว ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง การออกดอกจะเป็นแบบ Indeterminate (ดอกบานและเจริญเป็นฝักที่โคนช่อดอกจนถึงปลายช่อดอก) ดอกช่อกระจะเหมือนรูปกรวย ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-7.5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมากและอัดกันแน่น ประมาณ 16-42 ดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกกลางเป็นสีบานเย็น ปลายกลีบเป็นสีม่วงอ่อน ส่วนกลีบดอกคู่ด้านข้างจะเป็นสีบานเย็นสด อับเรณูเป็นสีเหลืองมี 4 อัน ก้านเกสรเพศผู้เป็นสีม่วงแดงเข้ม ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง ออกดอกติดเมล็ดมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 
  • ผลหนูท้องขาว ออกผลเป็นฝัก เป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งมีประมาณ 3-6 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-3.0 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร ส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถหักออกเป็นข้อได้ เมื่อสุกแล้วจะแตกออกตามตะเข็บล่าง ภายในมีเมล็ดลักษณะคล้ายไตคน แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด 

สรรพคุณของหนูท้องขาว

  1. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากหรือลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย และลดความดันโลหิต (ราก, ลำต้น)
  2. รากหรือลำต้นมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนใน (ราก, ลำต้น)
  3. รากหรือลำต้นใช้เป็นยารักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ตำรับยารักษาระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจะใช้หนูท้องขาว 25 กรัม, ต้นผักกาดน้ำ 15 กรัม, ห่ายจินซา, ดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (รากหรือลำต้น)
  4. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในถุงน้ำดี ตำรับยาขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะใช้หนูท้องขาว 15 กรัม, สือหวุ่ย 15 กรัม, ชวนพั่วสือ 15 กรัม, ตงขุยจื่อ 15 กรัม, เปียนซวี 12 กรัม, ห่ายจินซา 12 กรัม, จวี้ม่าย 10 กรัม, เจ๋อเซ่อ 10 กรัม, ฝูลิ่ง 10 กรัม และมู่ทง 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก, ลำต้น)
  5. ใช้รักษาตับอักเสบเฉียบพลันแบบดีซ่าน (ราก, ลำต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้ไตอักเสบ (ราก, ลำต้น)
  7. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ราก, ลำต้น)
  8. รากหรือลำต้นมีสรรพคุณช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ราก, ลำต้น)

ขนาดที่ใช้ : การใช้ตาม [1] ต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนต้นสดให้ใช้ครั้งละ 20-60 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนูท้องขาว

  • สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวก Alkaloid, Flavonoid, Glucoside และ Phenols และยังพบสารแทนนินอีกด้วย
  • เมื่อนำสารสกัดจากหนูท้องขาวมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของสุนัขทดลองในอัตราส่วน 1.6 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม หรือยาสด 8 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่ามีผลทำให้เลือดในหลอดเลือดของหัวใจมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจลดน้อยลง อีกทั้งยังพบว่าส่งผลให้หัวใจมีกำลังในการบีบตัวมากขึ้นอีกด้วย
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์กระตุ้นน้ำดีของสุนัขทดลองให้มีการไหลออกจากถุงน้ำดีมากขึ้น
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กของหนูตะเภา และลดความดันโลหิตในหนูขาว
  • สารที่สกัดจากต้นแห้งหนูท้องขาวทั้งด้วยน้ำไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของสัตว์

ประโยชน์ของต้นหนูท้องขาว

  • ใช้เป็นอาหารของสัตว์จำพวกโค กระบือ โดยตัดหรือปล่อยให้สัตว์แทะเล็ม โดยคุณค่าทางอาหารของต้นหนูท้องขาวที่มีอายุ 45 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 11.9-14.4%, แคลเซียม 1.04-1.14%, ฟอสฟอรัส 0.16-0.2%, โพแทสเซียม 1.09-1.20%, ADF 38.4-40.2%, NDF 43.1-47.9%, DMD 36.0-45.9% (โดยวิธี Nylon bag) ส่วนต้นที่มีอายุประมาณ 45-90 วัน จะมีโปรตีน 11.8-12.4%, ไนเตรท 2.96 ppm, ออกซิลิกแอซิด 29.6-363.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 1.15-2.03%, มิโมซีน 0.77-0.85% และไม่พบไนไตรท์
  • เกษตรกรทางภาคอีสานจะตัดมาเลี้ยงโคนมทำให้มีน้ำนม

คำสำคัญ : หนูท้องขาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนูท้องขาว. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคาเป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างเลื้อยพันอื่นๆ ใบดาวอินคาเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10-12 เซนติเมตร กว้าง 8-10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-6 เซนติเมตร ดอกดาวอินคาดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,666

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,857

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,648

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,696

มะกอกน้ํา

มะกอกน้ํา

ต้นมะกอกน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บริเวณริมน้ำและลำห้วย ปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง มีรูอากาศเป็นแนวยาว เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 15,998

กระทือ

กระทือ

ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,231

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,958

สมุนไพรแช่เท้า

สมุนไพรแช่เท้า

ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้า เมื่อคนเราใช้มือและเท้าในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้า ก็จะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบายพิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกายจึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 12,939

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว

ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,783

เผือก

เผือก

เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,452