เทพธาโร

เทพธาโร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้ชม 1,960

[16.3937891, 98.9529695, เทพธาโร]

         เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของเทพธาโร
        สำหรับต้นเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้ต้น เนื้อไม้มีกลิ่นหอมฉุน โดยมีลำต้นสูงประมาณ 10 – 30 เมตร บริเวณยอดจะเป็นพุ่มทึบ มีเปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทาแกมเขียว ส่วนใบของเทพธาโรนั้นจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงตรงกันข้ามกัน รูปทรงรี บริเวณโคนใบสอบ และปลายใบแหลม มีสีเหลืองหรือขาว ส่วนดอกนั้นจะออกแบบเป็นช่อๆ กระจุกอยู่บริเวณปลายกิ่ง และผลนั้นมีสีเขียวเป็นทรงกลมเล็กๆ ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการปักชำและเพาะเมล็ด

ประโยชน์และสรรพคุณของเทพธาโร
       เนื้อไม้ – ช่วยในการแก้ลมจุกเสียด ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้อาการแน่นเฟ้อ รวมทั้งแก้อาการปวดท้อง ช่วยในการขับผายลม ทำให้เรอ และใช้บำรุงธาตุ ตลอดจนสามารถนำมาฝนกับเปลือกหอยขมน้ำซาวข้าวดำก้นยา แก้อาการไข้สะอึก ให้รสเผ็ดร้อนหอม
       ยาง – ช่วยในการขับถ่ายพยาธิ และถ่ายน้ำเหลืองเสีย และถ่ายอย่างแรง ให้รสร้อน
       สำหรับต้นเทพธาโรนี้จัดเป็นไม้หอมอันทรงคุณค่าเป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะนอกจากคุณประโยชน์จากต้นแล้ว ยังมีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย โดยมีการนำมาใช้ในงานแกะสลักทำตู้ หรือเตียงนอน และหีบใส่ผ้ากันแมลงต่างๆ ได้ดีอีกด้วย

คำสำคัญ : เทพธาโร

ที่มา : www.samunpri.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เทพธาโร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1515&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1515&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สังกรณี

สังกรณี

สังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,459

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,840

ผักชีล้อม

ผักชีล้อม

ต้นผักชีล้อม จัดเป็นพืชล้มลุกที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นผิวดิน ลำต้นกลวงอวบน้ำ ผิวภายนอกเป็นร่อง ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ขายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเม็ด การแยกไหลและการปักชำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 1-3 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแคบหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วแตกเป็นสองส่วน ลักษณะของผลค่อนข้างกลมเป็นสัน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 18,108

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,530

ผกากรอง

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 10,353

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,608

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,367

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,570

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน

ต้นตะขาบหิน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,660

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,828